ReadyPlanet.com


สั่งย้ายลูกจ้างจากบริษัทหนึ่งไปอีกบริษัทหนึ่งที่อยู่ในเครือ


สั่งย้ายนาย ก อายุงาน 3 ปีกว่าจากบริษัทหนึ่งตามที่สัญญาจ้างระบุไว้(ที่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพ)ให้ไปประจำอีกบริษัทหนึ่งที่อยู่ในเครือ (จ. ชลบุรี) ซึ่งเป็นคนละนิติบุคคลกัน (โดยปกตินาย ก ก็ไปทำงานเป็นบางคร้งที่ จ. ชลบุรีตามคำสั่งของนายจ้าง)  แต่ในสัญญาจ้างระบุว่านายจ้างมีสิทธิย้ายนาย ก ให้ไปทำงานกับบริษัทในกลุ่มเดียวกันได้ แต่ในสัญญาไม่ได้ระบุชัดเจนว่าเป็นบริษัทอะไรบ้าง เนื่องจากบริษัทมีหลายบริษัทในกรณีนี้นายจ้างไม่ได้ลดค่าจ้างหรือตำแหน่งของนาย ก ลง ในขณะเดียวกัน บริษัทที่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพก็จ้างพนักงานในตำแหน่งที่สูงกว่านาย ก โดยให้ทำหน้าที่คล้ายคลึงกัน นายจ้างจึงเห็นควรให้ย้ายนาย ก ให้ไปทำงานที่บริษัทที่ตั้งอยู่ที่ จ. ชลบุรีดังกล่าวข้างต้น  นาย ก อ้างว่าครอบครัวและลูกอายุ 2 ขวบอยู่ที่กรุงเทพ ไม่ยินยอมจึงปฏิเสธไม่ไป ยืนยันว่าจะขอทำงานที่กรุงเทพ

คำถาม - กรณีนี้ถือว่านาย ก ขัดคำสั่งของนายจ้างหรือไม่ นาย ก จะอ้างได้หรือไม่ว่านายจ้างกลั่นแกล้งเพราะจ้างพนักงานอีกคนมาทำงานในหน้าที่ที่คล้ายกัน   และในกรณีนี้ถ้าจะเลิกจ้างนาย ก ได้หรือไม่ ถ้าเลิกจ้างมีความเสี่ยงอย่างไรบ้าง



ผู้ตั้งกระทู้ ลูกจ้างดื้อพูดไม่รู้เรื่อง :: วันที่ลงประกาศ 2007-09-12 23:57:28


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1154604)

สัญญาจ้างให้สิทธินายจ้างย้ายลูกจ้างไปทำงานยังบริษัทในเครือได้ การย้ายจึงเป็นไปโดยชอบด้วยสัญญา ไม่ถือเป็นการกลั่นแกล้ง แม้จะมีการจ้างลูกจ้างรายอื่นมาทำหน้าที่แทนก็ตาม ส่วนคำสั่งย้ายจะเป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงอื่นๆประกอบ

หากฟังว่า เป็นคำสั่งที่เป็นธรรม เมื่อลูกจ้างปฏิเสธจึงเป็นการขัดคำสั่ง นายจ้างอาจเลิกจ้างได้  แต่มิใช่กรณีร้ายแรง ลูกจ้างมิได้กระทำผิดซ้ำคำเตือน นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย

การเลิกจ้างมีเหตุผลตามสมควร อย่างน้อยก็ชอบด้วยสัญญา แม้จะมีความเสียงก็อยู่ในวิสัยที่รับได้

ผู้แสดงความคิดเห็น webmaster วันที่ตอบ 2007-09-13 20:27:15


ความคิดเห็นที่ 2 (1155266)
หลักกฎหมาย   สัญญาตกลงให้สิทธิ์นายจ้างย้ายลูกจ้างได้นั้น น่าพิจารณาข้อตกลงตามสัญญาเป็นกรณีย้ายได้ในบริษัทฯเดียวกัน กรณีบริษัทฯในเครื่อก็เป็นคนละนิติบุคคล(คนละบริษัทฯ คนละนายจ้าง)   และการที่เป็นคนละบริษัทฯ ย่อมมีสภาพการจ้างและสวัสดิการแตกต่างกันด้วย  ดังนี้น การจะย้ายไปบริษัทฯในเครือต้องได้รับความยินยอมตกลงกับลูกจ้าง   คำสั่งย้ายของนายจ้างจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย  ลูกจ้างไม่ปฏิบัตตามก็ไม่เป็นการไม่ขัดคำสั่ง  ลูกจ้างไม่ความผิด
ผู้แสดงความคิดเห็น นิติบริกร วันที่ตอบ 2007-09-14 12:26:33


ความคิดเห็นที่ 3 (1307364)

ระหว่าง Webmaster และ นิติบริกร ใครกล่าวได้ถูกต้องกันแน่ครับ แต่ว่าน่าจะเป็น นิติบริกรมากกว่า

ผู้แสดงความคิดเห็น โฮยา วันที่ตอบ 2007-12-09 14:17:17



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.