ReadyPlanet.com


มาตรา119


บริษัทฯเลิกจ้างและกล่าวหาลูกจ้างมีความผิด แต่ลูกจ้างไม่ผิด จึงไปร้องต่อศาลแรงงาน ศาลฯได้นัดไกล่เกลี่ยหน้าบัลลังค์ และลูกจ้างได้รับเงินช่วยเหลือจาก บริษัทฯเป็นจำนวนเงิน2เท่าของเงินเดือน ซึ่งทางลูกจ้างต้องการให้บริษัทฯแก้ไขข้อมูลที่ถูกเลิกจ้าง เพื่อรับเงินชดเชยจากประกันสังคม กรณีว่างงาน จึงได้ร้องต่อศาลในวันนั้น ซึ่งศาลได้ให้เจ้าพนักงานพิมพ์ข้อความลงไปในคำสั่งศาล ว่าลูกจ้างไม่ได้ทำผิดตามมาตรา 119 เพื่อให้ลูกจ้างไปรับเงินชดเชย จากประกันสังคมได้ แต่ทางบริษัทฯดื้อรั้นไม่ยอมไปแก้ไขข้อมูลที่ประกันสังคม ทำให้ลูกจ้างยังไม่ได้รับเงินชดเชยจากประกันสังคม กรณีนี้จะบังคับนายจ้างอย่างไร


ผู้ตั้งกระทู้ ลูกจ้างผู้ถูกเอาเปรียบ :: วันที่ลงประกาศ 2007-10-02 17:09:19


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1189701)

(เพิ่มเติมรายละเอียด) ลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้รับเงินชดเชยจากบริษัทฯ ซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำผิด จึงได้ไปร้องต่อศาลแรงงาน และศาลได้ไกล่เกลี่ย โดยได้รับเงิน2เดือน และจะไม่สามารถฟ้องเรียกค่าชดเชยเพิ่มเติมใดๆได้อีก ซึ่งก่อนหน้านั้นทางลูกจ้างได้ไปลงทะเบียนว่างงานไว้แล้ว แต่ไม่ได้รับเงินชดเชยจากประกันสังคม กรณีว่างงาน เนื่องจากบริษัทฯไปแจ้งว่าให้ออกโดยทำความผิด จึงนำความมาร้องต่อศาลฯ ในครั้งนี้ด้วย ศาลฯได้ให้เจ้าพนักงานพิมพ์ข้อความเพิ่มลงไป ในวันที่นัดไกล่เกลี่ย และเซ็นชื่อรับทราบทั้ง2ฝ่ายแล้ว แต่ลูกจ้างก็ยังไม่ได้รับเงินชดเชยจากประกันสังคม ในกรณีนี้ทางลูกจ้างจะต้องทำอย่างไร เพื่อให้ได้เงินมา เพราะตอนนี้ก็ยังตกงานอยู่...

ผู้แสดงความคิดเห็น ลูกจ้างคนเดิม วันที่ตอบ 2007-10-02 17:36:00


ความคิดเห็นที่ 2 (1189978)
ข้อความที่ระบุเพิ่มเติมว่า ลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยมิได้กระทำความผิดนั้น หากบันทึกไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ หากนายจ้างเพิกเฉยย่อมบังตับคดีนายจ้างได้ทันที แต่หากบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาคดี ต้องนำคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อบังคับต่อไป  
ผู้แสดงความคิดเห็น webmaster วันที่ตอบ 2007-10-02 23:21:04



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.