ReadyPlanet.com


พนักงานตรวจแรงงานต้องดำเนินคดีอาญากับนายจ้างเพราะมีเจตนาไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชย


พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าชดเชย พร้อมดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม แต่นายจ้างดื้อแพ่ง ยื่นอุทธรณ์ ต่อศาลแรงงาน อยากทราบขั้นตอนในศาลแรงงานจนจบกระบวนการค่ะ

พนักงานตรวจแรงงานต้องดำเนินคดีอาญาต่อนายจ้างไปพร้อมกันอีกคดีหรือไม่ เพราะพนักงานตรวจแรงงานได้วินิจฉัยแล้วว่านายจ้างมีเจตนาจงใจไม่จ่ายค่าจ้างและค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง

ขอบคุณค่ะ

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ สิริพันธ์ :: วันที่ลงประกาศ 2011-04-26 20:01:33


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3243560)

หากนายจ้างไม่พอใจคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานที่ออกคำสั่งตามาตรา 139 วรรคท้าย  นายจ้างสามารถอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่ง หากนายจ้างไม่พอใจผลของคำอุทธรณ์นั้น นายจ้างสามารถยื่นฟ้องศาลแรงงาน เพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งนั้นได้ แต่นายจ้างต้องนำเงินที่จะต้องจ่ายไปวางศาลก่อนจึงสามารถฟ้องขอยกเลิกคำสั่งนั้นได้ การดำเนินคดีอาญาเป็นอันพับไป เพราะนายจ้างมีเจตนาจ่ายแต่ยังติดเรื่องเหตุผลในการจ่ายนั้น 

หากลูกจ้างชนะก็ไปรับเงินที่ศาล หากนายจ้างชนะก็เอาเงินคืนไป ใช้เวลาไม่นาน หากพยานหลักฐานครบถ้วนก็กินเวลาไม่กี่เดือน แต่หากนายจ้างอุทธรณ์ต่อไปที่ศาลฎีกา ก็กินเวลาอีก 2.5 ปี ครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-04-27 11:06:58


ความคิดเห็นที่ 2 (3243592)

 

กรณีอย่างนี้ นักกฎหมายเขาใช้หลัก “กรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา” มาประกอบการวินิจฉัย นั่นก็คือ ต้องพิจารณาจากการกระทำของนายจ้างในขณะกระทำการที่อ้างว่า เป็นความผิด โดยพิจารณาประกอบหลักตรรกวิทยา เพียงแค่นี้ก็พอจะทราบได้ว่า นายจ้างมีเจตนากระทำความผิดอันจะเป็นเหตุให้ต้องรับโทษทางอาญาหรือไม่
 
กรณีตามตัวอย่าง นายจ้างอาจเชื่อว่า ตนมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ แม้ความเชื่อของนายจ้างอาจไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามหลักกฎหมายคุ้มครองแรงงาน แต่ ตราบใดที่ความเชื่อนั้นเป็นไปโดยสุจริตและมีเหตุมีผลตามสมควร การไม่จ่ายค่าชดเชยของนายจ้างก็ขาดเจตนาในการกระทำความผิด กรณีเช่นนี้ จึงไม่เป็นความผิดอาญา
 
กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยนับแต่วันเลิกจ้าง ดังนั้น ความรับผิดของนายจ้างทั้งทางแพ่งและอาญาจึงต้องเกิดขึ้นในวันเลิกจ้างนั่นเอง ในทางแพ่ง ความรับผิดในเงินต้นและดอกเบี้ยก็นับแต่วันเลิกจ้าง ในทางอาญา ความผิดสำเร็จก็ต้องนับแต่วันเลิกจ้างเช่นกันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังวันเลิกจ้างไม่อาจนำมาเป็นเครื่องชี้วัดเจตนาได้ วันที่นายจ้างแพ้คดีเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเกิดขึ้นภายหลังวันเลิกจ้างนานนับเดือนหรือบางคดีนานนับปีด้วยซ้ำไป จึงเป็นไปไม่ได้ที่ความผิดอาญาจะสำเร็จในวันที่นายจ้างแพ้คดี
 
การดำเนินคดีอาญากับนายจ้างที่ฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ด้วยการนำผลของคดีที่ฟ้องเพิกถอนคำสั่งมาเป็นเงื่อนไข ตามนโยบายของกรมสวัสดิฯไม่สอดรับกับหลักความรับผิดของบุคคลในทางอาญา ที่ถูกต้องกรมสวัสดิฯควรสอบข้อเท็จจริงให้ครบถ้วน หากข้อเท็จจริงฟังได้ ณ วันเลิกจ้างว่า นายจ้างมีเจตนากระทำความผิด ก็ควรดำเนินคดีอาญาต่อไป แต่หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า นายจ้างไม่มีเจตนากระทำความผิด ก็ไม่ควรดำเนินคดีอาญานายจ้าง แม้นายจ้างจะแพ้ในคดีฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานก็ตาม
 
               ......................................................สมบัติ ลีกัล 6 กันยายน 2550
 
ผู้แสดงความคิดเห็น สิริมา วันที่ตอบ 2011-04-27 16:30:48


ความคิดเห็นที่ 3 (4279362)

 หากศาลแรงงานตัดสินให้ บริษัทจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแล้ว

 

แต่ทางบริษัทไม่ยอมและยื่นอุทธรณ์ต่อ  แบบนี้พนักงานสามารถเรียกร้องค่าเสียดายใดๆ เช่น ค่ารถ ค่าเดินทาง ค่าทนาย เพิ่มเติมได้หรือไม่ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น เชาว์ วันที่ตอบ 2018-11-05 10:00:40



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.