ReadyPlanet.com


ปรึกษากรณีถูกเลิกจ้าง


 เรียน อาจารย์ที่เคารพ

กระผมมีเรื่องขอปรึกษาครับ เนื่องด้วยบริษัทแจ้งหนังสือเลิกจ้าง โดยอ้างว่า บันทึกเวลาเข้าออกงานเท็จ อันเป็นเหตุให้ได้รับค่าล่วงเวลาและค่าทำงานวันหยุดโดยมิชอบมีผลเลิกจ้างโดยทันที โดยไม่มีการบอกกล่าวล่วงหน้าและจ่ายค่าชดเชย

แม้บริษัท จะมีระเบียบเกี่ยวกับระยะเวลาการทำงานตั้งแต่เวลา 7.30-16.30 น. แต่บริษัทฯ ไม่เคยออกระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการ บันทึกเวลาเข้าออกในการทำงานเลย และลักษณะงานเองไม่จำเป็นต้องเข้าไปสำนักงานเพราะต้องรับผิดชอบงานภายนอกสำนักงาน เช่นตรวจงานก่อสร้าง หรือ ออกไปดูงานทำสวน กับคนดูแลสวน หรือก่อนกลับบ้าน ตามเวลาที่ขอค่าล่วงเวลา โดย บริษัทฯ ได้อ้างว่าใช้เวลาที่บันทึกประตูออก เทียบกับเวลาที่เขียนขอค่าล่วงเวลาไม่ตรงกัน อ้างว่าผมมีความผิดร้ายแรงเจตนานาลงเวลาเอาเงินค่าล่วงเวลา และขอเลิกจ้างโดยทันที โดยไม่มีการสอบสวนก่อน หรือแจ้งเตือน แต่อย่างใด โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าหรือจ่ายค่าชดเชยแต่อย่างใด

บางครั้งผมอาจจะกลับก่อนล่วงเวลาที่เขียนไว้ด้วยเหตุผลอะไรหรือไม่นั้น บริษัทฯ ก็น่าจะแจ้งให้ทราบว่าไม่จ่าย หรือสอบถามว่าเกิดอะไรขึ้นก่อนที่บริษัทจะจ่ายเงินค่าล่วงเวลาทุกครั้ง ผมกับพนักงานทั้งบริษัทฯ ก็ไม่เคยรู้มาก่อนว่าบริษัทใช้เวลาแตะบัตรเปิดประตูเข้าออกสำนักงานเป็นบันทึกเวลาทำงาน หากทราบมาก่อนคงไม่ไปทำอย่างอื่นก่อนคงต้องรีบไปแตะบัตรก่อนทุกครั้งก่อนไปทำงานอย่างอื่นหรือก่อนกลับบ้าน

อยากสอบถามดังนี้ครับ

1.      1. ความผิดมันร้ายแรงถึงขั้นเลิกจ้าง โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าและจ่ายค่าชดเชย เลยหรือครับ

2.      2. ทำเรื่องฟ้องศาลขอค่าบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย ค่าเสียหาย ได้ไหมครับและโอกาสที่จะได้มีมากน้อยเพียงใดครับ

 



ผู้ตั้งกระทู้ SUK :: วันที่ลงประกาศ 2014-10-06 10:43:01


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3717481)

การบันทึกเวลาเข้าออกของนายจ้าง  เป็นมาตราการควบคุมการรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สิน การควบคุมเวลาทำงานของพนักงาน การคิดเงินค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด โดยใช้เวลาในการบันทึกเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุดและการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด 

การที่ได้รับเงินค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด โดยท่านไม่ได้ทำงาน ท่านควรทักท้วงว่าที่ไม่มีสิทธิได้รับเงินนั้นและคืนเงินกลับคืนให้แก่บริษัทไป หากไม่คืนก็ถือว่าเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นความผิดร้ายแรง นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้ตามมาตรา 119

ท่านสามารถฟ้องศาลแรงงานได้แต่ท่านจะชนะหรือไม่ก็อีกเรื่องหนึ่ง 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2014-10-06 15:48:24


ความคิดเห็นที่ 2 (3753800)

 และหากพนักงานที่ระบุชัดเจนว่าไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา มีการรายงานการบันทึกเวลาที่เป็นเท็จ ถือว่าเป็ความผิดทางวินัยที่ร้ายแรงถึงขั้นเลิกจ้างได้หรือไม่?

ผู้แสดงความคิดเห็น Parichat วันที่ตอบ 2014-12-28 00:33:34



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.