ReadyPlanet.com


ออฟฟิชจะย้ายที่อยู่ไปไกลมาก


ออฟฟิชจะย้ายที่อยู่ไปไกลมากๆจากที่อนุสาวรีย์ชัย ไปที่ใหม่อ่อนนุช(ปกติบ้านอยู่ปากเกร็ด)รบกวนถามว่า

มีข้อเรียกร้องที่สามารถใช้บังคับ ทางแรงงานหรือชดเชยหรือEARLY RETIREได้บ้างไหมคะ(ทำงานกับเค้ามา11ปีแล้ว)เพราะเดินทางลำบากมากและจ่ายค่ารถมากจนไม่คุ้มแล้วคะ

ปล.ไม่ได้รับโบนัสและปรับเงินเดือนทั้งบริษัทมา5ปีแล้วคะ



ผู้ตั้งกระทู้ วิ :: วันที่ลงประกาศ 2009-03-05 11:34:37


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2979776)

ขอแสดงความคิดเห็นแบบคร่าวๆนะครับ

มาตรา 75    ถ้านายจ้างหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนชั่วคราว โดยไม่ใช่เหตุสุดวิสัย ให้จ่ายเงินลูกจ้าง 75% ของค่าจ้างตลอดระยะเวลาของการหยุดงาน และต้องแจ้งลูกจ้างก่อนอย่างน้อย 3 วันทำการ

มาตรา 120 ในกรณีที่ย้ายสถานประกอบการไปอยุ่ที่อื่น ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ต้องแจ้งให้ราบก่อนอย่างน้อย 30 วัน ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะย้ายไปด้วยให้บอกกล่าวนายจ้างภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่รับแจ้งหรือวันที่ย้ายสถานประกอบการ โดยให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยไม่น้อยกว่า ที่กำหนดในมาตรา 118 ( ตามอายุงาน ) ถ้านายจ้างไม่บอกกล่าวล่วงหน้าก่อน 30 วันให้จ่ายค่าชดเชยการบอกกล่าวล่วงหน้าอีก 1 เดือน  หากแจ้งความประสงค์ต่อนายจ้างแล้ว นายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยให้ ให้ไปแจ้งแรงงานภายใน 30 วัน แรงงานจะวินิจฉัยว่ามีสิทธิได้รับหรือไม่ได้รับค่าชดเชย ( จะมีคำตอบให้ภายใน 60 วัน ) และจะมีคำสั่งอีกฉบับให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้ภายใน 30 วัน ชึ่งเป็นการหมดหน้าที่ของแรงงาน  ถ้านายจ้างหรือลูกจ้างไม่พอใจคำสั่งให้ไปอุทรธ์ที่ศาลต่อ นะจ๊ะจะบอกให้

ผู้แสดงความคิดเห็น เอก วันที่ตอบ 2009-03-05 13:28:57


ความคิดเห็นที่ 2 (2979823)

ต้องเป็นกรณีย้ายไปตั้งที่ใหม่ซึ่งไม่เคยมีอยู่เดิม และที่ทำงานแห่งใหม่ลูกจ้างเดินทางไปทำงานลำบาก มีผลต่อการดำรงชีวิตปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว ซึ่งคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานจะเป็นผู้วินิจฉัยและมีคำสั่ง โดยสอบข้อเท็จจริงถึงระยะเวลาในการเดินทางไปทำงาน ค่าใช้จ่ายในการเดินทางว่ามันแตกต่างจากเดิมมากน้อยอย่างไร

ผู้แสดงความคิดเห็น แอ วันที่ตอบ 2009-03-05 14:36:11


ความคิดเห็นที่ 3 (2979881)

มีเหตุต้องพิจารณาว่า

1.การย้ายสถานประกอบการของนายจ้างไปนั้น ต้องเป็นการปิดสำนักงานเดิมและไปเปิดสำนักงานในที่ใหม่หรือไม่ หรือ นายจ้างมีสาขาอยู่แล้วและจะย้ายพนักงานไปที่สาขานั้น ในกรณีนี้ก็ไม่เข้าข่ายมาตรา 120 ลูกจ้างก็คงต้องย้ายตามไป

2. หากปิดสำนักงานไปสร้างหรือเช่าสำนักงานที่ใหม่ เช่นนี้ก็สามารถพิจารณาว่าเข้าข่ายมาตรา 120 แต่ต้องพิจารณาอีกว่า มีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตของลูกจ้างและครอบครัวหรือไม่ หากมีผลกระทบสำคัญเช่นต้องเดินทางลำบากขึ้น ตื่นเช้ามากขึ้น มีเวลาให้ครอบครัวน้อยลง

หากเข้าข้อที่สอง คุณก็สามารถบอกเลิกสัญญาจ้างกับนายจ้างได้ โดยนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าชดเชยพิเศษให้คุณตามกฎหมาย หากแจ้งบอกเลิกสัญญาตามมาตรานี้แล้วนายจ้างยังเพิกเฉย คุณก็สามารถไปร้องต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานให้วินิจฉัยให้ว่า เข้าข่ายตามมาตรา 120 หรือไม่ แต่ระหว่างนั้นคุณยังคงต้องไปทำงานตามปกติอยู่ จนกว่าจะมีคำวินิจฉัยออกมา

หากคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานสั่งให้จ่ายเงินแต่นายจ้างไม่พอใจคำวินิจฉัย ก็สามารถไปร้องศาลภายใน 30 วัน ที่จะขอเพิกถอน ซึ่งคงต้องใช้เวลาพอสมควร

ก็คิดว่าน่าจะได้เพราะจากปากเกร็ด หรืออนุสาวรีย์ไปอ่อนนุชก็ค่อนข้างลำบากพอสมควร

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2009-03-05 16:46:02



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.