ReadyPlanet.com


ต่อจากเหตุการณ์ ไฟไหม้โรงงานต้องหยุดกิจการชั่วคราวให้ลูกจ้างที่อยู่ฝ่ายบุคคลหยุดด้วยเหตุนี้ได้


แม้ว่าบริษัทอ้างเหตุนี้เพื่อต้องการให้ลูกจ้างฝ่ายบุคคลหยุดงานเพื่อลดค่าใช้จ่าย 10,000 กว่าบาทต่อเดือน  แต่ผลก็คือบริษัทต้องค่าใช้จ่ายในการจ้างทนายความเก่งๆ จากบริษัทชั้นนำในประเทศไทยอีกหลายล้านบาท  ไม่รู้ว่าคุ้มกันรึเปล่า (ผู้บริหารสร้าง cost (ค่าใช้จ่าย))  ประเด็นที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ   คำตัดสินวันที่ 28 กุมภาพันธ์ แต่ข้อมูลเกี่ยวกับผลประกอบการที่บริษัทได้กำไรจากเหตุการณ์เพลิงไหม้ออกวันที่ 29 กุมภาพันธ์   

 

คำถามที่ 1 ถ้าหากมีพนักงานแผนกอื่นมาร้องมาตรา 75 ว่านายจ้างไม่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องให้ลูกจ้างหยุดงาน เพราะนายจ้างได้กำไร ไม่มีความจำเป็นต้องลดค่าใช้จ่ายแต่อย่างใดได้หรือไม่

 

เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้  นายจ้างอาจจะใช้ช่องว่างทางกฎหมายของมาตรา 75  พ.ศ. 2541 ทำให้สามารถหยุดงานลูกจ้างฝ่ายบุคคลโดยจ่าย 50% ด้วยเหตุนี้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม  ถ้าหากมีพนักงานอื่นฟ้องนายจ้างในเรื่องกฎหมายความปลอดภัย  เพราะว่านายจ้างประมาทเลินเล่อทำให้เกิดไฟไหม้ ขณะเกิดเหตุไฟไหม้ก็ไม่มีน้ำสำหรับดับไฟ ทำให้ไม่สามารถควบคุมเพลิงไว้ได้  ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง    นายจ้างอาจจะมีเจตนาประมาทเลินเล่อรึเปล่าก็ไม่มีใครทราบได้  เพราะข้อมูลในอดีตที่ผ่านมาเมื่อบริษัทเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้  บริษัทก็สามารถเคลมกับประกันได้  และบริษัทต่างชาติทำประกันทั้งในประเทศไทยและทำประกันที่ต่างประเทศด้วย 

 

คำถามที่ 2 อยากทราบว่ากรณีนี้พนักงานสามารถฟ้องว่านายจ้างกระทำผิดกฎหมายความความปลอดภัยรึเปล่าค่ะ

 

อยากฟังความคิดเห็นของคุณสมบัติค่ะ  การที่ได้ฟังความคิดเห็นของบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญ มีความรู้เชิงลึกในด้านกฎหมาย  จะทำให้เราเข้าใจและมีความรู้เพิ่มขึ้น  ขอบพระคุณค่ะ

 

(กฎหมายเป็นเครื่องมือของความยุติธรรม มิใช่เครื่องมือของผู้ได้เปรียบเชิงสถานะใช้กลั่นแกล้งบุคคลที่สถานะต่ำกว่า)

 



ผู้ตั้งกระทู้ พนักงานบริษัท :: วันที่ลงประกาศ 2008-06-14 00:05:24


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2861110)

มาตรา  75 มีเจตนารมย์เนื่องนายจ้างที่เหตุจำเป็นเหตุหนึ่งเหตุใด ๆ ทีสำคัญอันมีผลกระทบต่อการประกอบกิจการจนนายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการ ซึ่งไม่ใช่เหตุสุดวิสัย  ถ้าเป็นกรณีเหตุสุดวิสัยนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้างเลย กรณีปัญหาเหตุเกิดจากนายจ้างเองในการประมาทเลินเล่อเกิดไฟ้ไหม้โรงงานของนายจ้าง ป็นกรณีทีนายจ้างเป็นผู้กระทำมิใช่จากการกระทำของบุคคลภายในนอก  นายจ้างไม่อาจอ้างเหตุดังกล่าวในการจ่ายค่าจ้างร้อยละ 70 ได้

          กรณีลูกจ้างจะฟ้องนายจ้างในความผิดทางอาญาด้านความปลอดภัยในการทำงาน ไม่น่าจะทำได้เนื่องต้องพิจารณาว่าใครเป็นผู้เสียหายในเรื่องนี้ ซึ่งน่าจะเป็นกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ผู้ใช้กฏหมาย ลูกจ้างไม่น่าจะเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย คงต้องยื่นคำร้องให้พนักงานตรวจแรงงานดำเนินการในส่วนนี้

         ลูกจ้างต้องทุกคนมีฟ้องเรียกค่าจ้างเต็มได้ กรณีนี้เป็นข้อเท็จจริงในพิสูจน์นายจ้างไม่สุจริต

ผู้แสดงความคิดเห็น เพื่อนสมบัติ วันที่ตอบ 2008-06-17 15:50:11


ความคิดเห็นที่ 2 (2863175)

ขอบพระคุณค่ะ สำหรับวิทยาทานในครั้งนี้

ผู้แสดงความคิดเห็น พนักงานบริษัท วันที่ตอบ 2008-06-20 23:01:54



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.