ReadyPlanet.com


การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม


ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้นายจ้างรับผิด ต่อลูกจ้าง ตามวิ.แรงงาน มาตรา 49 กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

โดยศาลฟังว่า นายจ้างปลดลูกจ้างออกเนื่องจาก ลูกจ้างกระทำการฝ่าฝืนกฎระเบียบของบริษัท โดยถูกหน่วยงานที่กำกับดูแลภาคทัณฑ์ ซึ่งศาลฟังว่าไม่เป็นความผิดร้ายแรง โดยกำหนดค่าเสียหายให้ลูกจ้าง ในส่วนค่าขาดรายได้ เงินค่าตอบแทน หากยังทำงานอยู่ โดยกำหนดรวมกันมามิได้แยกว่าเงินประเภทใด

ทั้งนี้ นายจ้างได้จ่ายค่าชดเชย และค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ในการปลดงานลูกจ้างดังกล่าว

อยากถามว่า จะมีประเด็นต่อสู้ในชั้นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ในข้อกฎหมายอย่างไรบ้าง



ผู้ตั้งกระทู้ สมบูรณ์ :: วันที่ลงประกาศ 2007-11-05 11:16:59


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1242061)
ผู้แสดงความคิดเห็น _ ›ำ^๖ฝขถ จ วันที่ตอบ 2007-11-07 14:56:50


ความคิดเห็นที่ 2 (1242064)

 การอุทธรณ์ศาลแรงงาน จะอุทธรณ์ได้เฉพาะข้อกฎหมายเท่านั้น   กรณีคุณบอกตรงๆๆๆยากมากที่ศาลแรงงานกลางจะรับอย่างไรก็ตาม  การอุทธรณ์ข้อกฎหมายตามปัญหาก็ต้องอุทธรณ์ตามประเด็นที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า ซึ่งตั้งประเด็นการเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่ อย่าโต้แย้งดุลยพินิจการรับฟังของศาลก็เป็นปัญหาข้อเท็จจริง    คุณน่าจะใช้ผู้มีวิชาชีพทางกฎหมายแรงงานปรึกษาคดีจะดีที่สุดครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น นิติบริกร วันที่ตอบ 2007-11-07 15:02:03



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.