ReadyPlanet.com


ดื่มเหล้านอกโรงงาน


ท่านที่ปรึกษาคะ ระเบียบบริษัทเขียนไว้ว่าห้ามดื่มสุราขณะปฏิบัติหน้าที่ ฝ่าฝืนจะถูกเลิกจ้างโดยไม่จ่ายเงินชดเชยได ๆ แต่มีพนักงานท่านหนึ่งดื่มจากข้างนอกแล้วจึงเข้ามาปฏิบัติงาน ฝ่ายโรงงานเห็นว่าหากปล่อยไว้จะเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานได้เพราะลูกจ้างทำงานกียวกับเครื่องจักรที่เสี่ยงอันตรายหากประมาท ผู้บริหารต่างชาติให้เลิกจ้าง เช่นนี้บริษัทไม่จ่ายเงิดเชยได้หรือไม่จากการอ้างเหตุดังกล่าว หรือไม่ก็ออกประกาศเพิ่มเติมแล้วรอเวลาจึงลงโทษ



ผู้ตั้งกระทู้ bk :: วันที่ลงประกาศ 2010-08-22 09:24:16


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3204962)

หากเขียนเพียงว่า ห้ามดื่มสุราในขณะปฏิบัติหน้าที่ เท่านั้น การพิจารณาโทษทางวินัย ก็จะลงโทษได้เพียงกรณีเอาสุรามาดื่มในขณะทำงานแต่ไม่ห้ามดื่มจากภายนอกเข้ามา การลงโทาในเรื่องนี้ไม่น่าจะทำได้

แต่หากลูดจ้างดื่มเหล้าจากภายนอกเข้ามา มีอาการมึนเมา หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ นายจ้างสามารถให้ลูกจ้างหยุดปฏิบัติงานในวันนั้นแล้วให้กลับบ้านไป ถือว่าวันนั้นเป็นการขาดงานก็สามารถทำได้ แต่ก้ไม่ได้ฝ่าฝืนระเบียบเพราะไม่ได้ดื่มในจณะปฏิบัติหน้าที่

แต่การเลิกจ้าง โดยไม่จ่ายค่าชดเชย ถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรง หากไม่มีระเบียบเขียนไว้ ก้ไม่ถือเป้นเรื่องร้ายแรง และไม่ถือว่าเป้นความผิด ดังนั้นลูกจ้างสามารถฟ้องร้องเรียกค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้

การประกาศออกมาภายหลังสามารถทำได้ แต่ลงโทษไม่ได้ เพราะความผิดเกิดก่อนประกาศ จึงไม่มีผลย้อนหลัง

หากทำประกาศใหม่ ก็ต้องรอให้พนักงานฝ่าฝืนอีกครั้ง ก็สามารถลงโทษได้ น่าจะอธิบายชาวต่างชาติฟัง เพราะกฏหมายแรงงานไทย ไม่เหมือนกฏหมายต่างชาติ เคยมีนายจ้างชาวสิงคโปร์ ถามว่าทำไมเลิกจ้างพนักงานไม่ได้ ถ้าเกิดเรื่องที่สิงคโปร์ ก็ออกไปนานแล้ว นายจ้างชาวต่างชาติมักไม่เข้าใจพื้นฐานกฎหมายไทย ควรต้องอธิบายให้ทราบ 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2010-08-22 20:57:44


ความคิดเห็นที่ 2 (3205035)

หากให้พนักงานกลับบ้านและให้ถือว่าขาดงาน อย่างนี้สามารถออกใบเตือนได้หรือไม่ว่าพนักงานละทิ้งหน้าที่ ขอบคุณค่ะทีให้คำชี้แนะ

ผู้แสดงความคิดเห็น bk วันที่ตอบ 2010-08-23 10:10:03


ความคิดเห็นที่ 3 (3205053)

