ReadyPlanet.com


นายจ้างขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยขอยกเลิกสวัสดิการต่างๆ


ลูกจ้างได้ตกลงเข้าทำงานกับนายจ้างเมื่อ 10  ปีที่แล้วโดยตกลงจ้างงานกันด้วยวาจาไม่มีสัญญาจ้างเป็นหนังสือ คือ

1.นายจ้างจัดรถยนต์ประจำตำแหน่งให้ 1 คันพร้อมการบำรุงรักษา
2.จ่ายค่าน้ำมันตามที่จ่ายจริง
3.จ่ายค่าทางด่วน
4.นายจ้างให้ใช้โทรศัพท์มือถือของนายจ้างหรือนำบิลมาเบิกได้ตามงบ
 
การเจรจาของนายจ้างครั้งที่ 1   คือนายจ้างขอจำกัดวงเงินค่าน้ำมัน ค่าทางด่วน ค่าโทรศัพท์มือถือ เราลูกจ้างก็ยินยอมโดยไม่ได้ทำหนังสือ
 
การเจรจาของนายจ้างครั้งที่ 2  เมื่อปี2551 นายจ้างอ้างบริษัทขาดทุน ขอให้งดสวัสดิการนี้เป็นเวลา 6 เดือนจนถึงสิ้นปี 2551 เราลูกจ้างก็ยินยอมทุกคน ยกเว้นรถประจำตำแหน่งที่ยังมีอยู่เหมือนเดิม
 
การเจรจาของนายจ้างครั้งที่ 3  เมื่อปี2552 เมื่อสามเดือนที่ผ่านมานายจ้างได้เรียกเราลูกจ้าง(หลายคน)ไปคุยว่าจะขอยกเลิกสวัสดิการต่างๆทุกรายการ เหลือเฉพาะสวัสดิการน้ำมันเท่านั้น อ้างว่าจากผลการประชุมของฝ่ายบริหารมีมติให้ยกเลิก แจ้งว่าระดับตำแหน่งของเราลูกจ้างไม่ถึงจึงไม่ได้รับสวัสดิการดังกล่าวนั้นและจะขอให้ยกเลิกทันที (ซึ่งสวัสดิการดังกล่าวเราทุกคนได้รับตั้งแต่วันแรกที่ตกลงเข้าทำงาน)    
                    โดยในวันที่นายจ้างเรียกไปคุยมีลูกจ้างท่านหนึ่งไม่ยินยอม นายจ้างไม่พอใจเลยเลิกจ้างลูกจ้างท่านที่ไม่ยินยอมโดยยอมจ่ายค่าชดเชย ส่วนคนที่เหลือก็กังวลว่าจะถูกเลิกจ้างจึงรับปากด้วยวาจาไปก่อน แล้วนายจ้างทำหนังสือตามหลังขอยกเลิกสวัสดิการมาให้เราเซ็นต์ยินยอม มีบางคนยอมเซ็นต์ยินยอม แต่ผมยังไม่ยอมเซ็นต์  เฉพาะของผมนายจ้างเสนอขายรถยนต์ที่เราใช้อยู่โดยให้ผ่อนจ่าย 10 งวด และได้หักจากค่าจ้างของผมมาสองงวดแล้วทั้งๆที่ผมไม่ยินยอมเซ็นต์เอกสาร ส่วนท่านอื่นๆนายจ้างสั่งให้นำรถมาคืนนายจ้างทันที
                   ประเด็นคือการยกเลิกสวัสดิการได้ถูกกระทำในระดับตำแหน่งของเราเท่านั้นซึ่งทำให้เราทุกคนได้รับความเดือนร้อนต้องไปหาซื้อรถใหม่มาขับเพื่อเดินทางไปกลับจากบ้านมาที่ทำงาน เราต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนี้ ซึ่งก็เหมือนกับว่าเป็นการลดค่าจ้างของพวกเรา แต่นายจ้างกลับยังให้สวัสดิการนี้กับชาวต่างชาติบางท่านที่อยู่ในระดับเดียวกับพวกเราและยังให้ในระดับที่สูงกว่าเราประเคนให้เขาทุกอย่าง ซึ่งท่านเหล่านั้นไม่ได้รับความเดือนร้อนเลย เงินค่าตอบแทนก็สูงกว่าพวกเราหลายเท่าอยู่แล้ว ภาษีสังคมหรือค่าใช้จ่ายทางสังคมแต่ละท่านก็แทบจะไม่มีเลย  เราระดับล่างต้องแบกรับทุกเรื่องทั้งเรื่องปัญหาคน ปัญหายอดผลิต ปัญหาคุณภาพงาน เราได้โต้แย้งนายจ้างไปแล้วแต่นายจ้างก็ยังเพิกเฉยยืนยันจะทำตามที่ได้ตัดสินใจไปแล้ว
                    การกระทำของนายจ้างในครั้งนี้ไม่ได้ทำให้นายจ้างได้รับประโยชน์ลดค่าใช้จ่ายตามที่นายจ้างกล่าวอ้างมากมายเลย  แต่กลับเป็นผลเสียต่อนายจ้างมากกว่าที่มาสร้างข้อขัดแย้ง สร้างให้เกิดความไม่พอใจในการกระทำที่ไม่เป็นธรรม ทำให้ลูกจ้างสูญเสียแรงจูงใจในการทำงาน ถ้านายจ้างจะลดสวัสดิการควรลดมาจากระดับสูงลงมา แทนที่จะมาลดจากระดับล่างขึ้นบน ระดับสูงควรทำเป็นตัวอย่างในการลดค่าใช้จ่ายบริษัท ทำความเข้าใจกับทุกระดับ แต่ที่นายจ้างกระทำในครั้งนี้เป็นการเลือกปฏิบัติ
                    และยังมีเสียงกระซิบจากนายจ้างว่าใครรับสภาพการจ้างใหม่นี้ไม่ได้ก็ขอให้ลาออกไปเองจะได้ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ซึ่งนายจ้างได้กดดันเราเข้าจน จนมุมจนเราไม่มีทางไปต้องยอมรับ  วันนี้เรายังไม่มีทางออกทางอื่นจึงจำใจยังอยู่ทำงานต่อ แต่ก็อยู่อย่างรู้สึกว่ามีการกระทำไม่เป็นธรรม นายจ้างกระทำขัดต่อกฎหมายแรงงาน ถ้าเราร้องต่อศาลแรงงานให้นายจ้างยกเลิกคำสั่งนั้น นายจ้างก็จะมีอารมณ์โกรธเราแล้วยกหาเหตุผลต่างๆ มาบอกเลิกจ้างเรา ซึ่งกฎหมายเอื้อประโยชน์ในนายจ้างมากกว่า นายจ้างไม่ได้ใช้หลักแรงงานสัมพันธ์ ที่จะให้ทุกฝ่ายชนะ ชนะ เพื่อสันติสุขในองค์กร เราเสนอทางออกให้นายจ้างแต่นายจ้างไม่รับข้อเสนอเลยอ้างแต่ว่าฝ่ายบริหารระดับสูงรับไม่ได้
 
