ReadyPlanet.com


สลับวันหยุด


บริษัทฯ เป็นงานขนส่ง ทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน จันทร์-เสาร์ ปี 2554 ประกาศวันหยุดตามประเพณี(ส่วนหนึ่งของประกาศ) วันที่ 13-14-15 เม.ย. 54 ซึ่งเป็นประเพณีสงกรานต์ ซึ่งจะทำให้เกิดวันฟันหลอ 1 วัน คือวันเสาร์ที่ 16 เม.ย. 54  ขณะนี้ พนักงานต้องการให้พี่ๆ คกก.สว.บริษัทฯ ช่วยขอร้องนายจ้างให้ประกาศหยุดเพิ่มเติมในวันที่ 16 เม.ย. 54 ซึ่งมีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย(ที่จริงเห็นด้วยแต่พูดลักษณะชเลียนายจ้างไว้ก่อน) แต่เท่าที่ดูนายจ้างคงไม่ยอมเพราะเสียเปรียบ และก้มีคนเสนอทำงานแลกวันหยุด ว่าทำงานวันอาทิตย์วันใดวันหนึ่งฟรี แล้วไปหยุดวันที่ 16 เม.ย. 54 แทน ซึ่งพี่ฝ่ายบุคคลบอกว่าทำไม่ได้ ถึงแม้จะยินยอมพร้อมใจก็ต้องจ่ายค่าแรงการทำงานวันหยุดให้ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และก็ไม่รู้ว่ามีใครไปร้องเรียนแรงงานหรือไม่ เป็นความเสี่ยงของบริษัทฯอาจจะเสียชื่อเสียงฟรีๆ  แต่จากที่หนูลองศึกษาข้อกฎหมายแรงงานดู เห็นเขาบอกว่ามีเทคนิดทางออกอย่างหนึ่ง คือ การประกาศ ให้วันที่ 16 เม.ย. 54 เป็นวันหยุดพักร้อนทั้งบริษัทฯแทน เหตุผลที่เขาอย้างในหนังสือ คือ

1. บริษัทฯ ไม่เสียเปรียบ คือตัดวันพักร้อนตามสิทธิอยู่แล้ว ถ้าประกาศให้หยุดเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ ก็เพิ่มวันหยุดให้พนักงานเฉยๆ ไม่ได้ตัดสิทธ์วันอื่นออก ถ้าคิดเล็กคิดน้อยก็คือบริษัทฯเสียเปรียบ

2. บริหารจัดการง่าย คือทำหนังสือประกาศให้พนักงาน ลุกค้า ทราบ วันที่แน่นอน แล้วมาบริหารจัดการวางแผนเป็นการภายใน เพราะถ้าไม่หยุด พนักงาน 80% ไม่มาทำงานแน่นอน ซึ่งเปิดงานมาเคลียร์ใบลา บางคนเคลียร์ได้ บางคนไม่ได้ บางแผนกให้ บางแผนกไม่ให้ แต่พนักงานข้อมูลต่างๆทั่วถึงกัน ทำให้เกิดการวิพากกันว่ามีสองมาตรฐานในบริษัทฯ หรือในหน่วยงาน  อีกทั้งกำลังพลไม่เพียงพอก็ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ อาจได้ 20-30%

3. พวกหัวหมอ ไม่ลองของ เพราะไม่มีช่องให้เล่น บริษัทฯไม่เสี่ยงเสียชื่อเสียง

4. บริษัทไม่เสียรูปมวย ถ้าประกาศให้เป็นวันหยุดพักร้อนประจำปี แต่ถ้าให้สลับวันหยุดหรือทำงานวันอาทิตย์ทดแทน อาจจะมีช่องให้พวกอยากลองของเล่นก้ได้ หรือประกาศเป็นวันหยุดพิเศษฟรีๆก็ดุเหมือนเสียเปรียบ