ในกรณีบริษัท เห็นว่าไม่สามารถทำงานได้ ก็ให้กลับบ้านไปและไม่จ่ายค่าจ้างในวันนั้น ถือว่าไม่เป็นวันทำงาน เมื่อไม่จ่ายค่าจ้างแล้ว คงลงโทษทางวินัยไม่ได้ เนื่องจากเป็นความประสงค์ของนายจ้างที่ต้องการป้องกันอันตรายจากการทำงานเนื่องจากพนักงานไม่มีความพร้อมที่จะทำงาน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2010-08-23 11:00:56


ความคิดเห็นที่ 4 (3205286)

รบกวนอีกครั้งค่ะ เนื่องจากหากพนักงานไม่ได้หยุดงานจะได้รับเบี้ยขยันทั้งรายเดือนและรายปีซึ่งเป็นเงินค่อนข้างมาก หากไม่จ่ายค่าจ้างก็ไม่ต้องจ่ายเงินสวัสดิการดังกล่าว ลูกจ้างจะอ้างเหตุที่ว่าเพราะเป็นความประสงค์ของนายจ้างที่ไม่ให้เขาเข้าทำงาน ไม่เกี่ยวกับการที่จะไม่จ่ายเบี้ยขยัน หากเป็นอย่างนี้จะทำอย่างไรคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น bk วันที่ตอบ 2010-08-23 16:07:27


ความคิดเห็นที่ 5 (3205307)

หากลูกจ้างไม่พร้อมที่จะทำงาน นายจ้างให้กลับบ้านไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ถือว่าวันดังกล่าวลูกจ้างไม่มาทำงาน ก็ไม่ต้องจ่ายเบี้ยขยันให้ ลูกจ้างกินเหล้าแล้วเข้ามาทำงานในอาการที่ไม่สามารถทำงานด้วยความปลอดภัยได้ สามารถกล่าวอ้างกับลูกจ้างได้ว่า การที่นายจ้างให้กลับบ้านไปก็เพื่อความปลอดภัยของลูกจ้างเอง เพื่อนร่วมงาน และทรัพย์สินของนายจ้างด้วย ดังนั้นไม่ต้องจ่ายเบี้ยขยันให้ก็สามารถทำได้

หากลูกจ้างไม่กินเหล้าเข้ามาและมีการอารไม่พร้อมที่จะทำงาน ก็ไม่สามารถทำงานได้ในวันนั้น ก็ให้ลูกจ้างกลับบ้านไป ถือว่าไม่ได้มาทำงานในวันนั้น 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2010-08-23 16:38:36


ความคิดเห็นที่ 6 (3205315)

ขอบคุณเป็นอย่างสูงค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น bk วันที่ตอบ 2010-08-23 16:52:01


ความคิดเห็นที่ 7 (3717053)

 รบกวนสอบถามอีกคนน่ะครับ พอดีว่าวันนั้นทางโรงงานได้จัดให้พนักงานรายเดือนไปเข้าร่วมกิจกรรมสัมนาที่จ.ชลบุรี เรื่องมีอยู่ว่า ได้มีพนักงานดื่มสุราบนรถทัวร์ขณะที่เดินทางไปร่วมสัมมนา ซึ่งในที่นี้ทางโรงงานไม่ได้ติดประกาศบอกให้พนักงานทราบล่วงหน้าเลย เกี่ยวกับเรื่องดื่มสุราบนรถ แต่พอกลับมาถึงโรงงานเขาได้เรียกให้พนักงานที่ดื่มสุราบนรถไปเขียนสำนวนเพื่อให้เซนรับทราบเกี่ยวกับการทำความผิดในครั้งนี้ แต่ยังไม่พอหลังจากนั้นประมาณ3สัปดาห์เขาก็ได้เรียกพนักงานเข้าไปอีกรอบ เพื่อที่จะเซนรับทราบข้อกล่าวหาเบื้องต้นโดยได้มีการแจกฝเพื่อที่จะเซนรับทราบข้อกล่าวหาเบื้องต้นโดยได้มีการแจกฝเพื่อที่จะเซนรับทราบข้อกล่าวหาเบื้องต้นโดยได้มีการแจกใบเตือนให้กับพนักงานที่ดื่มสุราเพื่อที่จะเซนรับทราบข้อกล่าวหาเบื้องต้น ซึ่งในครั้งนี้มีการแจกใบเตือนให้แก่พนักงานเป็นบางคนเท่านั้น ย้ำเป็นบางคนเท่านั้นครับ ซึ่งผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเขาเอาอะไรมาเป็นตัวชี้วัดในการให้ใบเตือนในครั้งนี้ ซึ่งนี่เป็นเพียงการกระทำความผิดเพียงครั้งแรกครับ แบบนี้พนักงานสามารถไม่เซนรับรองใบเตือนได้ไหมครับ ขอบคุณล่วงหน้าน่ะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น teenoi วันที่ตอบ 2014-10-05 21:00:31


