ReadyPlanet.com


พิสูจน์ได้ว่าป่วยเท็จ ผิดร้ายแรงหรือไม่


เรียน อาจารย์สมบัติ

พนักงานต้องเข้าปฏิบัติงานเวลา 15.30 - 23.30 น. ในวันดังกล่าวเวลาประมาณ 15.30 น.พนักงานได้โทรศัพท์มาลาป่วยกับหัวหน้างาน ต่อมาในวันเดียวกัน เวลาประมาณ 18.30 น. ระหว่างเดินทางกลับบ้านหัวหน้างานได้พบพนักงานสวมใส่ชุดพนักงาน ซ้อนจักรยานยนต์ด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม ห้อยขาไปมา ขี่ย้อนศรสวนกับรถหัวหน้างานคนดังกล่าว และในเวลาไล่เลี่ยกันก็มีหัวหน้างานอีกแผนกพบพนักงานซ้อนจักรยานยนต์สวนทางผ่านไปเช่นกันเดียวกัน

วันต่อมาพนักงานยื่นใบลาป่วย (ผู้บังคับบัญชาไม่ได้อนุมัติ)

กรณีนี้ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงหรือไม่ สามารถเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่ ถ้าเลิกจ้างถือว่าผิดข้อใดในมาตรา 119

รบกวนด้วยค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ ER :: วันที่ลงประกาศ 2013-06-05 15:45:27


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3311229)

น่าจะต้องมีการพิจารณาสอบสวนในเรื่องนี้ โดยให้หัวหน้างานเขียนรายงานเรื่องนี้มา ว่าในวันดังกล่าวลาป่งยด้วยสาเหตุใด ปวดหัว ตัวร้อน ฯลฯ แล้วมาพิจารณาอีกครั้งหนึ่งวาสมเหตุสมผลหรือไม่ หากไม่สมเหตุสมผล สามารถถือได้ว่าไม่ป่วยจริง ถือว่าเป็นการขาดงาน ละทิ้งหน้าที่ และทำผิดทางวินัยได้ สามารถลงโทษทางวินัยได้ ตั้งแต่เตือนเป็นหนังสือถึงพักงาน ซึ่งพนักงานสามารถอ้างได้ว่า ป่วยตอนเบ่ายๆ กินยาและหายแล้ว ซึ่งพนักงานต้องมีเหตุผลทำให้นายจ้างเชื่อ หากนายจ้างไม่เชื่อก็สามารถลงโทษทางวินัยได้ หากพนักงานยื่นนใบลาป่วยพร้อมแนบใบรับรองแพทย์มาด้วย ก็ต้องตรวจสอบใบรับรองแพทย์ อีกครั้งหนึ่ง หากมีการแก้ไขใบรับรองแพทย์ถือว่าเป็นเรื่องความผิดร้ายแรง สามารถเลิกจ้างได้ตามมาตรา 119

แต่กรณีโทรมาลา หากนายจ้างไม่เชื่อก็สามารถลงโทษทางวินัยได้แต่ไม่ถึงขั้นเลิกจ้างครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2013-06-05 20:46:21



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.