ReadyPlanet.com


เลิกจ้างผู้บริหารเจ็บป่วยจนไม่สามารถกลับทำงานได้


บริษัทได้จ้างผู้บริหารระดับสูงท่านหนึ่งมาเป็นเวลา  2ปีกว่า แต่เมื่อต้นปีเขาเจ็บป่วยต้องพักรักษาตัวที่บ้านไม่สามารถมาทำงานได้ตั้งแต่ต้นปีจนบัดนี้ และโรคที่เป็นไม่สามารถรักษาให้หายขาด (เรียกได้ว่ารอเวลาเท่านั้น) ตอนนี้เท่ากับบริษัทได้จ่ายค่าจ้างให้ทุกเดือนและเขาก็ใช้สิทธิสวสัดิการค่ารักษาพยาบาลมาโดยตลอด  (โดยที่เขาไม่เข้ามาทำงานเลย) แต่เนื่องจากเขาเป็นผู้บริหารระดับสูง ตำแหน่งนี้มีความสำคัญกับบริษัทในการทำดำเนินธุรกิจ จึงต้องการคนมาทำงานแทน  หากบริษัทเลิกจ้างผู้บริหารท่านนี้ โดยจะจ่ายค่าชดชเยตามกฎหมาย ( 3+1 เดือน ) และจะมี extra  ให้อีก (3 เดือน) บริษัทมีสิทธิ์จะถูกเขาฟ้องว่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่   หรือบริษัทควรทอย่างไรดีคะ



ผู้ตั้งกระทู้ พนักงานฝ่ายบุคคล :: วันที่ลงประกาศ 2009-12-24 11:30:48


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3140558)

หากต้องการจากกันด้วยดี ก็คงต้องไปคุยกับผู้บริหารท่านนั้น และก็ขอความอนุเคราะห์ที่จะเปลี่ยนเป็นการลาออกแทน และอาจจะจ่ายเงินให้ครบถ้วนหรือมีพิเศษให้ เพื่อไม่ให้มีปัญหาภายหลัง และหากเป็นผู้บริหารระดับสูง ต้องระวังเรื่องของความรู้สึกของคนให้ดี

การที่ทำให้ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งสูง และมีความสำคัญกับบริษัท มีความรู้สึกที่ไม่ดี อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินการของบริษัทและภาพพจน์ในบริษัท ในอนาคตได้

หากนายจ้างดำเนินการให้ออกไปตามที่เขียนมา หากมีการฟ้องร้อง โอกาสที่นายจ้างได้เปรียบมีสูงมาก เพราะได้มีการจ่ายเงินชดเชยครบถ้วน จ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า เรียบร้อย คงฟ้องได้เพียงเรื่องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แต่เรื่องนี้คงไม่มีปัญหา เพราะมีเหตุแห่งการเลิกจ้าง และนายจ้างไม่สามารถมาทำงานได้ด้วยสาเหตุการเจ็บป่วย ซึ่งเป็นสาเหตุที่เพียงพอให้เลิกจ้างได้

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2009-12-24 17:14:35


ความคิดเห็นที่ 2 (3145324)

การที่เราไปพักที่โรงแรม ราคา 400 บาท กลับมา เรานำเอกสารมาเคลียร์ค่าใช้จ่าย โดยเราบวกค่ารถ ค่าอาหารเช้า ไปในบิลค่าทีพัก ทางโรงแรมเขียนให้ คือขอให้เขาเขียนนั่นแหละ  กลับมาเราก็มาบอกเจ้านายว่า เราบวกค่าอาหารเช้า และรถรับส่งไปด้วย  ( โดยที่เราไม่ได้เขียนเบิกค่าอาหาร ค่ารถอีกรอบ ) เจ้านายก็เซ็นต์อนุมัติไป  แต่พอถึงฝ่ายบุคคล ก็ได้เรียกไปชี้แจง ก็ชี้แจงไปตามนั้น อย่างนี้จะถือว่าเจตนาทุจริต หรือเปล่าครับ  เพราะเราก็ได้อธิบายไปแล้ว อีกอย่างถ้าเราเขียนเบิกค่าอาหาร  เบิกค่ารถ บริษัทต้องจ่ายเรามากกว่าเหตุการณ์ที่เราทำ เช่น กรณีที่เราทำ บริษัทจ่าย 5000  บาท แต่ถ้านำเอกสารมาเบิกพร้อมค่ารถ ค่าอาหาร บริษัทต้องจ่ายถึง 7000 -8000 บาท ขอความคิดเห็น หรือคำแนะนำด้วยครับ....

ผู้แสดงความคิดเห็น กรรมของกรรมการลูกจ้าง วันที่ตอบ 2010-01-13 11:45:11


ความคิดเห็นที่ 3 (3145592)

ความหวังดีที่จะลดค่าใช้จ่าย อาจกลายเป็นผลร้ายได้ในอนาคต เพราะการที่ฝ่ายบุคคลไปตรวจสอบมา ค่าใช้จ่ายไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น ค่าโรงแรม 400 บวกค่าอาหาร ค่ารถเข้าไป เป็น 800 บาท และให้ทางโรงแรมออกใบเสร็จ ตามจำนวนที่ต้องการนั้น ถือว่าไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เป็นเอกสารเท็จ การใช้เอกสารอันเป็นเท็จ ย่อมมีความผิดทั้งทางอาญาและเป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับในการทำงานด้วย แม้ว่าจะมีเจตนาจะช่วยประหยัดให้นายจ้างก็ตาม

หากระเบียบมาสามารถให้เบิกค่าอาหาร ค่าเดินทางได้ตามความเป็นจริง ก็ควรทำตามระเบียบ ไม่ต้องกังวลว่าจะช่วยเหลือนายจ้างในการประหยัดเงิน เพราะความเสียหายจะมาถึงตัวเราได้

ในกรณีนี้ นายจ้างสามารถร้องศาลขอเลิกจ้างได้ และฝ่ายกรรมการลูกจ้างน่าจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ 

การอ้างว่าไม่มีเจตนาทุจริต คงพูดได้ยากเพราะเอกสารยืนยันเช่นนั้น 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2010-01-14 08:53:14



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.