ความคิดเห็นที่ 8 (3781578)

 ขอถ่ามหน่อนนะครับ..อย่างกรณีพนักงานออกไปข้างนอกเวลาเบรคแล้วมีการดื่มแอลกอฮอมานิดหน่อยแล้วกลับเข้ามาทำงาน แต่ทางบริษัทมีการตรวจแอลกอฮอ

ก่อนเข้าทำงาน แล้วพนักงานก็ไมได้มาตรวจ แต่โทรลาโดยใช้สิทการลาฉุกเฉินซึ่งมีอยู่ในกฎของบริษัท ทางหัวหน้างานรับทราบแล้วให้ลา แต่ทางฝ่านบุคลไม่ให้ลา ให้เป็นการขาดงานใน4ชั่วโมงหลัง แล้วบอกว่าจะทำการเรียกมาสอบสวนในวันหลัง อยากทราบว่าบริษัทมีสิทที่จะให้พนักงานออกงานใด้หรือป่าวครับ        (ดื่มมาแต่ไม่เมานะครับ)

ผู้แสดงความคิดเห็น K1 วันที่ตอบ 2015-03-07 23:07:37


ความคิดเห็นที่ 9 (3880231)

คห8

 อำนาจอนุมัติการลาเป็นของใคร

ถ้าเปนของ หน.งาน ก็จบ ลาแล้วก็ไปนอน เวลาเป็นของคุณแล้ว 

แต่ถ้า เป็นอำนาจของฝ่ายบุคคล หน.งานต้องร่วมรับผิดชอบไม่มีอำนาจแล้วให้ลูกน้องลาทำไม หน.งานก็แก้ตัวไป ผมเห็นว่ามันเมาก็เลยให้มันลา ให้มันเป่า ก็เจออยู่ดี มันก็ต้องไม่ได้ทำงานอยู่ดี หรืออะไรก็ว่าไปที่ให้มันลา

ถ้าตีเป็นขาดงานละทิ้งหน้าที่ ก็ลงโทษ ข้อหาละทิ้งหน้าที่ไม่มีเหตุผลสมควร 4 ชม.สอบสวนชี้แจงยังไง มันจะเมา จะหนีไปเที่ยว ก็เรื่องของมันก็เข้าข้อหาขาดงานละทิ้งหน้าที่ อยู่นั่นแหล่ะ

ขาดงาน 4 ชม ยังไม่ใช่ความผิดร้ายแรง ระเบียบให้ลงโทษสถานใดก็ตามนั้น ไล่ออกทันทีไม่ได้

ถ้าระเบียบมีโทษเจตนาหลีกเลี่ยงไม่ยอมเป่า ก็พิสูจน์ยากนะ

โทษไม่ร้ายแรง ต้องออกหนังสือตักเตือนก่อน  ภายในหนึ่งปีทำผิดซ้ำจึงไล่ออกได้

ผู้แสดงความคิดเห็น ผ่านมา วันที่ตอบ 2015-10-07 12:15:58


ความคิดเห็นที่ 10 (3881700)

