ReadyPlanet.com


การลาออก/ขอคำแนะนำ/เครียดอย่างแรงงง


อยากขอคำแนะนำครับ

1. ผมได้งานใหม่ต้องการให้เข้าทำงานในวันที่ 16/10/08 แต่เค้ายืนยันในวันที่23/09/08

2. ระเบียบบริษัทกำหนดเรื่องการลาออกต้องแจ้งอย่างน้อย30วัน แต่ผมมีเลายื่นแค่15 วัน

3.หัวหน้าไม่ยอมเซ็นอนุมัติเนื่องจากระยะเวลาน้อยเกินไปและตำแหน่งผมมีแค่คนเดียวไม่สามารถหาคนทำแทนได้ภายใน 1 เดือน

4.ที่ใหม่ที่จะไปทำงานเค้าไม่ยอมให้เลื่อนเนื่องจากต้องการคนทำงานเร่งด่วนเหมือนกัน

อยากถามผู้รู้ทุกท่านครับผมควรทำอย่างไรดี และถ้าหากผมตัดสินใจไปทำงานในที่ใหม่ทั้งที่หัวหน้ายังไม่อนุมัติ ผมมีโอกาสที่จะโดนฟ้องและไม่ได้รับค่าจ้างตั้งแต่วันที่ 1-15/10/08 ใช่ไหมครับ

ขอความอนุเคราะห์ทุกท่านตอบด้วยนะครับ



ผู้ตั้งกระทู้ pepae (pepae11-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2008-10-03 19:03:58


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2917761)

    สถานการณ์อย่างนี้ต้องใจเย็นๆครับ เพราะว่าเป็นสถานการณ์ที่เห็นทางเลือกชัดเจนอยู่แล้ว ถ้าอยากได้ที่ใหม่จริงๆ แล้วต้องไปทำงานให้ได้ตามที่กำหนด ก็ออกจากงานเก่าเลย แม้จะผิดกฎ ทางนายจ้างเก่ามีสิทธิ์ริบเงินเดือนของคุณในเดือนที่ทำมานั้น และถ้ามีการวางเงินประกันการเข้าทำงาน เขาก็มีสิทธิ์ริบเงินนั้นได้เช่นกัน แต่เขาคงไม่ฟ้องกรมแรงงาน สหภาพแรงงาน หรืออะไรหรอกครับ มีนายจ้างน้อยมากที่จะสละเวลาไปฟ้องลูกจ้างไม่กี่ราย มันยุ่งยาก

    ก็ตัดสินใจเอาแล้วกันครับ ทางเลือกชัดเจน ไม่ต้องคิดมาก เลือกทำในสิ่งที่คิดว่าจะทำให้มีความสุขที่สุด ไม่มาเสียใจทีหลัง แม้ต้องเสียอะไรไปบ้างก็เถอะ

ผู้แสดงความคิดเห็น Espresso_29@HR (espresso_29-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2008-10-04 11:06:00


ความคิดเห็นที่ 2 (2917789)

ขอขอบคุณคุณ  Espresso_29@HR ด้วยครับสำหรับคำแนะนำดีๆ ถ้าท่านอื่นมีความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะอื่นใด ยินดีรับฟังทุกความเห็นครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น pepae (pepae11-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2008-10-04 12:09:51


ความคิดเห็นที่ 3 (2917881)

อยากขอคำปรีกษาเช่นกันคะ

คือเรื่องมีอยู่ว่า ลักษณะคล้ายกับความคิดเห็นข้อ 1 เช่นกัน แต่จะแตกต่างตรงที่ว่า

1. ทางบริษัทฯ ได้มีการปรับเปลี่ยนงานใหม่ ซึ่งดิฉันไม่ถนัดในสายงานนี้ แต่ก้อพยายามจะให้ทำปรากฎว่าทำไม่ได้ และได้แจ้งกับบริษัท ฯ ว่าไม่เหมาะสมกับตำแหน่งงานนี้

