ReadyPlanet.com


การคุ้มครองสิทธิ์ของตนในการลาออกจากงาน


รบกวนสอบถามค่ะ คือตอนนี้ทำงานอยู่ที่บริษัทแห่งหนึ่งมาเป็นเวลา 3 เดือน ต้องการลาออกจากงานโดยแจ้งล่วงหน้า 1 เดือน (เท่ากับว่าทำงาน 4 เดือน) ก่อนที่จะทำงาน นายจ้างได้แจ้งเรื่องให้มีการเซ็นสัญญาจ้าง แต่จนถึงปัจจุบัน ก็ยังไม่ได้เซ็นสัญญา และไม่ได้รับสวัสดิการใดๆ นอกจากเงินเดือนประจำ 1X,XXX บาท ไม่หักภาษี ซึ่งได้รับไม่ตรงเวลา (เลยไปเป็น วันที่1 หรือ 2) จากการที่ศึกษามา การลาออกเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว (อันนี้เข้าใจถูกมั๊ยคะ) คือเมื่อลูกจ้างต้องการลาออก(โดยแจ้งล่วงหน้า) นายจ้างก็ไม่มีสิทธิไม่อนุมัติ

คำถามค่ะ

1.การแจ้งลาออกทาง E-mail ก่อน และนำจดหมายลาออกฉบับจริงยื่นให้ตามมา การแจ้งลาออกล่วงหน้า จะมีผลวันที่ส่ง E-mail  หรือจดหมายฉบับจริงคะ (เนื่องจากมีความจำเป็นที่จะต้องยื่นจดหมายในวันที่ 30 ซึ่งเป็นวันเสาร์(หยุดทำการ) เพื่อให้มีผลวันที่ 30 ของเดือนหน้า)

2.เนื่องจากเงินเดือนที่ออกไม่แน่นอน หากยื่นจดหมายวันที่ 30 เกรงว่าอาจมีผลต่อการจ่ายเงินเดือน ตรงนี้เรามีวิธีคุ้มกันตนเองอย่างไร และเรียกร้องค่าปรับหรือค่าเสียหายได้หรือไม่

3.เนื่องจากไม่ได้มีการเซ็นสัญญาจ้างงานดังรายละเอียดข้างต้น จึงอยากทราบว่า มีกฏหมายข้อใดคุ้มครองสิทธิส่วนนี้ และเราจะเรียกร้องสิทธิใดได้บ้าง ในกรณีที่นายจ้างจะไม่ยอมให้ลาออกจนกว่าจะหาคนมาแทนได้(แต่เราสะสางงานเสร็จสิ้น หรือพร้อมส่งต่องานให้คนใหม่อย่างครบถ้วนแล้ว)

รบกวนผู้รู้ช่วยตอบให้หน่อยนะคะ เพราะจะยื่นจดหมายวันเสาร์นี้แล้วค่ะ ขอบคุณค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ ลูกจ้างไม่มีสัญญา :: วันที่ลงประกาศ 2011-07-27 12:56:02


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3251732)

 ปล.ทำงานวันละ 10 ชม. (8.30-18.30) หยุด เสาร์-อาทิตย์ ไม่มีโอทีค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลูกจ้างไม่มีสัญญา วันที่ตอบ 2011-07-27 12:58:29


ความคิดเห็นที่ 2 (3251777)

คุณเข้าใจถูกครับ การลาออกเป็นการบอกเลิกนิติสัญญาฝ่ายเดียวและมีผลทันที อีกฝ่ายไม่สามารถบอกล้างได้ เมื่อนยื่นใบลาออกแล้วก็มีผล ไม่ต้องรอให้นายจ้างอนุมัติก่อน

1. การแจ้งการลาออกทาง electronic mail นั้น หากสามารถพิมพ์ออกมาได้ ตรวจสอบได้ชัดเจน ส่งไปแล้วไม่มีอุปสรรค ไม่ถูกตีกลับ ไม่ถูกยกเลิก และข้อความในอีเมล์ นั้นชัดเจน ถึงวันบอกเลิกสัญญา ถือได้ว่าเป้นการบอกเลิกสัญญาได้ครบถ้วนแล้ว

ทำไมต้องส่งวันเสาร์ กฎหมายเขียนว่า ไม่น้อยกว่า แสดงว่าส่งก่อนก้ได้ครับ ส่งล่วงหน้าสองเดือนยังไหวเลย ดังนั้นหากต้องการลาออกวันที่ 30 สิงหาคม ก็สามารส่งก่อนวันที่ 30 กรกฎาคม วันไหนก้ได้ครับ ระบถวันลาออกให้ชัดเจน ถือว่าใช้ได้

2. การยิ่นใบลาออกนั้นหาทำตามระเบียบ มีคนลงนามรับหนังสือเรียบร้อย ก็ไม่มีเหตุทำให้นายจ้างเสียหาย นายจ้างฟ้องร้องไม่ได้ ส่วนเงินเดือนก็ได้รับเต็มตามจำนวน

3. การว่าจ้างนั้นไม่จำเป็นต้องมีสัญญาจ้าง หากนายจ้าง ลูกจ้างตกลงกันว่าจะจ่ายค่าจ้างและจะทำงานให้ ประกอบกับได้มีการจ่ายค่าจ้างกันจริง มีสลิปเงินเดือน ถือว่ามีการจ้างงานเกิดขึ้นแล้ว หากคุณลาออกตามระเบียบ มีการบอกกล่าวล่วงหน้า นายจ้างไม่มีสิทธิที่จะไม่ให้คุรออก ไม่มีสิทธิหน่วงเหนี่ยวเงินเดือน เมื่อคุณยื่นใบลาออกตามระเบียบ นายจ้างก็ชอบที่จะหาคนมาทดแทนในทันที หากไม่สามารถหาคนได้ตามเวลาก็ไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องรับผิดชอบ นายจ้างต้องรับผิดชอบนั้นหากเกิดการล่าช้าจ้างคนไม่ได้

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-07-28 08:53:46


ความคิดเห็นที่ 3 (3251858)

 ขอบคุณมากๆ ค่ะ ^^ ทั้งคุณที่ปรึกษาและเว็บไซต์นี้ ที่ให้คำปรึกษาดีๆ ค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลูกจ้างไม่มีสัญญา วันที่ตอบ 2011-07-29 09:08:52


ความคิดเห็นที่ 4 (3293788)

 รบกวนสอบถามค่ะ  กรณีที่ทำงานกับบริษัทแห่งหนึ่ง ในสัญญาว่าจ้างระบุว่าดิฉันเป็นพนักงานตามสัญญาว่าจ้างอายุ1 ปี

1.สลิปเงินเดือนระบุสถานะว่าเป็นพนักงาน สัญญว่าจ้าง ถูกต้องกับสัญญาที่ดิฉันได้เขียนไว้กับบริษัท ต่อมาดิฉันจะทำธุรกรรมทางการเงินแต่ทางธนาคารแจ้งว่าดิฉันไม่ผ่านการพิจารณา เนื่องจากคุณอยู่ในสถานะ สัญญาว่าจ้าง หากดิฉันจะขอให้บริษัท เปลี่่ยนสถานะเป็นพนักงานปกติ ไม่ทราบว่าทางบริษัทจะทำได้ไหม และทางบริษัทจะเกิดผลกระทบกับหน่วยงานไหนบ้างค่ะ

 

ขอบคุณค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น นานา (na_took0130-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-07-26 12:32:31



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.