ReadyPlanet.com


ถามต่อ เรื่องเงินชดเชย เกษียณอายุ เงินเดือน + คอมมิชชั่น


 

ขอเรียนถามต่อค่ะ  ถ้าคิดคอมมิชชั่น (เฉลี่ย)  คิดเฉลี่ยจากกี่เดือน นับจากเดือนไหนถึงเดือนไหนคะ

 

และ ถ้าพนักงานไม่ได้ตอกบัตร ไม่มีการบันทึกเวลาทำงาน  จะเข้าข่ายตามฎีกา ต่อไปนี้มั้ยคะ

เลขที่ฎีกา 289/2531 เมื่อข้อเท็จจริงที่โจทก์อุทธรณ์นั้น ศาลแรงงานกลางมิได้รับฟัง

เป็นดังที่โจทก์อุทธรณ์  จึงเป็นการยกข้อเท็จจริงนอกเหนือจากที่ศาลแรงงาน

กลางรับฟังมา  ศาลฎีกาไม่อาจนำข้อเท็จจริงเช่นว่านั้นมาวินิจฉัยข้อกฎหมาย

ได้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว

    โจทก์ไม่มีเวลาทำงานปกติ จะทำวันใดหรือไม่ทำวันใดก็ได้ การที่โจทก์

ขายสินค้าแต่ละชิ้นแล้วได้เปอร์เซ็นต์นั้นมิใช่เป็นการคำนวณค่าจ้างตามผลงาน

เงินเปอร์เซ็นต์จากการขายที่โจทก์ได้รับ  จึงไม่ใช่เงินที่นายจ้างให้เป็นการ

ตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงานและไม่ถือว่าเป็นเงินค่าจ้าง

และจากความหมายของค่าจ้าง  ค่าคอมมิชชั่น จะถือว่าเป็น "ค่าจ้าง" เมื่อ "เป็นค่าตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงาน "  ใช่หรือไม่

 

ความหมายของค่าจ้าง 

ค่าจ้างตามความหมายของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  คือ เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน  จ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้าง    สำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง  รายวัน  รายสัปดาห์  รายเดือน  หรือระยะเวลาอื่น  หรือจ่ายโดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน      และให้หมายความรวมถึงเงินที่ นายจ้างให้แก่ลูกจ้างใน    วันหยุดและวันลา   ที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรง งาน  พ.ศ. 2541        จะขอยกตัวอย่างเรื่องจริงที่มีการตัดสินโดยศาลสูงสุดคือศาล ฎีกา  ซึ่งได้ถือเป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติว่าเงินที่นายจ้างจ่ายลักษณะใดบ้างที่ เรียกว่าค่าจ้าง หรือไม่ใช่ค่าจ้าง ดังนี้

1. คำพิพากษาฎีกาตัดสินว่าเป็นค่าจ้าง  คือ  คำ พิพากษาฎีกาที่  675/2517  เบี้ยเลี้ยงที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในการที่ลูกจ้างออกไปปฏิบัติงานนอก สถานที่ทำงานของนายจ้าง    อันเป็นการสงเคราะห์แก่ลูกจ้างที่ต้องมีภาระเพิ่มขึ้นในการทำงานนอกสถานที่ นั้น ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของสินจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเช่นเดียวกับ เงินเดือน  จึงเป็นค่าจ้างซึ่งต้องนำไปรวมเพื่อคำนวณเงินทดแทนด้วย  

2. คำพิพากษาฎีกาที่ตัดสินว่าไม่เป็นค่าจ้าง  คือ คำ พิพากษาฎีกาที่  213 – 218/2536   ค่านายหน้าหรือเปอร์เซ็นต์การขายจะถือเป็นค่าจ้างได้ต่อเมื่อเป็นการขายใน วันและเวลาปกติของวันทำงาน    หากลูกจ้างนั้นไม่มีวันเวลาปกติของการทำงานคือจะขายเมื่อใดวันใดก็ได้ เช่นนี้ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้างเพราะมิได้ตอบแทนการทำงานในวันเวลาปกติของวันทำ งาน

 



ผู้ตั้งกระทู้ ็HR ฝึกหัด :: วันที่ลงประกาศ 2012-05-29 16:26:40


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3289168)

 ต้องเรียนถามว่า การจ้างงานของคุณไม่มีระเบียบข้อบังคับในการทำงานหรือไม่ และการจ้างพนักงานขาย พนักงานขายผู้นั้นสามารถทำงานเมื่อไรก็ได้ แบบขายของทางอินเตอร์เน็ตที่ไม่มีการบังคับ เช่นนั้นหรือไม่ หากไม่มีระเบียบจะทำงานเมื่อไรก็ได้ ก็อาจเข้าข่ายตามที่ท่านถามมาได้ว่า ไม่ใช่ค่าจ้าง เมื่อไม่ใช่ค่าจ้างก็ไม่ต้องนำมาคำนวนผลประโยชน์ตามกฎหมาย แต่ข้อเท็จจริงในแต่ละกรณีไม่เหมือนกัน หากพิสูจน์ได้ว้า มีจข้อบังคับคำพิพากษาก็จะเปลียนไปครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2012-06-11 12:05:44



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.