ReadyPlanet.com


ถามอีกครั้งคะต่อจากที่แล้ว


 ตามมาตรา 68 การคำนวนเงินค่าจ้างต่อชั่วโมง ต้องใช้จำนวนชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อวันมาหารครับ เพื่อการคำนวนต่าล่วงเวลา ดังนั้นหากต้องการเวลาทำงานปกติ 9.5 ชั่วโมง ก็ต้องเอา 9.5 หารครับ ไม่ใช่เอา 8 หาร

ตามที่ได้ตอบให้มานั้น ดิฉันก็ได้ถามทางบัญชีไป ทางบัญชีได้ให้คำตอบว่า ก็อิงตามกฏหมายคือเวลาทำงาน 8 ชัวโมง (งงไปเลย) ดิฉันก็เลยคำนวนดูว่าถ้าเอา ยอดที่หาร8ชั่วโมง มาคิดเป็นการหักเวลาทำงาน ยอดที่ได้คือเกินค่าแรง 1 วันที่ได้ เช่น เงินเดือน 15000หาร30วันจะได้500บาท/วันแล้วหารด้วย8ชั่วโมงจะได้62.5 แต่เวลาขาดงาน คำนวนหักคือ 62.5คูณด้วย9.5 ก็จะได้593.75 (คิดให้เค้าดูเค้าก็บอกก็ต้องยอมรับ เพราะเป็นค่าถัวเฉลี่ยบริษัทคำนวนเป็นเงินเดือนคือถ้าไม่หยุดเสาร์และอาทิตย์บริษัทก็จ่ายอยู่แล้ว)งงอีกอ่ะ(มีการแจ้งว่าเมื่อก่อนนี้ทำงานจันทร์-เสาร์พอเปลี่ยนมาเป็นหยุดเสาร์-อาทิตย์ ก็ต้องเพิ่มเวลาการทำงานเข้าไป และถ้าขาดงานก็ต้องหักตามนี้(ตอบแบบนี้ ถูกหรือเปล่าคะ) เพราะฟังแล้วมึนเลยคะ 



ผู้ตั้งกระทู้ ืีHR (nutyawa1-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2014-05-29 18:11:13


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3647547)

ก็เพิ่งทราบข้อเท็จจริงว่า เมื่อก่อนทำงานวันเสารด้วย และลดการทำงานวันเสาร์ลง และไปเพิ่มเวลาทำงานในวันอืน คุณต้องลองตรวจสอบดูว่า

1. การเปลี่ยนแปลงนี้ เป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้างซึ่งซึ่งตามมาตรา 23 มี 2 เงื่อนไข คือ เมื่อมีการเปลี่ยนสภาพการจ้างแล้วต้องให้พนักงานยินยอม และต้องเป็นคุณกับพนักงานมากกว่าด้วย ถึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้ และมีการลงนามไว้หรือไม่ หรือเป็นเพียงประกาศของนายจ้างอย่างเดียว ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นก็ไม่มีผลทางกฎหมาย และอีกประการหนึ่งการทำงานต้องไม่เกิน 9 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งของคุณคือ เกินกว่า 9 ชั่วโมงซึ่งไม่ถูกต้อง ผิดกฎหมายครับ เพราะข้อบังคับใดที่ขัดกับกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งกฎหมายแรงงานเป็นกฎหมายมหาชนจึงย่อมไม่มีผลใช้บังคับ

2. ตามมาตรา 68 ที่บอกว่าเพี่อความสะดวกให้ใช้เงินเดือนหารด้วย 30 และหารด้วยชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อวัน วันเสาร์ อาทิตย์ ไม่ใช่วันทำงานแต่เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ ดังนั้นไม่สามารถนำมาใช้ในการคำนวนได้ ใช้เฉพาะชั่วโมงทำงานจริงต่อวันโดยเฉลี่ย ซึ่งก็เท่ากับ 9.5 ดังนั้นค่าจ้างต่อชั่วโมงจะเป็น 15000 หารด้วย 30 หารด้วย 9.5 เท่ากับ 52.63 บาทต่อชั่วโมง ซึ่งกฎหมายแนะแนวทางว่าให้หารด้วย 30 และหารด้วย 8 ซึ่งสะดวกกับการคำนวน แต่นั่นคือการทำงาน 8 ชั่วโมงปกติ แต่ของคุณไม่ปกติครับ   

3. การคิดต่าล่วงเวลาคิดอย่างไรครับ หารด้วย 8 หรือ 9.5 จะทำอะไรก็ต้องคิดให้เหมือนกัน ไม่ใช่เวลาจะหักเงิน หรือจ่าย ค่าล่วงเวลาก็ต้องคิดเหมือนกัน การคำนวนการขาดงานนั้นหากขาดเป็นวันก็หารด้วย 30 อย่างเดียว ไม่ต้องหารด้วย 8 หรือ 9.5 ยกเว้นหยุดเป็นชั่วโมงก็จะต้องคิดไม่จ่ายเป็นชั่วโมง หรือ มาสายก็ต้องคิดเป็นนาที

4. การหักเงินสามารถคิดได้ หากการด้วยอะไรก็ต้องคูณด้วยตังนั้นครับ

พอเข้าใจบ้างหรือไม่ครับ  

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2014-05-29 20:22:37


ความคิดเห็นที่ 2 (3647929)

 ขอบคุณคะ พอเข้าใจคะ คำนวนโอทีก็หาร8แล้วคูณชั่วโมงทำงานคะ  เหมือนกัน แต่ทำได้ไช่มั้ยคะ แล้วไปตรวจดูเอกสารสารมีเอกสารให้พนักงานเซ็นยินยอม รับทราบการเปลี่ยนแปลงนี้คะ แล้วก็ประกาศใช้คะ แบบนี้แล้ว ทำได้ไช่ไหมคะ 

 

 

ขอบคูณคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น HR วันที่ตอบ 2014-05-30 15:38:15


ความคิดเห็นที่ 3 (3647985)

 ใช้ได้ครับ แต่การคิดต้องใช้หลักการเดียวกัน หารด้วย 8 ก็ต้องเหมือนกัน หารด้วย 9.5 ก็ต้องเหมือนกันครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2014-05-30 17:45:24


ความคิดเห็นที่ 4 (3648749)

 ขอบคุณคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ็HR วันที่ตอบ 2014-06-02 09:27:57


ความคิดเห็นที่ 5 (3735401)

 ที่บริษัท 3 ทีม 2 กะ

ทำงาน4วัน หยุด 2 วัน   เวียนแบบที่ตลอด ทั้งปี 

กะเช้า เข้างาน 08.00 - 20.00 น

กะดึก เข้างาน 20.00 - 08.00 น.

บริษัท บอกว่าทำงานปกติวันละ 9.5 ชั่วโมง

จ่าย โอที่ รายเดือน 1.5 เท่า ให้ 1 ชั่งโมง

ถูกต้องไหมครับ

ผมคิดว่าต้องจ่าย 1.5 เท่า ให้ 1.5 ชั่วโมง นะครับ

ต้องทำไงดีครับบริษัททำถูกไหมครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ช่วยตอบด้วย (chart1920-at-yahoo-dot-co-dot-th)วันที่ตอบ 2014-11-15 16:10:27



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.