2. ดิฉันจึงทำจดหมายขอลาออก แต่ตามกฎระเบียบของบริษัท ฯ ต้องแจ้งล่วงหน้าภายใน 1 เดือน แต่ดิฉันไม่ได้แจ้งครบภายใน 1 เดือน แต่แจ้งภายใน 7วัน เพื่อจะหาคนมาใหม่มาทดแทน อย่างนี้ทำได้หรือไม่

3. ทางบริษัท ฯดิฉันมีการจ่ายค่าเบี้ยขยัน ภายในสิ้นเดือนถัดไปและบริษัท ฯก้อมีเบี้ยขยันที่ค้างดิฉันของเดือนที่ผ่านมาและค่าคอมมิชชั่น ประมาณ 15 วันภายในเดือนที่ดิฉันจะขอลาออก แต่ก็ได้สอบถามกับบริษัท แล้วว่าถ้าไม่ได้แจ้งลาออกให้ครบภายใน 1 เดือน จะจ่ายเงินในส่วนนี้ใหม่ ปรากฎว่า ทางบริษัท ฯ เสนอว่าถ้าไม่แจ้งออกภายใน 1 เดือน จะไม่จ่ายเงินในส่วนตรงนี้ จะมีการตัดทิ้งไป อยากทราบว่า ตามความเป็นจริงและตามกฎหมาย ดิฉันจะได้รับเงินดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร

 

ขอขอบคุณทุกท่าน หวังว่าจะมีผู้ที่รู้ให้ความช่วยเหลือ กับคนไม่ทราบด้วยกฎหมาย

ขอบคุณคะ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น akiko วันที่ตอบ 2008-10-04 16:10:20


ความคิดเห็นที่ 4 (2918279)
ตามกฏหมาย ห้ามนายจางหักค่าจ้าง เว้นแต่ลูกจ้างให้ความยินยอม กรณีลาออกไม่เป็นไปตามระเบียบ และนายจ้างได้รับความเสียหายจาการที่ลูกจ้างลาออกไม่ตามระเบียบ นายจ้างจะต้องพิสูจน์ให้ได้เสียก่อนว่า มีความเสียหายเกิดขึ้นเป็นมูลค่าเท่าใด แล้วแจ้งให้ลูกจ้างทราบเพื่อชดใชค่าเสียหาย นายจ้างจะหักค่าจ้างและเงินประกันโดยพลการไม่ได้ นายจ้างไม่อนุมัติลาออกมันเรื่องของนายจ้าง แต่หนังสือลาออกนั้น นายจ้างทราบแล้วก็ถือว่านายจ้างรู้แล้วว่าลูกจ้างบอกเลิกสัญญา ไม่ต้องเครียด ถ้าคิดว่าที่ใหม่ดีกว่าก็ไป ที่เก่าจะว่าอย่างไรก็ต่อสู้กันไป เรื่องธรรมดามาก ระหว่างนายจ้างลูกจางเหมือนผัวเมียทะเลาะกัน ปรึกษาพนักงานตรวจแรงงานอีกทีนะ
ผู้แสดงความคิดเห็น ปา วันที่ตอบ 2008-10-05 14:21:37


ความคิดเห็นที่ 5 (3240609)

ขอปรึกษาค่ะ

พอดีจะลาออกแล้วเราก็ไปบอกกับหัวหน้าเราว่า เราได้ไปสอบราชการเอาไว้ก่อนที่จะได้งานที่นี่และ ผ่านการสอบข้อเขียนมาแล้วและเหลือแต่สอบสัมภาษณ์ ซึ่งคาดว่าจะได้งาน 100% แล้วก็เป็นงานที่อยากทำแล้วก็อยู่ที่จังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาของเราด้วย

ก็เลยบอกว่าจะลาออก และจะออกสิ้นเดือนหน้า แต่หัวหน้าโกรธมาก แล้วก็บอกว่าให้ออกสิ้นเดือนนี้เลย อย่างนี้ จะทำอย่างไรดีค่ะ เราสามารถเรียกร้องอะไรได้หรือเปล่า

เค้าทำถูกหรือผิด เค้าต้องจ่ายค่าชดเชยอะไรให้เราหรือเปล่าค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น อิงอร วันที่ตอบ 2011-03-21 11:29:47



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.