ReadyPlanet.com


ภาษีหัก ณ ที่จ่ายของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกรณีบริษัทปิดกิจการ


กรณีบริษัทปิดกิจการสิ้นปี 49 ...ได้รับคืนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเต็มจำนวนเพราะทำงานมาได้ 16 ปี ตอนต้นปี 50 เรียบร้อยแล้ว.....และมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้วโดยธนาคารผู้จัดการกองทุน.....ตอนกลางปี 50 ได้เข้าทำงานในบริษัท แต่เงินเดือนไม่ถึง 10,000 บาท....จึงอยากทราบว่า...ต้องยื่น ภงด.90 , 91 หรือต้องเขียนในใบแนบอย่างไรบ้าง


ผู้ตั้งกระทู้ เจี๊ยบ :: วันที่ลงประกาศ 2007-12-05 12:15:13


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (1308250)

การเสียภาษีในลักษณะดังกล่าวนี้   เป็นคำถามที่ถามเพื่อเตรียมตัวในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2550 

ทั้งนี้  ผู้มีเงินได้ที่ต้องยื่น ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91  ให้ยื่นโดยใช้ใบแนบ  "กรณีคำนวณเงินได้ที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานเฉพาะที่เลือกเสียภาษีโดยไม่นำไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่นๆ"  

และใช้หลักเกณฑ์ตาม "ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)  เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไข  ของเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1)  และ (2)  แห่งประมวลรัษฎากร  ซึ่งนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานตามมาตรา 48 (5)  และมาตรา 50 (1)  แห่งประมวลรัษฎากร" 

เมื่อได้ใบแนบฯ และหลักเกณฑ์ข้างต้นมาแล้ว   คุณเจี๊ยบ จะเข้าใจว่าต้องกรอกข้อความอย่างไรบ้าง

เอกสารขอได้ที่สรรพากรพื้นที่ทุกพื้นที่

10-12-2007

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้ช่วยฯ วันที่ตอบ 2007-12-10 10:19:33


ความคิดเห็นที่ 2 (1311266)
ขอบคุณที่ตอบคำถามค่ะ.....แต่อยากทราบต่อว่า...คำว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย....ที่เราได้ถูกหักไปแล้วตรงนี้   หมายความว่าเราไม่ต้องเสียภาษีอีกแล้วใช่หรือไม่.....หรือเราสามารถหักลดหย่อนอะไรได้บ้างเพื่อขอคืนภาษี.....ไม่รู้ว่าเข้าใจถูกหรือไม่.....ต้องขอรบกวนด้วยค่ะ
ผู้แสดงความคิดเห็น เจี๊ยบ วันที่ตอบ 2007-12-11 20:22:34


ความคิดเห็นที่ 3 (1337840)

ตอบคุณเจี้ยบ

คำถามแรก  คำว่า  "หักภาษี ณ ที่จ่าย"   ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ต้องเสียภาษีอีกแล้วเสียทีเดียว    แต่การหักภาษี ณ ที่จ่ายนั้น  เป็นหน้าที่  ขอย้ำว่า  เป็นหน้าที่ ของผู้จ่ายเงินซึ่งสรรพากรกำหนดให้เมื่อผู้จ่ายเงินได้  มีการจ่ายเงินได้ออกมาให้ใครก็ตาม   มีจ่ายมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย  เพื่อนำส่งกรมสรรพากร    

เมื่อสำหรับผู้รับเงิน    หรือภาษากฎหมายเรียกว่า   "ผู้มีเงินได้"     ได้รับเงินได้แล้ว   ก็มีหน้าที่ตามกฎหมายรัษฎากรที่จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา     แต่รัฐคำนึงถึงความสัมพันธ์ของภาษีทุกประเภทที่มีความเกี่ยวพันกันกับเงินได้ก้อนเดียวกันนี้   ดังนั้น  รัฐจึงกำหนดว่า   เมื่อผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงเงินได้และการเสียภาษี    หากมีการถูกหักภาษีจากเงินได้ดังกล่าวไปแล้วบางส่วน  ต้องนำมาแสดงต่อกรมสรรพากรด้วยว่าได้ถูกหักภาษีจากเงินได้มาแล้ว     กรมสรรพากรจะพิจารณาว่า  เมื่อรวมรายได้ทั้งปีของผุ้มีเงินได้แล้ว   ต้องเสียภาษีเท่าไร  และได้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ทั้งหมดมาแล้วเท่าไร  ต้องนำมาหักลบกัน   หากถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายมากเกินหน้าที่  ผู้มีเงินได้สามารถทำเรื่องขอคืนภาษีได้    ในทางกลับกันหากถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายน้อยกว่าหน้าที่ที่ต้องเสียภาษี   ผู้มีเงินได้ก็ต้องเสียภาษีเพิ่ม  

สำหรับการหักลดหย่อน    มีได้หลายประการ   ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานะของผู้มีเงินได้  หรือผู้มีหน้าที่ต้องเสียภาษี    เช่น   คู่สมรส,  บุตรที่กำลังศึกษา,  บิดามารดาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป, ดอกเบี้ยจากการกู้ยื่นเงินเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย แต่ไม่เกิน 50,000 บาท,  เงินประกันชีวิตที่มีอายุการเอาประกันตั้งแต่ 5 ปีชึ้นไป  แต่ไม่เกิน 50,000 บาท   เป็นต้น    

ทั้งนี้  รายการการลดหย่อนนั้น  จะถูกแสดงอยู่ในเอกสารที่เคยแนะนำให้คุณเจี้ยบไปขอจากกรมสรรพากร     ดังนั้น  ต้องรีบไปขอเพื่อนำมาศึกษาต่อไป

22-12-2007

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้ช่วยฯ วันที่ตอบ 2007-12-22 12:51:27


ความคิดเห็นที่ 4 (1340680)

ขอขอบคุณที่ให้ความกระจ่างค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น เจี๊ยบ วันที่ตอบ 2007-12-24 18:00:23



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.