ReadyPlanet.com


เด็กน้อยสงสัย ขอรบกวนผู้ทราบช่วยตอบทีนะคะ


คือหนูยังไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องกฎหมายแรงงาน และอาจารย์ได้ให้เหตุการณ์สมมติมา ให้หนูวิเคราะห์ หนูจึงอยากได้ความกระจ่างให้ผู้รู้ช่วยตอบให้ทีนะคะ มี3 เหตุการณ์คะ

เหตุการณ์ที่1

นาย ก เป็นพนักงานการเงินอาวุโส ยักยอกเงินของบริษัท 85000 บาท คณะกรรมการสอบสวนมีมติให้เลิกจ้าง นาย ก โดยไม่จ่ายค่าชดเชย แต่มีวิธีการดำเนินการต่างกัน

     นาย ข  ให้เรียกนาย ก มาแจ้งการเลิกจ้างด้วยวาจา อ้างว่าหมดความจำเป็นที่จะจ้างไว้ต่อไป(เพื่อมิให้เรื่องราวอันทำให้บริษัทเสื่อมเสียชื่อเสียงดังกล่าวแพร่หลายไปยังลูกค้าและผู้เกี่ยวข้อง และเพื่อมิให้ นาย ก เสียประวิติการทำงานด้วย)

      นาย ค ให้ออกคำสั่งเลิกจ้างเป็นหนังสือ แต่อ้างเหตุ(ไปในทางไม่ให้ใครเสียหาย) ว่า นาย ก "มีพฤติกรรมไม่เป็นที่ไว้วางใจ"

     นาย ง ให้ออกหนังสือเลิกจ้าง อ้างเหตุว่า นาย ก ยักยอกเงินบริษัท 85000 บาท เป็นการกระทำผิดทางอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

การดำเนินการของใครที่สมควรสมเหตุสมผลหรอคะ?

เหตุการณที่2

นาย เอ เป็นพนักงานฝ่ายผลิต ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการลูกจ้าง (สำหรับโรงงาน 2ซึ่งตั้งอยู่ที่จังหวัดลำปาง) ได้2เดือน หัวหน้างานไปเยี่ยมที่บ้านพักและพบผลิตภัณฑ์ของบริษัทมูลค่า 2400 บาท ซึ่ง นาย เอ ยอมรับว่ายักยอกมาใช้ส่วนตัว  ผู้จัดการโรงงาน 2ทราบเรื่องก็ออกคำสั่งเลิกจ้างทันที

หลังจากถูกเลิกจ้างได้5เดือน นาย เอ หางานทำไม่ได้ จึงมีหนังสือถึงกรรมการผู้จัดการอ้างว่า การเลิกจ้างตนโดยไม่ขออนุญาตศาล เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายขอให้สั่งรับตนกลับเข้าทำงาน  มิฉะนั้นจะไปแจ้งความดำเนินคดีอาญาแก่บริษัท กรรมการผู้จักการและผู้จัดการโรงงาน 2 ทั้งจะฟ้องบุคคลทั้งสามต่อศาลแรงงานด้วย

เหตุการณ์นี้ใครผิดใครถูกหรอคะ หนูไม่ค่อยเข้าใจเลย?

เหตุการณ์ที่3

นาย ก เป็นพนักงงานต้อนรับ ป่วยเป็นไข้จังไปหาแพทย์ แพทย์ตรวจให้ยาและออกใบรับรองว่า"สมควรพักรักษาตัว 2 วัน" แต่ นาย ก ยังไม่อยากไปทำงานจึงหยุดต่ออีก 1วัน

วันรุ่งขึ้น นาย ก ไปทำงานและได้ยื่นใบลาป่วยกับใบรับรองแพทย์ที่แก้ไขตัวเลขเป็นว่า "สมควรพักรักษาตัว 3วัน"

คณะกรรมการดำเนินการทางวินัยให้ความเห็นแตกต่างกัน

คนที่1 : เป็นการแจ้งเท็จต่อนายจ้าง ผิดระเบียบการลา ให้ทำหนังสือตักเตือน

คนที่ 2 : เป็นการขาดงาน 1 วัน ผิดข้อบังคับเรื่องการมาทำงาน ให้ตัดค่าจ้าง

คนที่ 3 : เป็นการฉ้อโกงค่าจ้าง 1 วัน ให้เลิกจ้างโดยจ่ายค่าชดเชย

คนที่ 4 : เป็นการกระทำความผิดทางอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง ให้เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย

ความเห็นของคณะกรรมการคนไหนเหมาะสมหรอคะ หรือว่าถูกหมดทุกคน เพราะหนูก็คิดว่ามันถูกทุกคนเลยหนูยังไม่เข้าใจเรื่องกฎหมายเท่าไร

รบกวนผู้รู้ช่วยอธิบายให้เข้าใจในแต่ละสถานการณ์  แต่ละความเห็นในเหตุการณ์ทีนะคะ เพราะหนูเพิ่งเรียนกฎหมายเป็นวิชาเสริมจึงยังไม่ค่อยเข้าใจคะ  ขอบคุณมา ณ ที่นี้

เด็กน้อย

 

 

 

 

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ เด็กน้อย :: วันที่ลงประกาศ 2007-07-06 18:27:45


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1042962)

เหตุการณืที่ 1

นาย ง. ทำถูกที่สุดครับ  เพราะหากไม่มีการอ้างความผิดในการเลิกจ้าง ในภายหลังจะนำเหตุดังกล่าวมาอ้ามิได้

เหตุการที่ 2

การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้าง จะต้องขออนุญาตต่อศาลแรงงานก่อน จึงจะมีสิทธิทำได้ นายจ้างไม่อาจเลิกจ้างโดยลำพัง

เหตุการที่3

สามารถทำได้ทั้ง คนที่ 1 ถึงคนที่ 3 ส่วนคนที่ 4 นั้น ไม่มั่นใจว่าจะทำได้หรือไม่

 

ผู้แสดงความคิดเห็น เด็กกรุงเก่า วันที่ตอบ 2007-07-09 19:08:18


ความคิดเห็นที่ 2 (1043784)

กรณีเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง ( ในองค์กรเดิม ) แล้วจัดให้มีการทดลองงานในตำแหน่งใหม่ จำนวน 120 วัน ถ้าไม่ผ่านการทดลอง   เราต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่

( พนักงานคนนี้ทำงานมาแล้ว ประมาณ 442  วัน แต่งานที่รับผิดชอบไม่ค่อยเป็นที่น่าพอใจ  จึงหาตำแหน่งที่เหมาะสมให้ )

ผู้แสดงความคิดเห็น HR ฝึกหัด วันที่ตอบ 2007-07-10 11:11:08



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.