ReadyPlanet.com


การปรับลดเงินเดือนพนักงานให้ถูกต้องทำอย่างไร


ข้าพเจ้าเป็นฝ่ายบุคคลบริษัทฯ แห่งหนึ่ง อยากรู้เกี่ยวกับการปรับลดเงินเดือน  กรณีพนักงาน ตำแหน่ง  ผู้จัดการ และรองผู้จัดการสาขาขาดงานไป เป็นเวลา 3 วันติดกันขึ้นไป  โดยที่ไม่แจ้งให้ทราบ  บริษัทฯ ติดต่อพนักงานไม่ได้  พอติดต่อได้  พนักงานกลับมาทำงาน ทางบริษัทฯ อยากให้โอกาสพนักงานอีกครั้ง  ให้กลับมาทำงาน แต่ลดตำแหน่งลงเป็นระดับพนักงานธรรมดา และจะสามารถลดเงินเดือนพนักงานด้วยได้หรือไม่  กฎมายบอกว่าห้ามลดเงินเดือน  แต่พนักงานกระทำความผิดร้ายแรง และบริษัทฯ ให้โอกาสกลับมาทำงาน แต่ต้องมีการลงโทษด้วย  การลดเงินเดือนจะลดไปสักระยะเวลาหนึ่ง แล้วจะให้เงินเดือนเดิม หลังจากที่พ้นโทษแล้ว  สามารถทำได้หรือไม่  และถ้าทำไม่ได้มีวิธีอื่นหรือไม่  ขอบคุณค่ะ  



ผู้ตั้งกระทู้ มีนา :: วันที่ลงประกาศ 2010-02-22 19:34:50


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3156931)

ไม่แน่ใจว่าตอนนี้อยู่ขั้นตอนไหนแล้ว !!! แต่ผมขอแสดงความเห็นไว้ดังนี้

1. วิธีที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับนายจ้าง... คือให้เลิกสัญญาจ้างเดิม แล้วเริ่มต้นสัญญาใหม่ ด้วยเงื่อนไขใหม่ ตามที่ตกลงกัน

2. วิธีที่ดีที่สุดสำหรับลูกจ้าง... ให้โอกาส เพียงออกใบเตือน หากทำผิดซ้ำอีก เลิกจ้างได้เลย เงื่อนไขการจ้างเหมือนเดิม หากพนักงานท่านนี้ เป็นคนดี มีเหตุจำเป็นจึงทำผิดพลาดไป ก็ควรให้โอกาส  เราจะได้หัวใจเขา (แต่ไม่ดีสำหรับการบริหาร เพราะ เป็นตัวอย่างไม่ดี)

3. วิธีที่ไม่ดีเลย สำหรับนายจ้าง คือ วิธีการที่คุณถามมา... อันตราย ไม่ดีทั้งระบบการบริหาร ผิดกฎหมาย เสียความรู้สึก เสียระบบการปกครอง ได้แต่ตัวไม่ได้ใจ (ตอนรักกันก็ดี.. แต่ตอนเลิกรัก ปัญหาเกิดแน่)

ผู้แสดงความคิดเห็น Lawman วันที่ตอบ 2010-02-22 23:31:06


ความคิดเห็นที่ 2 (3157248)

เมื่อพนักงานกลับมาทำงาน ได้มีการสอบถามพนักงานหรือไม่ ถึงสาเหตุที่ละทิ้งหน้าที่ไป สาเหตุที่ไม่ติดต่อบริษัท และพิจารณาว่าสาเหตุนั้นสมควรหรือไม่ ประกอบการพิจารณา

หากพิจารณาว่ามีเหตุสมควร การละทิ้งหน้าที่นั้น ก็ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง คงต้องพิจารณาการลงโทษทางวินัยสถานอื่น ตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท

แต่การลดตำแหน่ง ลดหน้าที่ การงานลงนั้น ไม่น่าจะเป็นทางออกที่ดี เพราะลดเงินเดือนพนักงานไม่ได้ ยกเว้นพนักงานจะลงนามยินยอม การลดตำแหน่งหน้าที่ แต่จ่ายเงินเดือนเท่าเดิม ก็ไม่น่าจะถูกต้องในการบริหารงานที่ดี ควรใช้ระบบมาตรการทางวินัยของบริษัท น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2010-02-24 08:28:12


