ReadyPlanet.com


การลาพักผ่อนประจำปี กับการไม่อนุมัติของนายจ้าง


 สวัสดีค่ะ

ขอรบกวนประเด็นคำถามดังนี้ค่ะ

บริษัทได้มีกฎระเบียบว่าด้วยการลาพักผ่อนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 4 วันขึ้นไป ต้องได้รับความยินยอมจากประธานบริษัทก่อนเท่านั้น  จึงจะใช้สิทธิการลาได้ แต่ถ้าเป็นการลาที่น้อยกว่า 3 วันทำงาน ระดับหัวหน้าหน่วยสามารถอนุมัติได้ทันที

กรณีที่เกิดขึ้นคือ มีพนักงาน (รายเดือน) ระดับหัวหน้างาน ที่มีอายุงานมากกว่า 11 ปี ต้องการลาพักร้อนในช่วงปลายปี 5 วัน บวกกับวันหยุดปีใหม่ ซึ่งรวมกันแล้วประมาณ 10 วัน ได้ทำการขออนุญาติจากประธานบริษัท ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2558 เรื่องราวเงียบมาจนเมื่อวันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน จึงได้แจ้งว่าไม่อนุญาติ ด้วยเหตุผลที่ว่าไม่ต้องการให้พนักงานอื่น ๆ เอาเป็นแบบอย่าง แต่พนักงานคนดังกล่าวยืนยันที่จะลาตามที่ได้วางแผนไว้แล้ว ซึ่งก็ได้ทำตามระเบียบของบริษัท หลังจากนั้น บริษัทได้ออกกฎระเบียบเพิ่มเติมว่าการลาพักผ่อนประจำปีจะต้องไม่เกิน 4 วัน (รวมวันหยุดด้วย) ยกเว้นกรณีที่จำเป็นจริง ๆ

จากกรณีข้างต้น ขอเรียนปรึกษาดังนี้ค่ะ

1.  บริษัทสามารถยกเลิกการลาพักร้อนของพนักงาน แล้วใช้เป็นการขาดงานได้หรือไม่ หากพนักงานใช้สิทธิการลา

2.  ผลของการขาดงาน คือบริษัทสามารถหักค่าแรงในวันที่ขาดงาน และพิจารณาลงโทษตามวินัยได้หรือไม่

3.  หากบริษัทสามารถลงโทษทางวินัยในกรณีเช่นนี้ ควรจะมีขั้นตอนอย่างไร

3.  ก่อนหน้าที่พนักงานจะยื่นใบลา บริษัทยังไม่ได้มีกฎเกี่ยวกับจำนวนวันลา แต่มากำหนดในภายหลัง ระเบียบดังกล่าวจะนำมาเป็นข้ออ้างของบริษัทได้หรือไม่ว่า พนักงานฝ่าฝืนระเบียบปฏิบัติของบริษัท

4.  ระเบียบการกำหนดจำนวนวันลาพักผ่อนประจำปี ขัดกับ พรบ.คุ้มครองแรงงานหรือไม่

5.  จริงหรือไม่ที่ฝ่ายบุคคลกล่าวอ้างว่า บริษัทสามารถออกกฎระเบียบได้ตามที่ต้องการ และพนักงานต้องปฏิบัติตาม

ขอบพระคุณมากค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ ช่อทิพย์ ศิขาเมฆ :: วันที่ลงประกาศ 2015-11-18 14:00:57


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3903008)

1. หากนายจ้างไม่อนุมัติการลา หากพนักงานหยุดงานไปก็ถือว่าขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่ได้

2. ไม่มาทำงานก็ไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง เพราะละทิ้งหน้าที่ สามารถลงโทษทางวินัยได้ การไม่จ่ายค่าจ้างนั้นไม่ได้เป็นการลงโทษทางวินัยตามหลัก no work no pay

3. ขึ้นกับระเบียบข้อบังคับในการทำงานว่า ละทิ้งหน้าที่แล้วลงโทษอย่างไรแต่ลูกจ้างเข้าใจว่า ส่งใบลาตั้งแต่เดือนสิงหาคม และไม่มีการตอบว่าอนุญาตหรือไม่ ก็เข้าใจเอาเองว่า อนุมีติจึงเตียนการหยุดยาว

4. หากระเบียบมาทีหลังก็ไม่สามารถบังคับย้อนหลังได้ นั่นคงเฉพาะเรื่องลาติดต่อกันรวมวันหยุดด้วยไม่เกิน 4 วัน แต่ระเบียบการลานั้นต้องมีหลักเกณฑ์ว่า การลาหยุด พนักงานสามารถหยุดงานได้ต้องได้รับอนุมัติก่อน ถึงหยุดงานได้ หากไม่อนุมัติก็หยุดงานไม่ได้ แม้เพียงวันเดียว

5. กฎหมายบอกเพียงเรื่องของจำนวนวันหยุดขั้นต่ำต่อปี ส่วนเรื่องวิธีการเป็นเรื่องของนายจ้างครับ หากลูกจ้างไม่สามารถลาได้ นายจ้างก็ต้องจ่ายเงินทดแทนวันหยุดให้

6. การออกระเบียบใดๆ ต้องชอบด้วยกฎหมาย จึงถือว่าเป็นคำสั่งโดยชอบ หากระเบียบนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ถือว่าไม่มีผลใช้บังคับ ฝ่ายบุคคลควรที่จะออกระเบียบข้อบังคับ คำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เอาเปรียบพนักงาน และไม่ทำให้นายจ้างเสียเปรียบ  การออกกฎระเบียบต้องไม่ขัดแย้งกับของเก่า นอกจากจะดีกว่า ฝ่ายคุคคลควรสื่อสารให้พนักงานทราบถึงระเบียบที่ออกมาใหม่ๆ เพื่อความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างลูกจ้าง 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2015-11-21 21:46:45



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.