ขอสอบถามค่ะ พนักงานทำงานในตำแหน่งช่างซ่อมบำรุง และได้แอบออกไปนอกสถานประกอบการ ขณะช่วงเวลาที่ปฏิบัติงานอยู่ เพื่อไปดิ่มเบียร์ด้านนอก และในขณะนั้นภายในสถานประกอบการได้เกิดเหตุขัดข้อง ซึ่งต้องให้ช่างมาช่วยตรวจสอบ แต่ไม่สามารถติดต่อช่างคนดังกล่าวได้  และเหตุขัดข้องดังกล่าวได้ก่อให้เกิดปัญหาในการบริการลูกค้าของสถานประกอบการ  และได้มีคนแจ้งมาว่าได้พบช่างคนดังกล่าวออกไปดื่มเบียร์ด้านนอก  จากเหตุการณ์ดังกล่าว สามารถเลิกจ้างพนักงานได้หรือไม่ค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น sirikan วันที่ตอบ 2015-10-11 21:08:04


ความคิดเห็นที่ 11 (3885167)
ถ้าโรงงานออกกฏมาว่า พนักงานที่ขับรถจักรยานยนต์มาทำงาน ต้องสวมใส่หมวกกันน็อค แต่พนักงาน มาโรงงานหลังเลิกงานเพราะมาหาเพื่อนในเวลาพัก และใส่หมวกแต่ไม่รัดสายรัดคาง ทางคนญี่ปุ่นจะให้ใบเตือนได้หรือไม่ และกฏบอกว่าต้องเดือนด้วยวาจาก่อน ออกใบเตือน การเตือนด้วยวาจาต้องมีลายลักษณ์อักษรหรือไม่ครับ ที่บริษัทคนญี่ปุ่นที่เป็นลูกจ้างแต่ได้รับตำแหน่งเป็น directer ใช้อำนาจจนพนักงานเอือมระอาแต่ไม่สามารถทำอะไรได้เพราะเจ้าของโรงงานที่เป็นญี่ปุ่นด้วยกันฟังเขาคนเดียว
ผู้แสดงความคิดเห็น kai วันที่ตอบ 2015-10-20 09:38:50


ความคิดเห็นที่ 12 (4197092)

HACCP คือ Hazard Analysis Critical Control Point ซึ่งหมายถึง จุดวิกฤตที่ต้องควบคุมและการคาดการอันตรายการผลิตอาหารเป็นหลักเกณฑ์ในการส่งออกผลิตภัณฑ์ทั่วโลก เพื่อความไว้วางใจและตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหาร มุ่งเน้นดูแลตั้งแต่วัตถุดิบกระทั่งตัวสินค้าถึงมือผู้ซื้อเลยธุรกิจ โรงงานผลิตลิปสติก เดี๋ยวนี้กำลังเติบโตขึ้นอย่างมากมาย

ผู้แสดงความคิดเห็น worawoot วันที่ตอบ 2017-06-30 10:54:10


ความคิดเห็นที่ 13 (4297920)

ผมขอสอบถามน่อยคับ

คือวันนั้นผมเข้ากะดึก แต่ผมดื่มสุราไป แล้วผมไปสาย ผมเลยไม่สแกนนิ้ว ผมเลยจะเดินเข้าไปเขียนใบลาในโรงงาน แต่ รปภ ไม่ให้ผมเข้า ผมก็บอกว่ามันสายผมเลยไม่สอกนนิ้ว เพราะยังไงผมต้องลายุแล้ว แล้ว รปภ ก็ให้ผมเป่า แฮลกอฮ่อ มันเกินไป 189 แล้วผมก็ไม่หนี้ไปไน ผมก็กลับมาโรงรถ ขับรถกลับห้อง 

ผู้แสดงความคิดเห็น Nut (Inutkub-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2019-03-03 21:00:56



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.