ReadyPlanet.com


ค่าเบี้ยเลี้ยงหรือperdiumของแอร์


คือว่ามีคดีฟ้องร้องบริษัท(สายการบินเอกชน)ค่ะ ศาลนัดไกล่เกลี่ยรอบแรก บริษัทให้ออกจากงานที่ทำมา10ปีจ่ายค่าชดเชยแค่ฐานเงินเดือน เราขอให้เอาเบี้ยเลี้ยงไปคำนวนรวมกับเงินเดือนเพราะถือเป็นค่าจ้างด้วย เพราะศาลฎีกาปี49เคยตัดสินให้แอร์สายการบินแห่งนึงชนะ โดยให้นับเป็นค่าจ้างที่ต้องเอาไปรวมกับเงินเดือนคูณด้วย10เดือน เราเห็นฎีกานี้ก็เลยคิดว่าสู้ดีกว่า เพราะถ้าอาชีพนี้ไม่จ่ายperdiumหรือเบี้ยเลี้ยงสูงๆจ่ายแค่เงินเดือนต่ำๆใครจะทำ ทั้งเหนื่อยและเสี่ยงขนาดนี้ อีกอย่างฎีกานี้ตัดสินคนอาชีพเดียวกัน เป็นสายการบินเหมือนกัน ฟ้องเรื่องเดียวกันเลย น่าจะมีโอกาสชนะเหมือนกัน แต่ตอนไกล่เกลี่ยที่ศาล ศาลพูดแล้วใจเสียเลย ท่านว่าอย่าฟ้องเลย ตกลงคนละครึ่งทางดีกว่า ไม่งั้นอาจนานอาจแพ้ไม่ได้อะไรเลย ถึงมีฎีกาเก่าก็ไม่แน่ว่าจะตัดสินเหมือนกัน ทำเอาเราอยากตายจริงๆ เพราะรู้สึกเหมือนช่วยฝ่ายนายจ้างมากกว่า ทำงัยดีคะเนี่ย 



ผู้ตั้งกระทู้ แอร์อาภัพ :: วันที่ลงประกาศ 2009-08-15 15:52:30


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3041586)

สู้ต่อไปครับ

เป็นปกติธรรมดาของคดีแรงงานนัดแรก ที่ศาลพยายาม(อย่างที่สุด) ที่จะให้คู่ความประนีประนอมยอมความกัน และทำสัญญายอมในวันนั้น

อย่างไรก็ตาม หากคุณเห็นว่าควรที่จะนำเบี้ยเลี้ยงไปรวมกับเงินเดือนเพื่อเป็นฐานคำนวณเงินค่าชดเชย และอื่นๆ รวมทั้งมีฎีกาที่เคยตัดสินไว้ด้วยแล้ว ก็สู้ตามแนวฎีกาเลยครับ ให้มันเป็นอีกสักฎีกาเลย  (อันนี้ก็ต้องอยู่ที่ทนายความอีก)

อย่าไปสนใจนัดแรกเลยครับ มันเป็นเหมือนไฟท์บังคับของศาลแรงงานอยู่แล้ว 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น guru วันที่ตอบ 2009-08-18 21:46:22


ความคิดเห็นที่ 2 (3041636)

คำพิพากษาศาลฎีกาแต่ละฎีกา นั้น แม้ดูว่าจะคล้ายกันแต่หากข้อเท็จจริงต่างกันแม้เพียงเล็กน้อยแต่มีนัยสำคัญ คำพิพากษาก็อาจแตกต่างกันไปได้ ศาลแรงงานนั้น ค่อนข้างจะเห็นใจลูกจ้าง เพราะเป็นฝ่ายเสียเปรียบนายจ้าง ซึ่งการไกล่เกลี่ยนั้น มาจากการที่ดูสำนวนที่ฟ้อง คำให้การจำเลย หากเห็นว่าลูกจ้างมีโอกาสเสียเปรียบมากกว่าได้เปรียบ ก็จะช่วยประนีประนอมให้ลูกจ้างยอมรับ ดีกว่าสู้ไปแล้วไม่ได้อะไรเลย เสียทั้งเวลาและเงินทองของลูกจ้างเอง ที่ต้องมาศาล

หากนายจ้างเป็นฝ่ายเสียเปรียบก็จะพูดกับนายจ้างเช่นนี้เหมือนกัน ซึ่งการไกล่เกลี่ยนี้เป็นข้อกฎหมายที่ศาลต้องปฏิบัติ

อย่าตกใจ ทุกอย่างขึ้นกับคู่ความที่จะตกลงกัน ศาลเข้าไปแทรกแซงไม่ได้ เพียงแต่ชี้แนะให้เท่านั้น หากคู่ความมีความประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ศาลก็จะทำตามความประสงค์ให้

แม้กระทั่งการสืบพยานเสร็จทั้งสองฝ่าย ศาลก็ยังไกล่เกลี่ยคู่ความให้ตกลงกันได้ เมื่อถึงขณะนั้นแล้วคู่ความก็สามารถรู้ได้ว่า ตนเองอาจชนะหรือแพ้

หากฝ่าใดชนะความ อีกฝ่ายหนึ่งก็สามารถอุทธรณ์ ไปที่ศาลฎีกา ก็จะใช้เวลาเป็นปี กว่าคำพิพากษาศาลฎีกา จะตกมา รวมเวลาก็กว่า 2 ปี

ก็ต้องพิจารณาข้อดีข้อเสียให้ดี 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2009-08-19 08:25:01


ความคิดเห็นที่ 3 (4057477)

 อยากสอบถามเรื่องการจองโปรโมชั่นตั๋วเครื่องบินไปประเทศญี่ปุ่นว่ามีของสายการบินอะไรบ้างคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น utakamo วันที่ตอบ 2016-08-10 10:53:13



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.