ความคิดเห็นที่ 3 (3157576)

สาเหตุต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น  มีสาเหตุที่ 1 ปัญหาการทำงานกับผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นคนต่างชาติ  เนื่องจากการทำงานไม่ได้ตามมาตรฐาน แล้วพนักงานก็ท้อไม่อยากสู้กับงานต่อ  เลยตัดสินใจอยากจะไปจากบริษัทฯ  เพราะคิดว่าตัวเองไม่มีความสามารถพอ   สาเหตุที่ 2  มีเรื่องทะเลาะ กับผู้บังคับบัญชาต่างชาติ เช่น แสดงอารมณ์ไม่ดีใส่กัน แล้วทนกับอารมณ์ผู้บังคับบัญชาไม่ได้  เลยขาดงานหายไปเลย ไม่อยากทำงานแล้ว   สาเหตุที่ 3  มีปัญหาเรื่องส่วนตัว  ไม่สบายใจเลยไม่มาทำงาน   สาเหตุที่ 4 กรณีที่พนักงานติดสุรา จนขาดประสิทธิภาพในการทำงาน  ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้  บริษัทฯ ให้โอกาสไปบำบัด โดยให้ใช้สิทธิวันลาป่วย และวันหยุดพักร้อน  พอกลับมาทำงาน บริษัทฯ ได้ให้โทษด้วยการลดตำแหน่งลง และลดเงินเดือนด้วย

ในกรณีที่บริษัทฯ  จ่ายเงินเดือนพนักงานโดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน  คือ  เงินเดือน  เงินประจำตำแหน่ง   ถ้าบริษัทฯจะลด  สามารถลดเงินประจำตำแหน่ง ได้หรือไม่  แต่ไม่ลดเงินเดือน

ผู้แสดงความคิดเห็น มีนา วันที่ตอบ 2010-02-25 00:15:57


ความคิดเห็นที่ 4 (3157622)

การลดตำแหน่ง ลดเงินเดือน ไม่ใช่ทางที่จะแก้ปัญหา ก่อนอื่นคงต้องถามความสมัครใจของพนักงานผู้นั้นว่า ยังต้องการทำงานกับบริษัทต่อไปหรือไม่

หากต้องการที่จะทำงานต่อ ทำอย่างไรจึงจะทำให้พนักงานผู้นั้นกลับไปมีศักยภาพคงเดิม มีขวัญกำลังใจที่ดีขึ้น คุณก็จะได้ผู้ที่มีความสามารถกลับคืนมา

แต่หากคิดว่าตนเองไม่ต้องการทำงานต่อ ยอมแพ้ การที่จะลดเงนิเดือน ลดตำแหน่ง ไม่ได้เป้นการที่จะทำให้สถานะการณ์ดีขึ้น คงต้องให้ออกไป จะเป็นการดีทีสุด สำหรับพนักงานผู้นั้นและบริษัท

ถามว่า หากลดเงินเดือนไม่ได้ ลดเงินประจำตำแหน่งได้หรือไม่ เงินประจำตำแหน่ง ศาลฎีกา พิพากษาว่าเป็นค่าจ้าง ดังนั้นการลดค่าจ้างคงเป็นไปไม่ได้   ตามฎีกาที่ 5024/2548

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2010-02-25 08:08:03


ความคิดเห็นที่ 5 (3270539)

วิกฤษน้ำท่วมทำยอดขายลดลง 50 % แถมส่งของไปแล้วยังเก็บเงินไม่ค่อยได้ด้วย ถ้าบริษัทจะปรับลดเงินเงินเดือนพนักงานลง 5 % ได้หรือไม่ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น บุคคล วันที่ตอบ 2011-12-08 09:02:40


ความคิดเห็นที่ 6 (3733152)

ขอถามครับ

หากพนักงานไม่ได้กระทำความผิด  แต่รายรับของบริษัทได้น้อย

แล้วจะลดเงินเดือนพนักงาน ผิดกฏหมายคุ้มครองแรงตาม มาตราไหนครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น พนักงานรายได้น้อย วันที่ตอบ 2014-11-10 17:17:00



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.