ReadyPlanet.com


นายจ้างมีสิทธิ์ไล่ออก เนื่องจากเหตุผลใดบ้าง


อยากทราบว่า อย่าง กรณี ที่นายจ้างไม่ชอบให้พนักงานสูบบุหรี แล้วมีพนักงานสูบในที่ทำงาน แล้วนายจ้างไล่พนักงานออก โดยที่ไม่จ่ายค่าชดเชย ใดๆ ทั้งสิ้น นายจ้างมีสิทธิ์ทำได้หรือไม่ค่ะ ไม่แน่ใจว่า นายจ้างมีสิทธิ์ไล่ออก แต่หากพนักงานไม่ยอมสามารถร้องเรียนเพื่อขอค่าชดเชยได้หรือไม่ ไม่แน่ใจว่า นายจ้างมีสิทธิ์ไล่ออกได้ แต่ถ้าลูกจ้างเห็นว่า เหตุผลของการไล่ออกไม่เพียงพออ่ะ ค่ะ ใครเป็นผู้ตัดสินใจว่าความผิดนั้นร้ายแรงแค่ไหนค่ะ นายจ้างเลย หรือว่า ศาล หรือใคร.. หรือนายจ้างมีสิทธิ์เพียงไล่ออกแต่ต้องจ่ายค่าชดเชยคะ



ผู้ตั้งกระทู้ ประชาชนคนหนึ่ง :: วันที่ลงประกาศ 2009-03-31 11:40:40


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2990262)

กรณี ความผิดที่นายจ้างสามารถให้ออกได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตาม พ.ร.บ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ 2541 มาตรา 119 เท่านั้นถ้านอกเหนือกรณีในมาตรา 119 แล้วยังงัยก็ต้องจ่ายครับ ถ้าคุณถูกเลิกจ้างจากเหตุที่กล่าวมา ก็ให้ไปดูเรื่องกฏข้อบังคับของบริษัท ว่าด้วยเรื่องความผิดร้ายแรงในระเบียบมีอะไรบ้างถ้าไม่มีระบุ ว่าพนักงานสูบบุหรี่ในที่ทำงานถือเป็นความผิดร้ายแรงก็ให้ไปร้องที่ กรมควบคุมสวัสดิการแรงงาน หรือ ศาลแรงงานกลาง ผมแนะนำให้ไปที่ กรมควบคุมสวัสดิการแรงงานของพื้นที่ที่คุณทำงานนะครับเร็วกว่าไปที่ศาลแรงงานกลาง และเขาจะช่วยเหกลือดีกว่าด้วยเพราะที่ศาลส่วนใหญ่จะให้ไกล่เกลี่ยและใช้เวลานานมาก ๆ เสียเวลามากในการสืบพยาน และพิจารณาตามกฏหมายบางที่อาจจะขัดความรู้สึก เราและกรณีของคุณผมว่าน่าจะมีสิทธิ นะครับไปร้องสิทธิของตัวเองได้ร้องค่าชดเชยได้ครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ทนายน้อย วันที่ตอบ 2009-03-31 13:10:24


ความคิดเห็นที่ 2 (2990290)

การไปร้องที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ในเขตที่นายจ้างตั้งอยู่นั้น ต้องใช้เวลาประมาณ 60 วัน เจ้าหน้าที่ตรวจแรงงาน จะมีคำสั่งออกมา หากนายจ้างไม่เห็นด้วย ก็สามารถอุทธรณ์ขอเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานตรวจแรงงานได้ และใช้เวลาอีกประมาณ 1-2 ปีหากมีผู้ไม่พอใจคำพิพากษาและอุทธรณ์ต่อไปที่ ศาลฎีกา

ทางที่เร็วกว่าคือไปที่ศาลแรงงาน จะมีขั้นตอนการไกล่เกลี่ยที่เร็วหากท่านผู้พิพากษาเห็นว่า ใครได้เปรียบเสียเปรียบ จากสำนวน ดังนั้นการไปที่ศาลได้เงินเร็วแต่ก็อาจไม่ได้เต็มตามจำนวน ก็เป็นได้ขึ้นกับความพอใจกันทั้งสองฝ่าย

ลูกจ้าง นายจ้าง ต่างฝ่ายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตลอดเวลา หากแต่การบอกเลิกสัญญานั้น ต้องมีภาระผูกพันเรื่องเงินตามกฎหมายหรือไม่เท่านั้น

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2009-03-31 14:13:24


ความคิดเห็นที่ 3 (3230691)

  เนื่องจากลูกจ้างของบริษัทผลิตยางกู๊ดเยียร์ กว่า 160 คน ถูกปลดออกจากงานโดยไม่ได้รับการแจ้งล่วงหน้าจากผู้บริหาร ลูกจ้างอีก บริษัทก็ได้รับความเดือดร้อนเพราะนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือน ลดเวลาการทำงานของลูกจ้าง ปรับเงินเดือนถึง 13 เปอร์เซ็น และไม่รับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน

  จากรณีดังกล่าวมีกฏหมายตัวใดคุ้มครองลูกจ้างบ้างค่ะ แล้วลูกจ้างสามารถเรียกร้องค่าชดเชยจากนายจ้างได้หรือไม่ อย่างไร
ผู้แสดงความคิดเห็น ทราย วันที่ตอบ 2010-12-28 09:16:08


ความคิดเห็นที่ 4 (4511317)

 โดนเลิกจ้างเพราะสูบบุหรี่บ่อยค่ะก่อนวันไปทำงานวันนึงให้หัวหน้าโทรมาแจ้งก่อนหน้าสมัครงานได้บอกกับเจ้านายว่าเราติดบุหรี่ขอสูบใช่ไหมนายจ้างไม่ได้ว่าอะไร แต่อยู่ดีๆก้โทรมาแจ้งให้ว่าไม่ต้องไปทำงานแล้ว และจะได้เงินที่ทำงานมากับวันหยุดเราสามารถเรียกร้องอะไรได้บ้าง พึ่งไปทำงานมาได้ 21 วันค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น opol วันที่ตอบ 2023-04-16 16:38:11



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.