ReadyPlanet.com


เวลาทำงานของ พขร. (ขนส่งทางบก)


 เพิ่งถูกตรวจสอบจากกรมแรงงานค่ะ  (เค้าบอกว่าเป็นการตรวจทั่วไป)

ปกติเราจะจ่ายเป็นเงินเดือน+ค่าเที่ยว   เวลาคิดเงินสมทบก็ใช้   เงินเดือน+(ค่าเที่ยวx 30%) เหมือนคำพิพากษาศาลฎีกา ค่ะ

แต่เจ้าหน้าที่บอกว่า  ต้องกำหนดเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุดของงาน (ไม่เกิน 8 ชม.)  เวลาที่เกินให้จ่ายเป็น ค่าตอบแทนการทำงานเกินเวลาปกติ   โดยทั่วไปๆ  เค้ากำหนดกันได้หรือเปล่าคะ  เพราะเราต้องให้ พขร.ไปรอรับของที่โรงงานลูกค้า  และไปรอลงที่ปลายแต่  ในแต่ละเที่ยวจะเริ่มต้น หรือสิ้นสุดเวลาไหนก็ไม่รู้เพราะแล้วแต่ลูกค้าจะเรียกเข้าโรงงาน     และบางครั้งขากลับ  พขร. ก็จอดนอนระหว่างทางไม่ยอมกลับเข้าบริษัท

 

ตอนนี้ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไงให้ถูกต้องตามกฎหมาย  (ทั้ง กม.แรงงาน + กม.ประกันสังคม + การปฎิบัติจริง)

 

รบกวนขอเป็นความรู้ด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ VR (julai11-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2012-11-14 18:50:00


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3303734)

 ตามความเห็น  คงต้องใช้   พรบ.คุ้มครองแรงงาน  พ.ศ.2541  มาตรา 23 วรรคสาม  มาแก้ไขปัญหา  ไม่ทราบว่าในทางปฏิบัติจะเป็นได้หรือไม่ ลองหาช่องทางทำดูครับ

มาตรา ๒๓ ให้นายจ้างประกาศเวลาทำงานปกติให้ลูกจ้างทราบ โดยกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงานแต่ละวันของลูกจ้างได้ไม่เกินเวลาทำงานของแต่ละประเภทงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่วันหนึ่งต้องไม่เกินแปดชั่วโมง ในกรณีที่เวลาทำงานวันใดน้อยกว่าแปดชั่วโมง นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันให้นำเวลาทำงานส่วนที่เหลือนั้นไปรวมกับเวลาทำงานในวันทำงานปกติอื่นก็ได้ แต่ต้องไม่เกินวันละเก้าชั่วโมงและเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้ว สัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง เว้นแต่งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างตามที่กำหนดในกฎกระทรวงต้องมีเวลาทำงานปกติวันหนึ่งไม่เกินเจ็ดชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบสองชั่วโมง
                ในกรณีที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันให้นำเวลาทำงานส่วนที่เหลือไปรวมกับเวลาทำงานในวันทำงานปกติอื่นตามวรรคหนึ่งเกินกว่าวันละแปดชั่วโมงให้นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำเกินสำหรับลูกจ้างรายวันและลูกจ้างรายชั่วโมงหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้ในชั่วโมงที่ทำเกินสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน
               ในกรณีที่นายจ้างไม่อาจประกาศกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงานแต่ละวันได้ เนื่องจากลักษณะหรือสภาพของงาน ให้นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันกำหนดชั่วโมงทำงานแต่ละวันไม่เกินแปดชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง
 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม (sny-at-thaimail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-11-28 14:21:28



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.