ReadyPlanet.com


การลากิจ -- วัตถุประสงค์


นายจ้างเพิ่งจะกำหนดเงื่อนไขว่า "การลากิจ" ต้องเป็นการลาไปเพื่อติดต่อกับส่วนงานราชการ ในเวลาราชการเท่านั้น และห้ามลาติดต่อกัน แต่ไม่ได้ระบุว่าหักเงินเดือน โดยส่วนตัวมองว่า "การลาิกิจ" ไม่ควรจำกัดอยู่แค่การลาไปเพื่อติดต่อกับส่วนงานราชการ ในเวลาราชการเท่านั้น และในกรณีที่ต้องลาไปเพื่อกิจธุระต่างจังหวัดอาจจำเป็นต้องลาติดต่อกันมากกว่า 1 วัน รบกวนให้ความกระจ่างด้วยครับ


ผู้ตั้งกระทู้ zaxx :: วันที่ลงประกาศ 2009-03-12 19:34:37


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2982566)
การลากิจกฎหมายบอกว่า นายจ้างเป็นผู้กำหนด ทั้งวิธีการและเงื่อนไข ดังนั้นากนายจ้างกำหนดว่าลาอะไรได้ จ่ายเงินหรือไม่ นายจ้างก็สามารถทำได้ ไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งลูกจ้างคงต้องปฏิบัติตาม
ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2009-03-12 21:03:05


ความคิดเห็นที่ 2 (2983636)
หมายความว่า หากลาไปติดต่อกับหน่วยราชการจริงก็ต้องกลับมาถึงออฟฟิศไม่เกิน 16:30 ด้วยเหรอครับ ทั้งที่หน่วยราชการอาจจะเพิ่งออกเอกสารให้เราเสร็จตอน 16:30 ถ้าเวลาเดินทางจากหน่วยราชการมาที่ออฟฟิศใช้เวลา 2 ชั่วโมง ก็หมายความว่าเราต้องขาดงาน 2 ชั่วโมงน่ะสิครับ ดูแล้วไม่ค่อยเป็นธรรมเลย นายจ้างจะตั้งเงื่อนไขการลากิจที่ไม่เป็นธรรมอย่างไรก็ได้หรือครับ? จะหักเงินก็หักไป แต่การตั้งเงื่อนไขเพื่อไม่ให้ลากิจทางอ้อมแบบนี้ดูเอาเปรียบมากจริงๆ สงสัยคงอยากให้พนักงานโกหกแล้วลาป่วยแทน
ผู้แสดงความคิดเห็น zaxx วันที่ตอบ 2009-03-16 11:25:01


ความคิดเห็นที่ 3 (2983901)
บางครั้งเราก็มองว่าสิ่งที่นายจ้างออกประกาศมานั้นไม่เป็นธรรม แต่กฎหมายระบุเรื่องของการลากิจไว้ชัดเจนว่าเป็นสิทธิของนายจ้างที่จะกำหนดไว้อย่างไรก็ได้ ส่วนการไม่จ่ายค่าจ้างในวันที่ลากิจ เป็นวัน เป็นชั่วโมง ก็สามารถทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ลูกจ้างหลายรายก็ใช้วิธีลาป่วยแทนการลากิจ แต่หากนายจ้างจับได้ว่าเป็นการลาป่วยอันเป็นเท็จ ก็อาจถูกเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้ ลูกจ้างคงทำอะไรมากกว่านี้ไม่ได้ เพราะนายจ้างปฎิบัติตามกฎหมายแล้ว
ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2009-03-16 20:43:50



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.