ReadyPlanet.com


เรียนถามคะ


เรียนถามหน่อยคะ ไม่แน่ใจ พอดีทำ เวลาการทำงานเสนอนายจ้าง  เพราะเวลาการทำงานเดิม ไม่ถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน เดิม ทำงาน 8.30-19.00 ในวันจันทร์-พฤหัส และ 8.30-19.30 ในวันศุกร์ หยุดเสาร์อาทิตย์ 

และอยากเปลี่ยนให้ถูกต้อง และได้ทำ ตารางเปรียบเทียบให้ผู้บริหาร ดู แต่ก็มีคำถาม กลับมา จึงสงสัยอยากขอ

 

ความเห็นผู้ที่ทราบหน่อยคะ

จากเวลาที่เปลี่ยน จะมีวันเสาร์ที่ต้องทำเพิ่มเติม สองเสาร์ ผู้บริหารจึงถามว่า แล้วสัปดาห์ที่ทำ วันเสาร์ นั้นมันเกิน 48 ชั่วโมงแบบนี้ไม่ผิดกฏหมายเหรอ เพราะที่เปลี่ยน เพราะเวลางานต่อวันเกิน 8 ชั่วโมงแต่ไม่เกิน 48สัปดาห์ แต่ที่ทำใหม่เสนอนั้น ไม่เกิน 8 ชั่วโมง เพราะเพิ่มเวลาพัก แต่บางสัปดาห์ที่ทำวันเสาร์เกิน 48 ชั่วโมง/สัปดาห์ แล้วไม่ผิดเหรอ  จึงอยากถามคะว่าผิดหรือเปล่าคะ ถ้าผิด ละจะทำอย่างไรดี เพราะพนักงานส่วนใหญ่อยากหยุด เสาร์-อาทิตย์ แต่นายจ้างก็ต้องไม่ขาดทุนด้วยคะ

    เข้างาน เลิกงาน รวมเวลา รวมหักพัก ทำงานจริง   * 45 ชม. คูณ 4 สัปดาห์ = 180 ชม. บวก 12 = 192 ชม.  
  จ-ศ 08:30:00 18:30:00 10:00 9 45 *5              
                45 ขาด 3 ชม./สัปดาห์ 3 *(4 สัปดาห์)=12/2=6ชั่วโมงต่อวันที่ต้องเพิ่ม
                             
ทำ สอง เสาร์ 09:00:00 16:00:00 07:00 6 6.0 จ-พฤ เบรค สามช่วง  ช่วงละ 15 นาที *ที่ต้องเบรคเป็นสามช่วงเวลา
                  10:00 14:30 16:30 เพราะเราเกิน9ชม./วัน
                  15 15 15 45    
    เข้างาน เลิกงาน รวมเวลา รวมหักพัก ทำงานจริง   * 36+8=44 ชม. คูณ 4 สัปดาห์ =  176ชม.     
  จ-พฤ 08:30:00 18:30:00 10:00 9 36                
  08:30:00 17:30:00 09:00 8 8                
                             
ทำ สอง เสาร์ 08:30:00 17:30:00 09:00 8 8 จ-พฤ เบรค สามช่วง  ช่วงละ 15 นาที *ที่ต้องเบรคเป็นสามช่วงเวลา
                  10:00 14:30 16:30 เพราะเราเกิน9ชม./วัน


ผู้ตั้งกระทู้ นกน้อย :: วันที่ลงประกาศ 2014-07-30 11:10:09


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3679111)

