ReadyPlanet.com


พนักงานโทรมาแจ้งลาออก แต่ไม่เขียนใบลาออก


พนักงานทำงานกับบริษัทฯ มาเป็นเวลา 2 ปี แล้ว  ต่อมาพนักงานทำความผิด ทะเลาะวิวาทกันขณะทำงาน ทางบริษัทฯ จึงย้ายพนักงานท่านนี้ไปที่สาขาอื่น ที่อยู่ใกล้เคียงกับสาขาเดิม  พนักงานไปสาขาที่ย้ายไปได้วันเดียว ก็ไม่มาทำงาน และโทรมาแจ้งกับผู้จัดการว่าลาออก แต่ก็ไม่มาเขียนใบลาออก ตั้งแต่วันที่ 8 มี.ค. 53 ทางบริษัทฯ จะต้องทำหนังสือแจ้งพนักงานให้พ้นสภาพจากการเป็นพนักงานหรือไม่  ถ้าต้องทำจะใส่เหตุผลว่า ละทิ้งหน้าที่เกิน 3 วัน หรือใส่เหตุผลอะไร และต้องลงวันที่พ้นสภาพเป็นที่เท่าไร  ขอคำปรึกษาด้วยค่ะ ไม่แน่ใจว่าทำอย่างไรจึงจะถูกต้องและไม่เป็นปัญหาตามมาในภายหลัง



ผู้ตั้งกระทู้ บุคคลมือใหม่ :: วันที่ลงประกาศ 2010-03-13 10:49:20


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3162536)

การโทรมาแจ้งการลาออกกับนายจ้าง ถือว่าได้แสดงเจตจำนงค์ในการขอลาออกแล้ว และก็มีผลทันที แต่เพื่อความแน่ใจควรโทรกลับไปตรวจสอบขอคำยืนยันอีกครั้งหนึ่ง โดยอาจมีพยานรับทราบด้วย พร้อมกับบันทึกไว้

หรือจะทำเป็นหนังสือลงทะเบียบตอบรับไปที่ภูมิลำเนาของลูกจ้างแจ้งให้มาติดต่อภายในวันที่กำหนด หากไม่มาติดต่อถือว่าไม่ประสงค์จะทำงานกับบริษัท อีก ก็จะเป็นหลักฐานว่า เป็นความประสงค์ของลูกจ้างที่จะไม่ต้องการทำงานกับบริษัท อีกต่อไป

คัดชื่ออกจากการเป็นพนักงานได้ คงไม่ต้องถึงกับทำหนังสือเลิกจ้าง

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2010-03-15 08:42:31


ความคิดเห็นที่ 2 (3162748)

ในทางกลับกัน ถ้าพนักงานขาดงาน 3 วันติดต่อกัน โดยไม่แจ้งให้ทราบ ไม่โทรมาลาออก หายไปเฉย ๆ  จะต้องทำหนังสือให้พนักงานมาติดต่อภายในวันที่กำหนด  หรือทำหนังสือเลิกจ้างคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น บุคคลมือใหม่ วันที่ตอบ 2010-03-15 23:09:09


ความคิดเห็นที่ 3 (3162814)

ควรทำหนังสือให้มาติดต่อ เพราะเคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่เมื่อพนักงานหายไป ประมาณ 7 วัน บริษัท ปลดออกจากการเป็นพนักงาน ปรากฎว่าวันที่ 8 พนักงานกลับมารายงานตัว บริษัท แจ้งว่าเลิกจ้างไปแล้ว ตามมาตรา 119(5)  เป็นเรื่องร้ายแรง แต่ลูกจ้างอ้างว่า ไปถูกจับกุมที่ต่างจังหวัดไม่สามารถติดต่อใครได้ และได้รับการปล่อยตัวกลับมา วินิฉัยว่า การขาดงานนั้น แม้เกินกว่า 3 วันทำงาน แต่ก็มีเหตุอันควร เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย 

เพื่อตัดปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นการที่พนักงานไม่ต้องการทำงานกับบริษัท เอง จะดีกว่าที่บริษัท เลิกจ้าง เพื่อเป็นการตัดปัญหาทั้งปวงที่อาจเกิดขึ้น แต่หากคุณมีหลักฐานแน่ชัดว่าพนักงานละทิ้งหน้าที่จริง อยู่บ้านแต่ไม่มาทำงาน เช่นนี้ก็สามารถทำหนังสือเลิกจ้างไปได้เลย โดยไม่ต้องมีกังวล  

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2010-03-16 10:00:53



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.