จึงเรียนมาเพื่อขอคำปรึกษาอาจารย์ดังนี้
 
1.ถ้าเราไม่ยอมเซ็นต์หนังสือยินยอมที่นายจ้างเขียนขึ้นมา แต่ปล่อยไปตามสภาพที่นายจ้างขอมา จะถือว่าลูกจ้างยอมรับการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยปริยายหรือไม่
 
2.เราควรทำเป็นหนังสือไม่ยอมรับการขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโต้แย้งนายจ้างหรือไม่ (เพราะถ้าทำเป็นหนังสือโต้แย้งนายจ้างมีความเป็นไปได้ที่นายจางจะไม่พอใจเราแล้วหาทางกลั่นแกล้งบอกเลิกจ้างเราได้)
 
3.เราควรร้องต่อศาลแรงงานให้ศาลพิจารณาสั่งให้นายจ้างมีการกระทำที่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง เลยหรือไม่หากนายจ้างไม่มีทางออกหลังจากลูกจ้างได้ทำตามข้อ 2 ไปแล้ว (ซึ่งถ้าเรื่องถึงศาลแรงงานจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างแตกไม่สามารถต่อกันได้ ลูกจ้างอย่างพวกเราอาจถูกบีบให้ลาออก หรือถูกเลิกจ้าง)
 
4. อยากขอให้อาจารย์แนะนำทางออกให้ลูกจ้างด้วยครับ
 
ขอแสดงความนับถือ

จากลูกจ้างที่ไม่มีอำนาจต่อรองและถูกกระทำที่ไม่เป็นธรรม



ผู้ตั้งกระทู้ SS :: วันที่ลงประกาศ 2009-09-27 12:25:38


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (4197791)

หน้าที่หลักๆของน้ำยาหล่อเย็น (Coolant) คือ
- ปรับจุดเดือดของน้ำให้สูงขึ้นเพื่อทำให้น้ำไม่ระเหยที่ระบบควบคุมความร้อนเวลาเครื่องยนต์ร้อนมาก
- ปกป้องน้ำในระบบจัดการความร้อนไม่ให้แข็งตัวในจังหวะสตาร์ทเครื่องยนต์(พื้นที่ที่หนาว)
- ป้องกันไม่ให้มี การผุกร่อน ตะกอน การอุดตัน สนิม ในรังผึ้งของหม้อน้ำ และยังหล่อลื่นซีลปั๊มน้ำ,ปั๊มน้ำ,วาล์วน้ำ

ผู้แสดงความคิดเห็น ขนมจีน วันที่ตอบ 2017-07-04 14:22:36



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.