5. แต่ถ้าพนักงานสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจก็ไม่น่ามีปัญหา นะ แต่มันก็มีความเสียงอย่างในหนังสือเขาบอก ไม่รู้ว่าตอนพูดจาดูดี แต่ซ่อนมีดไว้ข้างในหรือเปล่า

จึงเรียนถามท่านที่ปรึกษา ว่ามีทางออกอย่างไรทั้งในแง่ข้อกฎหมายและรูปแบบการบริหารจัดการ

ขอบคุณคะ



ผู้ตั้งกระทู้ แพรวา :: วันที่ลงประกาศ 2011-01-12 12:27:59


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3233160)

เรียน คุณแพรวา

เท่าที่แจ้งมาก็ไม่น่ามีปัญหา หากจะให้พนักงานพักร้อนทั้งบริษัท เพราะกฎหมายมาตรา 30 ให้อำนาจนายจ้างกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้างอยู่แล้ว นายจ้างสามารถประกาศได้เลย ไม่ผิดกฎหมายอะไร ไม่สามารถร้องเรียนได้เพราะนายจ้างปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่สามารถซ่อนดาบไว้แทงข้างหลังได้ ลูกจ้างไม่สามารถโต้แย้งได้

พนักงานบางคนก็อาจจะบอกว่าพักร้อนต้องการจะเก็บไว้ ในธุรกิจส่วนตัวยังไม่ต้องการใช้ แต่นายจ้างสามารถบังคับพนักงานพักร้อนได้ครับ

แต่มีข้อจำกัดเหมือนกันคือ ผู้ที่ไม่มีวันลาพักร้อนเหลืออยู่ และผู้ที่ยังไม่มีสิทธิลาพักร้อน หรือทำงานยังไม่ครบปี จะทำอย่างไร เพื่อที่จะได้เหมาะสมด้วยกันทุกฝ่าย ที่อาจจะให้พนักงานลงนามขอยืมวันพักร้อนปีหน้ามาใช้ เพื่อที่จะไม่ได้เปรียบเสียเปรียบกัน โดยทำเป็นหนังสือคำขอจากพนักงานที่จะขอยืมพักร้อนปีหน้า และบริษัท อนุมัติก็สามารถทำได้ ไม่ได้เอาเปรียบลูกจ้าง และนายจ้างก็ไม่เสียหาย

 

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-01-12 13:41:30


ความคิดเห็นที่ 2 (3233175)

เรียนท่านที่ปรึกษา

สำหรับพนักงานที่ไม่มีวันพักร้อนให้ทำหนังสือยืมพักร้อนมาใช้ล่วงหน้าได้นั้น หากพนักงานได้ลาออกก่อนที่จะได้รับสิทธิวันลาพักร้อน บริษัทสามารถหักค่าจ้างในวันที่หยุดได้หรือไม่คะ รบกวนด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น bk วันที่ตอบ 2011-01-12 15:21:54


ความคิดเห็นที่ 3 (3233270)

ให้เขียนไว้ในหนังสือยอนยอมให้ชัดเจนว่าหากพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานไปก่อนได้สิทธิ ยินดีให้บริษัทหักเงินค่าจ้างในส่วนนั้นไว้ ก็สามารถ recover ได้

หรือหากมีหนังสือยอนยอมแล้วคุณจะหักหรือไม่ก็อีกเรื่องหนึ่ง ขึ้นกับความกรุณาของนายจ้างครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-01-13 09:46:12


ความคิดเห็นที่ 4 (3235520)

เรียนท่านที่ปรึกษาค่ะ

รบกวนขอสอบถามหน่อยค่ะว่าปี 2554 ได้มีกฎหมายออกมาใหม่เรื่องการลาพักร้อนประจำปี ว่าในกรณีที่ลูกจ้างใช้วันลาพักร้อนไม่หมด  ต้องจ่ายเงินคืนหรือเปล่าคะ 

ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ิิBKK วันที่ตอบ 2011-01-31 17:43:16



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.