ReadyPlanet.com


ข้อบังคับ กับ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง


อยากทราบจริงๆๆค่ะ ขอความกรุณาด้วย

อยากทราบว่า ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตาม

มาตาม 108 พ.ร.บ.คุ้มครองฯ จำเป็นหรือไม่

ที่จะต้องเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเสมอทุกกรณี

ปล. เนื่องจากอ่านฎีกาแล้ว คำพิพากษาส่วนใหญ่

มักจะเขียนมัดรวมไปเลยว่า ข้อบังคับถือเป็น

ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ไม่ได้เกิดจาก

การแจ้งข้อเรียกร้อง ซึ่งผลในทางกฎหมายมันจะ

ต่างหากเป็นข้อบังคับเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจริงๆๆ

ช่วยอธิบายหรืออ้างหลักฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วยนะคะ

ขอบพระคุณมากค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ UUU :: วันที่ลงประกาศ 2008-06-18 00:23:04


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2864023)

ตอบคุณ UUU,
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจก่อนว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ..ซึ่ง อีกนัยหนึ่งคือข้อตกลงหรือสัญญาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างมีอะไรบ้าง

1. สัญญาจ้างงาน...ตามประมลวกฎหมายแพ่งฯ เป็นรายบุคคล นายจ้างทำขึ้นเอง + ลูกจ้างสมัครใจตกลงเอง ( มีผล กับลูกจ้างแต่ละคน ตลอดระยะเวลาของสัญญา)

2. ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ตาม พรบ.คุ้มครองฯ ม.108  ซึ่งกฎหมายกำหนด บังคับให้นายจ้างทำ (มีผลบังคับลูกจ้างทุกคน ตลอดไป)

3. ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ตามพรบ.แรงงานสัมพันธ์ ม.10  ซึ่งกินความหมายกว้างกว่า ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เพราะมีที่มา 2 ทาง คือ
     3.1 นายจ้างกำหนดขึ้นมาเอง ก็คือ  อันแรกคือ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานนั่นเอง และยังรวมถึง ประกาศ ระเบียบ ข้อบังบังคับใดๆที่เกี่ยวกับ สถาพการจ้างอีกด้วย ซึ่งจริงๆ แล้วก็เกือบทุกอย่างที่ประกาศออกมานั่นละครับ....(มีผลตลอดไป หรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้)
     3.2 ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ที่ถูกเรียกร้องให้มี ขึ้น หรือแก้ไข เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม ตาม พรบ.แงงานสัมพันธ์ ม.13 ซึ่งการเรียกร้องให้มีการกำหนดโดยนายจ้าง ทางปฏิบัติ คือ การเพิ่มหรือแก้ไขจากข้อ 3.1  ซึ่งประกาศไว้ในครั้งแรก โดยเฉพาะเรื่องที่เป็นการลดประโยชน์ของลูกจ้างนั่นเอง..... ส่วนที่ลูกจ้างเรียกร้องให้มีในทางปฏิบัติ น่าจะหมายถึง การแก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมประกาศ ตาม 3.1 ซึ่งบางกรณี มีผลต่อลูกจ้างทุกคน บางกรณีก็เพียงบางส่วน ตามรายการที่เรียกร้องมา (มีผลบังคับใช้ 1-3 ปี....)

สรุป:
จากข้อพิจารณาข้างต้นคงทำให้เห็นความแตกต่าง ในประเด็นของคำถามนะครับ หากพูดให้เข้าใจง่ายๆ กฎหมาย 3 ฉบับ กำหนดสิทธิและหน้าที่ไว้ต่างระดับกันคือ
1. นายจ้าง กำหนดเอง (ตามที่ตนต้องการ) โดยมีลูกจ้างสมัครใจเข้ามทำสัญญาด้วย  (ปพพ.)
2. กฎหมายบังคับให้นายจ้างทำ โดยกำหนดมาตารฐานขึ้นต่ำ ของข้อ 1 ไว้ด้วย (พรบ.คุ้มครอง)
3. กฎหมายให้สิทธิลูกจ้าง มีส่วนร่วมในการจัดทำ...ทั้งนี้ เพื่อความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างนั่นเอง สมชื่อ พรบ.แรงงานสัมพันธ์เลยครับ

หากจะพูดกันในรายละเอียด เรื่องยาวเลยครับ เพราะเป็นประเด็นทางกฎหมาย ขาดตกบกพร่อง ถูกผิด ถูกใจหรือไม่อย่างไร ถามทนายสมบัติอีกครั้งก็ได้นะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น HR Lawman วันที่ตอบ 2008-06-23 09:43:13


ความคิดเห็นที่ 2 (2868862)
ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ
ผู้แสดงความคิดเห็น uuu วันที่ตอบ 2008-07-02 11:38:56



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.