หากต้องการปฏิบัติตามกฎหมายจริง ก็ต้องว่าตามกฎหมาย ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 23 โดยเคร่งครัด คือทำงานวันหนึ่งไม่เกิน 8 ชั่วโมง ไม่รวมเวลาพัก และใน 1 สัปดาห์ต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง ดังนั้นท่านสามารถทำงานได้วันละ 8 ชั่วโมง 08.00 - 17.00 เป็นเวลา 6 วัน กฎหมายไม่ได้ให้เอาเวลารวมทั้งเดือนมากบ้างน้อยบ้างมารวมกันทั้งเดือนได้ เพราะหากสัปดาห์หนึ่งทำงานตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ใน 1 เดือนก็ต้องถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อก่อนท่านมีการทำงานที่มากกว่ากฎหมายกำหนดไม่ว่าจะเป็น 1 วัน หรือ 1 สัปดาห์ เมื่อท่านต้องการปรับให้ถูกต้อง บางทีท่านอาจต้องยอมขาดทุนบ้าง ก็ต้องอธิบายให้นายจ้างฟัง เพราะหากลูกจ้างไม่พอใจและเมื่อโดยเลิกจ้าง ไปร้องที่แรงงาน บริษัทท่านก็ต้องโดนบังคับให้ปรับลงมาอยู่ดี และมีโทษทางอาญาที่ต้องโดนปรับไม่เกิน 5000 บาท แล้ต้องแก้ระเบียบด้วย

1. ในการทำงานวัน จ - ศ 08.30 - 18.30 เวลาทำงานจริง คือ 9 ชั่วโมง ก็เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดอยู่แล้ว เพราะกฎหมายให้ 8 ชั่วโมง การทำได้ 9 ชั่วโมงหมายถึงท่ายมีวันทำงานปกติ 6 วัน แต่ท่านต้องการลดวันทำงานลงเหลือ 5 วัน ท่านก็สามารถตกลงกับลูกจ้างได้ ที่จะเพิ่มเวลาทำงานในวันทำงานปกติอีก 1 ชั่วโมง จาก 8 เป็น 9 เหลืออีก 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ท่านก็สามารถให้ทำงานทุกเสาร์อีก 3 ชั่วโมง ท่านก็จะไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์  หากท่านต้องการเพิ่มเวลาทำงานอีกท่านก็ต้องจ่ายเป็นค่าล่วงเวลาให้พนักงานไป ก็สามารถทำได้

2. ในสัปดาห์ที่ทำงานในวันเสาร์ที่เขียนมานั้น หากสัปดาห์ใดทำก็เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแน่นอน ยกเว้นท่านจะจ่ายเป็นค่าล่วงเวลา หรือค่าทำงานในวันหยุดให้

ท่านต้องอธิบายให้ผู้บริหารฟังว่าตกลงจะทำตามกฎหมายหรือไม่ หากผู้บริหารเห็นว่า หากเสี่ยงทำไปและยอมรับความเสี่ยงหากมีพนักงานไปร้อง หรือฟ้อง ก็เป็นเรื่องเล็กท่านก็ทำต่อไป หากเห็นว่าไม่คุ้มกับการที่ไปถูกฟ้องก็เปลี่ยนตามที่กฎหมายกำหนดคือ ใน สัปดาห์หนึ่ง ต้องมีเวลาทำงานปกติไม่เกิน 48 ชั่วโมง ไม่ใช่ 192 ชั่วโมงต่อเดือน นะครับ การที่ท่านทำงาน 192 ชั่วโมงต่อเดือนไม่ใช่ท่านทำถูกกฎหมายนะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2014-07-31 08:01:33


ความคิดเห็นที่ 2 (3679112)

ท่านอาจไม่เชื่อตามที่ผมแนะนำ ท่านลองไปคุยกับพนักงานตรวจแรงงาน ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เขตใดก็ได้ ไม่ต้องบอกว่าท่านมาจากที่ใด และถามความเห็นจากเขา เพราะหลังจากท่านท่านแก้ไขแล้ว หากท่านจะส่งไปจดทะเบียน เจ้าหน้าที่ต้องตรวจอยู่ดี หากไม่ต้องการให้เจ้าหน้าที่รู้ว่ามาจากที่ไหนก็ไม่ต้องบอก เพียงแต่ต้องการทราบในหลักการเท่านั้น ท่านก็จะได้รับความกระจ่างครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2014-07-31 08:05:33


ความคิดเห็นที่ 3 (3679284)

ขอบคุณคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น นกน้อย วันที่ตอบ 2014-07-31 09:49:39



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.