ReadyPlanet.com


สวัสดิการพนักงานกับภาษี


ขอสอบถามผู้รู้ในเรื่องสวัสดิการดังต่อไปนี้

1. ให้รับประทานอาหารและเครื่องดื่มฟรี  จะต้องคิดเป็นเงินได้ของพนักงานอย่างไรค่ะ บริษัทได้ให้ชาวบ้านแถวๆรับทำอาหารมาส่งให้พนักงานโดยราคาแต่ละวันก็จะแตกต่างกันไป เราจะต้องใช้ยอดเงินใดมาคิดเป็นเงินได้พนักงานค่ะ ถ้ารอครบเดือนแล้วหารเฉลี่ยจำนวนพนักงานก็จะนำมาคำนวณเงินเดือนไม่ทันและแต่ละเดือนก็ไม่เท่ากัน และควรเขียนระเบียบเรื่องนี้อย่างไรค่ะ อ่านเจอบางเว็บบอกว่าหากนายจ้างคิดค่าอาหารด้วยมูลค่าพอสมควร เช่น มื้อละ 15-30 บาทก็จะไม่ถือเป็นเงินได้ของลูกจ้าง จริงหรือไม่ค่ะ

2. รถรับส่งพนักงาน สรุปว่าต้องนำมาเป็นเงินได้ของพนักงานไหมค่ะ

3. ประกันกลุ่ม (รวมชีวิต,อุบัติเหตุและสุขภาพ )นายจ้างจ่ายเบี้ยและนายจ้างรับผลประโยชน์ จะต้องนำมาเป็นเงินได้พนักงานหรือไม่ค่ะ หรือมีเทคนิคอย่างไรไหม

4. ซื้อโทรศัพท์และ sim ในนามบริษัทให้พนักงานระดับหัวหน้าขึ้นไปใช้ โดยบริทรับผิดชอบค่าใช้จ่ายตามจริงให้และมื่อลาออกพนักงานต้องคืนโทรศัพท์และซิม ต้องกำหนดระเบียบอย่างไร จึงจะไม่ต้องนำมาเป็นเงินได้ของพนักงานค่ะ

 



ผู้ตั้งกระทู้ seana :: วันที่ลงประกาศ 2009-02-26 10:39:41


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2979333)

สวัสดิการพนักงานกับการวางแผนภาษี

รายจ่ายค่าสวัสดิการ หมายถึง รายจ่ายเพื่อประโยชน์ของพนักงานในอันที่จะให้เกิดผลดีแก่การดำเนินงานโดยรวมของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยแบ่งเป็น

1. รายจ่ายค่าสวัสดิการทั่วไป เช่น น้ำดื่ม กาแฟ ยารักษาโรคเบื้องต้น ฯลฯ

2. รายจ่ายค่าสวัสดิการที่มีระเบียบข้อบังคับกำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น บริษัทมีนโยบายคิดค่าสวัสดิการให้กับพนักงานทุกคนและทุกตำแหน่งไม่ว่าจะเป็นพนักงานทดลองงาน พนักงานรายวัน พนักงานรายเดือน ที่ยังคงเป็นพนักงานของบริษัท ณ วันที่ 31 สิงหาคม ของทุกปี เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่พนักงาน และเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องสวัสดิการต่าง ๆ เช่น งานกีฬาสี และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานโดยตรงในอัตราคนละ 3,000 บาท โดยบริษัทจะนำเงินทั้งหมดเข้าบัญชี สวัสดิการพนักงาน ซึ่งแยกออกจากบัญชีของบริษัท โดยมีคณะกรรมการซึ่งได้รับเลือกตั้งมาจากลูกจ้างเป็นผู้ดูแลและควบคุมการเบิกจ่ายเงิน ซึ่งเงินในลักษณะนี้ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 และเข้าลักษณะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) ซึ่งพนักงานผู้ได้รับสวัสดิการดังกล่าวต้องนำประโยชน์ที่ได้รับมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร เว้นแต่ สวัสดิการจัดเลี้ยงในเทศกาลปีใหม่ถือเป็นเงินได้ที่ได้รับจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (10) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทสามารถนำไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ 13 แห่งประมวลรัษฎากร (หนังสือกรมสรรพากรเลขที่ กค 0706/9276 ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน 2548)

เนื่องจาก สวัสดิการที่นายจ้างให้กับพนักงานนั้น ก็เพื่อให้ลูกจ้างมีชวิตและสภาพความเป็นอยู่ในการทำงานดีขึ้น สะดวกสบายมากขึ้น แต่ต้องเป็นไปตามกฎหมายแรงงานจึงจะถือว่าเป็นหลักฐานทางภาษีอากร เพื่อใช้หักเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้ ดังนั้น ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการพนักงาน ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรและหากมีภาษีซื้อเกิดขึ้นจากค่าสวัสดิการพนักงานดังกล่าว ก็สามารถเครดิตภาษีซื้อหรือขอคืนได้ แต่สวัสดิการดังกล่าวจะถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้จะต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการดังนี้ 

1.  สวัสดิการต้องมีระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ ออกมาให้ลูกจ้าง

2. สวัสดิการนั้นต้องให้พนักงานทุกคน โดยไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งจะให้ไม่เท่ากันก็ได้ แต่ต้องได้ทุกคน

3. ต้องเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ หรือ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจ

ต้องครบองค์ประกอบทั้ง 3 ข้อ สวัสดิการดังกล่าวจึงจะถือเป็นรายจ่ายของกิจการ นำมาคำนวณกำไรสุทธิของกิจการได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร

แต่ถ้าหากไม่เข้าองค์ประกอบทั้ง 3 ข้อนี้แล้ว ไม่ถือว่าเป็นสวัสดิการพนักงาน แต่ถือว่าเป็นรายจ่ายส่วนตัวเป็นการให้โดยเสน่หา ถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามของกิจการตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3) 

กล่าวโดยสรุป รายจ่ายค่าสวัสดิการ หากเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่กำหนดไว้เป็นการทั่วไปที่มิใช่เป็นการเลือกปฏิบัติย่อมถือเป็นรายจ่ายในการดำเนินงานสำหรับการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (3) และ (13) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ต้องพิจารณาต่อไปว่า ค่าสวัสดิการที่พนักงานได้รับนั้น ถือเป็นประโยชน์เพิ่มที่เป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร 

ผู้แสดงความคิดเห็น + วันที่ตอบ 2009-03-04 12:13:51


ความคิดเห็นที่ 2 (4115053)

ขอสอบถามผู้รู้ในเรื่องสวัสดิการพนักงานดังนี้ค่ะ

1. กรณีบริษัทได้ออกค่าประกันอุบัติเหตุกลุ่มให้กับพนักงานทั้งหมด35 คน แต่มีอยู่1คนที่ไม่ใช่พนักงานบริษัทรวมอยู่ใน35คนนี้ ต้องการทราบว่าค่าใช้จ่ายนี้สามารถลงเป็นของบริษัทได้อย่างไรบ้างค่ะ และเคลมภาษีซื้อได้หรือไม่ค่ะ

2.บริษัทได้พาพนักงานไปเที่ยวประจำปี แต่ให้พนักงานพาครอบครัวไปได้ โดยบริษัทออกค่าใช้จ่ายให้ อยากทราบว่าจะสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ และเคลมภาษีซื้อได้หรือไม่ค่ะ 

ผู้แสดงความคิดเห็น AAA (Amovnrat2526-dot-8-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2017-01-10 23:09:21



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.