ReadyPlanet.com


ขอรบกวนอีกครั้งนะครับ ขอถามเพิ่มจากคำตอบที่ผมได้รับครับ


 1. สัญญาทดลองงาน 119 วัน หากนายจ้างให้ออกก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย แต่ต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมาย หากให้ออกทันที แต่หากพิสูจน์ว่า นายจ้างกลั่นแกล้ง หรือไม่มีเหตุแห่งการเลิกจ้าง ก็สามารถเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้ด้วย

2. หากนายจ้างต้องการหักเงินค่าจ้าง นายจ้างต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง การลงนามไว้ไม่มีจำนวนเงินถือว่าใช้ไม่ได้ครับ ต้องพิสูจน์ความเสียหายและต้องได้รับกาีรยินยอมจากลูกจ้างด้วย

3. เป็นเรื่องปกติของนายจ้างที่ต้องการเอาเปรียบลูกจ้างอยู่แล้ว และอาจเกรงว่าลูกจ้างอาจทำความเสียหาบขึ้นมา ก็เลยเขียนเอาไว้ แต่เขียนไว้และลูกจ้างลงนามก็ไม่มีผลทางก็หมาย เนื่องจาก พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน สัญญาใดที่ทำขึ้นขัดกับกฎหมายนี้ถือว่าเป็นโมฆะ ไม่มีผลใช้บังคับ

4. ลงนามไปก็ไม่มีความหมายอะไร เป็นผลเพียงจิตใจกับลูกจ้างเท่านั้น หากนายจ้างออกระเบียบที่ขัดกับความรู้สึกของลูกจ้าง ต่อไปก็ไม่สามารถหาคนมาทำงานได้ คนไทย หากทำสัญญาผูกมัดมากๆก็ไปหาที่ทำงานที่อื่นครับ ผมว่า ผู้แนะนำไม่รู้กฎหมาย หากรู้ก็เพียงต้องการขู่ไว้เท่านั้น 

 

 

ขอถามข้อที่ 1 นะครับ

คือนายจ้างบอกเลิกจ้างแก่ลูกจ้าง

ทั้งๆที่ลูกจ้างทำงานมาเพียง 90 แต่ไม่เกิน 100 วัน หรือ 3 เดือน

โดยอ้างข้อสัญญาของบริษัทที่ผมได้เรียนไป 

ว่านายจ้างมีสิทธิ์ทำได้ 

และเหตุแห่งการเลิกจ้างนั้น ครอบคลุมเรื่องใดบ้างครับ

เช่น เกี่ยวกับเรื่องทุจริตในหน้าที่ใช่ไหมครับ

หรือเป้นความผิดร้ายแรง(ระดับใดบ้าง)ใช่ไหมครับ

 

และข้อที่ 4 คำว่า ผู้แนะนำกฎหมาย ความหมายของคุณคือ

คนที่ร่างสัญญา หรือ ให้คำแนะนำนายจ้างใช่ไหมครับ

 

ผมขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงนะครับ



ผู้ตั้งกระทู้ เค :: วันที่ลงประกาศ 2013-09-01 16:48:34


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3313045)

นายจ้างหากต้องการเลิกจ้างสามารถอ้างเหตุใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นไม่มีความสามารถในการทำงาน ลาบ่อย มาสายประจำ ไม่พอใจที่จะให้ทำงาน ฯลฯ ไม่จำเป็นต้องเรื่องร้ายแรงก็สามารถบอกเลิกจ้างได้ แต่หากการอ้างเรื่องร้ายแรง เพื่อไม่ต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม สัจจธรรมข้อหนึ่งคือ นายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างเมื่อไรก็ได้ และลูกจ้างสามารถลาออกจากการเป็นลูกจ้างเมื่อไรก็ได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง

และผู้ที่แนะนำเรื่องนี้ อาจจะเป็น ผู้จัดการงานบุคคล ทนายความ ที่ปรึกษา ฯลฯ ก็สามารถเป็นได้ โดยแนะนำนายจ้างให้เขียนข้อสัญญาไว้อย่างนี้ นายจ้างเห็นว่าตัวเองได้เปรียบก็ชอบ แต่เมื่อมีปัญหาถึงศาลก็หายจ้อยไป ตัดหางนายจ้างปล่อยวัดไป เคยพบผู้แนะนำกฎหมาย ให้นายจ้างกรณีที่นายจ้างทำผิดกฎหทาย แต่กลับพูดว่า กฎหมายแรงงานมีโทษเพียงปรับ จ่ายหมื่นสองหมื่น ก็จบกันไป บางทีบอกว่าตัวเองเก่งกว่า ศาลด้วยซ้ำก็มีครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2013-09-02 10:42:12



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.