ReadyPlanet.com


การหักภาษี ของการบินไทย


กรณีนายจ้างมีระเบียบกำหนดว่าจะเป็นผู้ออกภาษีให้ลูกจ้าง  ต่อมานายจ้างแก้ไขระเบียบใหม่โดยไม่ได้มีการยื่นข้อเรียกร้องเป็นให้พนักงานที่เข้าทำงานภายหลังวันที่ออกระเบียบต้องเสียภาษีเอง จะได้หรือไม่



ผู้ตั้งกระทู้ ลูกจ้าง :: วันที่ลงประกาศ 2008-02-16 09:46:26


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1564695)
นายจ้างได้ประชาสัมพันธ์ว่า "ถ้าเข้ามาทำงานกับบริษัทของนายจ้าง   นายจ้างจะเป็นผู้ออกภาษีให้   แต่ในวันทำสัญญาเข้าทำงานก่อนทำสัญญา  นายจ้างได้แจ้งว่าลูกจ้างจะต้องเป็นผู้เสียภาษีเองตามระเบียบใหม่ที่นายจ้างทำการแก้ไขแล้ว   ลูกจ้างจะเรียกร้องอย่างไรได้   เนื่องจากลูกจ้างที่เข้ามาก่อนไม่ต้องเสียภาษี"
ผู้แสดงความคิดเห็น ลูกจ้าง วันที่ตอบ 2008-02-16 09:48:13


ความคิดเห็นที่ 2 (1564703)
ต่อจากคห.1 ลูกจ้างเก่าที่นายจ้างออกภาษีให้นั้น  ต่อมานายจ้างแจ้งว่าทำการปรับเงินเดือนให้ 4%  แต่พอลูกจ้างรับเงินกลับไม่ถึง 4% ตามแจ้ง   สอบถามนายจ้าง  นายจ้างชี้แจงว่าต้องหักภาษีโดยที่ลูกจ้างไม่ได้ยินยอม   การกระทำของนายจ้างผิดสภาพการจ้างหรือไม่ 
ผู้แสดงความคิดเห็น ลูกจ้าง วันที่ตอบ 2008-02-16 09:50:00


ความคิดเห็นที่ 3 (1564727)
และถ้านายจ้างได้ตกลงกับสหภาพฯ โดยไม่ได้ยื่นเป็นข้อเรียกร้องตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ 2543 จะมีผลเช่นเดียวกับนายจ้างได้ทำการยื่นข้อเรียกร้องแล้วและได้ทำการตกลงกับฝ่ายลูกจ้างแล้วหรือไม่?   หากเป็นเช่นนี้พนักงานสามารถที่จะฟ้องร้องกรรมการสหภาพในฐานะสมรู้ร่วมคิดกับนายจ้างกระทำการโดยฝ่าฝืนกฏหมายได้หรือไม่?  หรือฟ้องให้ระเบียบที่แก้ไขนั้นเป็นโมฆะได้หรือไม่?  

ขอบคุณท่านผู้รู้   หมดคำถามครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ลูกจ้าง วันที่ตอบ 2008-02-16 09:52:45


ความคิดเห็นที่ 4 (1591518)

ตอบลูกจ้าง  การบินไทย

ก่อนอื่นต้องขอออกตัวก่อนว่า   การตอบคำถามดังกล่าวข้างต้นนี้ เป็นการตอบคำถามที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงที่ผู้ถามให้มาเท่านั้น  (เพราะหากตอบโดยซักถามข้อเท็จจริงโดยละเอียด  คงไม่สามารถตอบคำถามได้  และต้องสอบถามข้อเท็จจริงเพิ่มเติมอีกมาก)     และการตอบคำถามจะขอตอบเรียงตามลำดับของคำถาม   โดยขอตอบว่า

1.นายจ้างสามารถทำสัญญาจ้างกับลูกจ้างใหม่  ขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่   นายจ้างได้ทำไว้กับสหภาพแรงงานฯ ได้     โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ มาตรา 29  ซึ่งบัญญัติว่า 

" ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลผูกพันนายจ้างและลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน

    ห้ามมิให้นายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณยิ่งกว่า"

ขยายความว่า   สาเหตุที่ทำได้   เพราะลูกจ้างใหม่   ไม่ใช่สมาชิกสหภาพแรงงาน   เพราะฉะนั้น  จึงไม่อยู่ในขอบข่ายของกฎหมายที่ห้ามทำสัญญาจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงฯ

2.ก่อนทำสัญญา   นายจ้างได้ชี้แจงกับลูกจ้างแล้วว่าสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับมีอะไรบ้าง   และเมื่อตกลงว่าจะให้อย่างไรนายจ้างก็ปฏิบัติตามนั้น   นั่นหมายความว่า  นายจ้างได้ชี้แจงแล้วและปฏิบัติตามสัญญา   ดังนั้น  ตามคำถามของบล็อกความเห็นที่ 1 (1564695)   จึงขอตอบว่า   ลูกจ้างใหม่คงไม่สามารถเรียกร้องให้ได้เท่ากับลูกจ้างเก่าได้   จะเรียกร้องได้ก็ต่อเมื่อนายจ้างตกลงว่าจะให้ลูกจ้างใหม่  แล้วไม่ได้ให้ตามที่ตกลงเท่านั้น

3.ตอบคำถามของบล็อกความเห็นที่ 2. (1564703)  ตอบว่านายจ้างผิด   เพราะมีหากข้อตกลงฯ กันว่า  "นายจ้างมีหน้าที่ออกภาษีให้กับลูกจ้างเก่า   ในเงินได้ทุกประเภท"   เช่นนี้   นายจ้างปรับขึ้นเงินเดือนให้ 4%  ก็ต้องจ่ายเต็ม 4%  ไม่สามารถหักภาษีได้

4.ตามมาตรา 54  การที่สหภาพแรงงานจะดำเนินการเพื่อ "จัดให้มีการให้บริการเพื่อสวัสดิการของสมาชิก  หรือจัดสรรเงินหรือทรัพย์สินเพื่อสาธารณประโยชน์   ทั้งนี้  ตามที่ที่ประชุมใหญ่เห็นสมควร"   หมายความว่า   การกระทำใดๆ ที่เป็นการจัดการเกี่ยวกับสวัสดิการ, เงิน, ทรัพย์สินของสมาชิก   สหภาพแรงงานต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่สมาชิกก่อน  หากตกลงไปโดยไม่ได้รับความเห็นชอบย่อมไม่บังคับใช้กับสมาชิก  นายจ้างก็ไม่สามารถใช้ข้อตกลงดังกล่าวกับสมาชิกอื่นที่ไม่ได้ยินยอมไม่ได้

หวังว่าคงตรงกับความประสงค์ของผู้ถาม   หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม   สามารถถามเพิ่มเติมมาได้  ขอบคุณ

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้ช่วยฯ วันที่ตอบ 2008-02-19 16:45:45



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.