ReadyPlanet.com


พนักงานตรวจแรงงานไม่วินิจฉัยคำร้อง


 พนักงานตรวจแรงงาน  มีหนังสือให้ไปพบเนื่องจากลูกจ้างร้องทุกข์ว่าไม่จ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างไม่บอกกล่าว  บริษัทฯได้ไปพบเจ้าหน้าที่และให้การหลายครั้งและนำพยานหลักฐานต่างให้เจ้าหน้าที่ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะน้ำหนักเพียงพอแล้ว อยู่ๆ กกกกพนักงานตรวจแรงงานแจ้งว่าลุกจ้างถอนคำร้องไปฟ้องศาลแล้ว     ไม่ต้องไปพบแล้วให้รอหมายศาลก็แล้วกัน    กระผมมีความเห็นว่าพนักงานตรวจแรงงานต้องวินิจฉัยคำร้อง การถอนคำร้องโดยนายจ้างไม่ยินยอมจะทำได้หรือ


ผู้ตั้งกระทู้ นายจ้างรู้น้อย :: วันที่ลงประกาศ 2007-02-05 12:29:14


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (808730)

การร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานให้วินิจฉัยเรื่องเช่นนี้ ถือเป็นสิทธิของลูกจ้าง หากไม่ประสงค์จะใช้สิทธิต่อไปย่อมถอนคำร้องได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากนายจ้างหรือพนักงานตรวจแรงงาน

กรณีต่างกับการฟ้องคดีต่อศาล หากโจทก์ประสงค์จะถอนฟ้อง และจำเลยยื่นคำให้การแล้ว กฎหมายให้ถามจำเลยก่อนว่าจะค้านหรือไม่ และให้อำนาจศาลที่เป็นผู้วินิจฉัยว่า ควรอนุญาตให้ถอนฟ้องหรือไม่

ผู้แสดงความคิดเห็น webmaster วันที่ตอบ 2007-02-05 21:03:42


ความคิดเห็นที่ 2 (810764)

ตอบ กรณีกรณีลูกจ้างได้ใช้สิทธิ์ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน เป็นการใช้สิทธิ์ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 123 โดยประสงค์ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการตามสิทธิ์อันตัวเงิน มิใช่เป็นคำเสนอให้ทำนิติกรรมอย่างใด    แต่อย่างไรก็ตามการถอนคำร้องก็เป็นสละสิทธิ์อย่างหนึ่งก็เป็นนิติกรรมมีผลผูกพันลูกจ้าง  ถ้าเป็นถอนคำร้องโดยไม่มีเงื่อนไขใด ลูกจ้างก็ไม่สามารถใช้สิทธิ์ยื่นคำฟ้องต่อศาลแรงงาน  ซึ่งได้แสดงเจตนาสละสิทธิ์แล้วย่อมมีผลผูกพันตัวลูกจ้างดังกล่าว เป็นการกระทำนิติกรรมโดยเจตนาแล้ว     ตามกรณีปัญหาพนักงานตรวจแรงงาน ได้เชิญนายจ้างไปพบและได้ให้ข้อเท็จจริงแล้ว และได้นำพยานหลักฐานต่างให้แล้ว ถือว่าได้ทำการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วตามมาตรา 124  ซึ่งต่อมาลูกจ้างได้ถอนคำร้องแล้วก็ตาม พนักงานตรวจแรงงานต้องมีคำสั่งต่อไปตามมาตรา 124 

     ตามปัญหาดังกล่าวน่าจะเป็นไปได้ว่าลูกจ้างนั้นเห็นว่าเจ้าหน้าที่ดำเนินการล่าช้าหรือเห็นว่าตนจะเสียเปรียบนายจ้างก็ได้เนื่องมีพยานหลักฐานมีน้ำหนักก็ว่าได้ ซึ่งผูกพันลูกจ้างและเจ้าหน้าที่ จึงไปใช้สิทธิ์ทางศาลแรงงานเพื่อให้เริ่มดำเนินการใหม่   การถอนคำร้องก็ต้องได้รับความยินยอมกับนายจ้างในถอนคำร้องเนื่องเป็นการแสดงเจตนาอันนิติกรรมอย่างหนึ่ง เหมือนกัน  เจ้าหน้าที่ต้องสอบถามนายจ้างถ้าไม่ยินยอมก็ต้องมีคำสั่งวินิจฉัยต่อไป

   

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ผ่านมา วันที่ตอบ 2007-02-07 11:52:52



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.