ReadyPlanet.com


ขอคำปรึกษากรณีบริษัทบอกเลิกจ้าง


ตัวแทนบริษัท (ผู้จัดการ) แจ้งเลิกจ้างทางวาจา  โดยไม่ได้ระบุเหตุผล

ใน วันที่ 4 กันยายน 2550  และให้สิ้นสุดวันทำงานในวันที่ 30 ก.ย. 2550

 

ลูกจ้างยังไม่เคยมีพฤติกรรมต้องถูกตักเตือนใดใด ไม่ว่าทางวาจาหรือหนังสือ

 

ลูกจ้างเข้าเป็นพนักงานตั้งแต่ วันที่ 11 พ.ย. 2549 ถึง ปัจจุบัน (รวมเวลา 11 เดือน)

โดยไม่ได้ทำหนังสือสัญญา ระบุระยะเวลาจ้างงาน แต่มีหนังสือรับรองรายได้ แจ้งการอัตราเงินเดือนที่จ้าง

และจ่ายค่าจ้างโดยโอนผ่านบัญชีธนาคาร ทุกวันที่ 25 ของเดือน

 

ส่วนรายได้ประจำอื่นๆ ที่มี สวัสดิการค่าอาหารคิดให้เฉพาะในวันทำงาน  ค่าเช่าบ้าน (รวมเดือนละประมาณ 2,500 บาท) จะได้รับเป็นเงินสดใส่ซอง และให้เซ็นรับในแต่ละเดือน

 

 

 

ขอสอบถามดังนี้ค่ะ

 

- กรณีนี้ ถือว่าลูกจ้างไม่มีความผิด จะสามารถจะได้เงินชดเชยจากอะไรบ้างค่ะ

 

และถ้าได้รับเงินชดเชย

- จะต้องถูกหักค่าอะไรบ้างหรือไม่ อาทิประกันสังคม (ลูกจ้างไม่มีภาระหนี้สินกับบริษัท)

- เงินรายได้เดือนสุดท้าย และเงินชดเชยจะจ่ายเมื่อไหร่

- บริษัทไม่ได้ทำบันทึกข้อตกลงเลิกจ้าง ลูกจ้างจำเป็นต้องเรียกร้องให้ทำไว้ใช่ไหมค่ะ

 

คำถามเพิ่มเติม

- ในระยะเวลา 3 เดือนแรก ที่เข้าทดลองงาน บริษัทไม่ได้นำส่งเงินประกันสังคม โดยแจ้งให้ทราบในเดือนที่ 2 ว่า เป็นนโยบายบริษัทที่จะนำส่งเมื่อลูกจ้างผ่านการทดลองงานแล้ว ต่อมาเมื่อผ่านทดลองงานลูกจ้างแจ้งความจำนงให้ส่งประกันย้อนหลังแต่บริษัทก็ไม่ดำเนินการให้ ตรงนี้ลูกจ้างจะเสียสิทธิ์อะไรบ้างคะ

 

- ก่อนหน้าบอกเลิกจ้าง บริษัทได้โยกย้ายลูกจ้างสลับสถานที่ปฏิบัติงานไปมา  ถึง 3 ครั้งแล้วค่ะ ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามข้อตกลงที่คุยกันไว้ในครั้งแรกเลย  ช่องเวลาระหว่างเริ่มทำงานในสถานที่ใหม่ จึงไม่ใกล้พื้นที่โรงพยาบาลที่เลือกไว้ประกันสังคม และไม่มี รพ. หรือคลีนิคในเครือ ทำให้ลูกจ้างต้องจ่ายเงินค่ารักษาเอง สามารถเบิกคืนได้ไหมค่ะ

 

ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ Mon :: วันที่ลงประกาศ 2007-09-05 11:24:36


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1149084)

ได้รับค่าชดเชยจากฐานค่าจ้าง อาจรวมจากฐานค่าเช่าบ้านด้วย ค่าชดเชยหากไม่เกิน 300,000 บาท ได้รับยกเว้น ไม่นำมาเป็นฐานในการคำนวณภาษีเงินได้

 ค่าชดเชยจะได้รับในวันเลิกจ้าง ค่าจ้างเดือนสุดท้ายได้รับใน 3 วัน นับแต่วันเลิกจ้าง

หากข้อเท็จจริงฟังว่าเลิกจ้าง แม้ไม่ทำเป็นหนังสือก็มีผลโดยชอบเช่นกัน

การไม่แจ้งเข้าประกันสังคมนับแต่ลูกจ้างเริ่มทำงานเป็นความรับผิดของนายจ้างลูกจ้างอาจเสียสิทธิจากประกันสังคมได้เช่นกัน

การไม่ได้ใช้สิทธิประกันสังคมในโรงพยาบาลตามสิทธิจะเบิกได้หรือไม่ เพียงใด มีหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว การเสียสิทธิในการรักษาในสถานพยาบาลตามสิทธิเป็นเพราะนายจ้างย้ายสถานที่ทำงาน นายจ้างอาจต้องรับผิดในความเสียหายที่ลูกจ้างได้รับ

ผู้แสดงความคิดเห็น webmaster วันที่ตอบ 2007-09-07 21:48:22


ความคิดเห็นที่ 2 (1166870)

ขอบพระคุณมากค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น Mon วันที่ตอบ 2007-09-24 16:00:27



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.