ReadyPlanet.com


นายจ้างบอกเลิกจ้างก่อนหมดสัญญา


ผมทำงานระดับผู้บริหาร ของวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ได้เคยทำสัญญาดังนี้

ฉบับที่ 1 ระยะเวลา 6 เดือน  1 มิ.ย. 49 - 1 พ.ย. 49

ฉบับที่ 2 ระยะเวลา 6 เดือน 1 ธ.ค. 49 -31 พ.ค.50

ฉบับที่ 3 ระยะเวลา 3 ปี  1 มิ.ย.50 -31พ.ค. 53

ตอนนี้วิทยาลัยใช้วิธีบีบบังคับให้ผมลาออก โดยตั้งข้อหา 3 ข้อหา คือ

1.ไม่ลงเวลาตอกบัตร ทำให้เป็นตัวอย่างที่ไม่ดีกับพนักงานอื่น (ข้อเท็จจริง มีการตกลงด้วยวาจาตั้งแต่วันแรกที่จ้างว่า ไม่ต้องลงเวลา จนถึงปัจจุบัน ผมก็ยังไม่ได้ลงเวลา  แต่ผู้บริหารระดับเดียวกันกับผมในตำแหน่ง ต้องตอกบัตรลงเวลา)

2. ผมถูกตำหนิเรื่องการเบิกเบี้ยเลี้ยงประจำตำแหน่ง เมื่อต้องเดินทางไปต่างจังหวัด (ข้อเท็จจริง มีระเบียบของวิทยาลัยให้ ผมสามารถเบิกได้และไม่เกินสิทธิ์ ) แต่ วิทยาลัย แจ้งว่า เป็นระเบียบที่เขียนเอาไว้ แต่วิธีปฏิบัติไม่เคยมีการปฏิบัติ ให้เบิกเบี้ยเลี้ยง (ข้อเท็จจริง ก่อนหน้านี้ ผมเคยเบิกเบี้ยเลี้ยงได้ตามปกติ)

3. ไม่สามารถทำให้ทุกคนในวิทยาลัย รู้เรื่องสหกิจศึกษาได้ (ข้อเท็จจริง  แม้แต่ในสถาบันอุดมศึกษาที่ทำเรื่องสหกิจศึกษามาตั้งแต่ต้น ก็ยังมีผู้ไม่เข้าใจเรื่องสหกิจศึกษาทั้งหมด)

ผมขอปรึกษาว่า

1.วิทยาลัยสามารถเลิกจ้างผมได้ทันทีหรือไม่ (ทั้งสามข้อกล่าวหา ไม่มีหนังสือแจ้ง และไม่อยู่ในเหตุยกเลิกสัญญา)

2. ถ้าวิทยาลัยจะเลิกจ้าง ผมจะได้รับการคุ้มครองและชดเชยตามกฎหมายอย่างไรบ้าง

3.เมื่อมาทำงานที่วิทยาลัยแห่งนี้ ผมจำเป็นจะต้องซื้อรถ 1 คัน เครื่องคอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ก 1 เครื่อง เพื่อเดินทางมาทำงาน (ระยะทางจากบ้านพักมาถึงสถานที่ทำงานไปกลับวันละ 200 ก.ม.) ผมสามารถเรียกร้องการชดเชยส่วนนี้ได้ด้วยหรือไม่

4.ปัจจุบันผมเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในสังคม เป็นคณะกรรมการของจังหวัดหลายคณะ ได้รับประกาศเกียรติคุณจากผู้ว่าราชการจังหวัด  เป็นวิทยากร  ที่ปรึกษา และการเลิกจ้างครั้งนี้ มีผลทำให้ผมเสื่อมเสียชื่อเสียง ในวงสังคม  วิชาชีพ ผมสามารถจะขอเรียกร้องค่าชดเชย ส่วนนี้ได้หรือไม่

5.ถ้ามีหนังสือเลิกจ้าง มา ผมต้องทำอย่างไร  ต้องเซ็นรับ หรือ ไม่ต้องเซ็นรับ

ขอขอบคุณผู้ตอบทุกท่านล่วงหน้าครับ

 

 

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ chaiya (chaiya3101-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2008-09-18 15:35:36


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2909937)

  เมื่อมีเหตุตามที่ระบุไว้ในสัญญาและตามกฎหมายก็ยังถือว่าการกระทำดังกล่าวตามข้อนี้เป็นความผิดขั้นร้ายแรง จึงยังถือว่านายจ้างไม่สามารถเลิกจ้างคุณด้วยเหตุดังกล่าวได้ทันทีแต่ถ้าเลอกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวคุณก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฏหมายและถือว่าการเลิกจ้างดังกล่าวไม่เป็นธรรมสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเนื่องจากการนี้

  ส่วนรถและคอมพิวเตอร์เป็นการที่คุณซื้อมาเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับตนเองนายจ้างหาบังคับให้ท่านซื้อมาแต่อย่างใด ค่าเสียหายในส่วนนี้ท่านไม่สามารถเรียกร้องจากนายจ้างได้เมื่อถูกเลิกจ้าง

   ส่วนค่าเสียหายเรื่องชื่อเสียงอาจนำมาพิจารณาประกอบเป็นค่าเสียหายในกรณีนายจ้างเลิกจ้างท่านโดยไม่เป็นธรรมได้

    หากมีหนังสือเลิกจ้างมายังท่านการที่ท่านจะเซ็นหรือไม่ใช่สาระสำคัญสาระสำคัญอยู่ที่ว่านายจ้างยังประสงค์ที่จะให้ท่านทำงานต่อไปหรือไม่หากนายจ้างประสงค์หรือมีพฤติการณ์ที่ไม่ให้ได้ทำงานต่อไปย่อมถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยปริยายและเมื่อถือว่าเป็นการเลิกจ้างแล้วหากท่านเห็นว่าท่านมิได้กระทำความผิดจนเป็นเหตุถึงขั้นต้องถูกเลิกจ้างหรือเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ท่านสามารถฟ้องร้องนายจ้างเพื่อให้รับท่านกลับเข้าทำงานต่อหรือฟ้องเรียกค่าชดเชยและค่าเสียจากการที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมได้

ผู้แสดงความคิดเห็น ฐปกรณ์ วันที่ตอบ 2008-09-19 08:07:43


ความคิดเห็นที่ 2 (2911724)

ขอบคุณ คุณ ฐปกรณ์  มากครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น chaiya วันที่ตอบ 2008-09-23 08:16:33



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.