ReadyPlanet.com


ยื่นเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง แล้วพนักงานร่วมใจกันหยุดทำ โอที,แถมด้วย slowdown


    ลูกจ้าง(สหภาพแรงงาน) ยื่นข้อเรียกร้องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างแล้วร่วมใจกันหยุดทำ โอที ตามด้วยการทำงานแบบ slow down เพื่อกดดันให้นายจ้างยอมรับข้อเรียกร้อง จะทำอย่างไรดีครับ เห็นใจนายจ้างๆก็ยอมหลายข้อแต่มีบางข้อที่นายจ้างไม่ยอม เพราะเป็นอำนาจของนายจ้าง จะช่วยนายจ้างอย่างไรดีครับ

                                                                                  มังคุดคัด



ผู้ตั้งกระทู้ มังคุดคัด :: วันที่ลงประกาศ 2009-09-25 09:42:43


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3056570)

ต้องบอกว่า เป็นวิธีการปกติ ของสหภาพแรงงานเพื่อกดดันนายจ้างให้ได้ตามข้อเรียกร้องที่จะไม่ทำงานล่วงเวลา แต่การ slow down นั้น เป้นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ซึ่งเป้นความผิดร้ายแรง หากนายจ้างสามารถพิสูจน์ได้ว่า มีการหน่วงงานจริง และสหภาพแรงงานเป็นผู้จัดการให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว สหภาพแรงงานก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 121 ซึ่งเป็นโทษสถานร้ายแรงที่สามารถเลิกจ้างได้

ทางที่ดีเรียกสหภาพมาคุยกันดีๆ ให้ทำตามกฎหมายดีกว่า หากตกลงกันไม่ได้ ก็ใช้ขั้นตอนตามกฎหมาย ดีกว่าจะใช้วิธีการแบบนี้ จะนัดหยุดงาน หรือปิดงานงดจ้างก็ว่ากันไป อย่าใช้วิธีแรงงานสัมพันธ์แบบกองโจร ที่จะไม่เกิดผลดี้งสองฝ่าย

และที่ปรึกษาควรต้องช่วยพูดและเจรจาให้เข้าตามระบบ ส่นใหญ่แล้ว เป็นการใช้กฎหมู่มาข่มขู่กันก็นับว่าไม่ถูกต้อง การแรงงานสัมพันธ์ เป็นเรื่องของการเห็นอกเห็นใจกัน การอยู่ร่วมกัน

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2009-09-28 10:42:59


ความคิดเห็นที่ 2 (3057013)

เรียนคุณที่ปรึกษา บริษัทก็กำลังเจอกับเหตุการณ์นี้อยู่ แต่พวกสหภาพกดดันโดยการไม่ยอมทำงานล่วงเวลาทำให้ไม่สามารถส่งสินค้าได้ทันตามกำหนด แต่เวลาทำงานพวกเขาก็ทำงานตามปกติ อย่างนี้สามารถเอาผิดกับสหภาพได้หรือไม่

ผู้แสดงความคิดเห็น นิ่ม วันที่ตอบ 2009-09-29 06:39:10


ความคิดเห็นที่ 3 (3057029)

ในเรื่องของการทำงานล่วงเวลา เป็นสิทธิของลูกจ้างที่จะทำหรือไม่ก็ได้ นายจ้างไม่สามารถบังคับได้ ยกเว้นงานที่ต้องทำต่อเนื่องตลอดเวลาหากหยุดก็จะเสียหายกับงาน เช่นการขับรถส่งปูนซีเมนต์สำเร็จรูป เช่นนี้ นายจ้างสามารถสั่งทำงานล่วงเวลาได้โดยลูกจ้างต้องทำ

การที่สหภาพไปบอกให้พนักงานไม่ทำงานล่วงเวลา สหภาพสามารถทำได้โดยไม่ผิดกฎหมายอะไร เป็นการบีบบังคับให้นายจ้างต้องยินยอมตามความต้องการของสหภาพ และสหภาพเองก็ต้องการให้บริษัท เสียหายจนต้องยินยอมตามที่เรียกร้อง 

นายจ้างเองคงต้องหาทางรับมือกับสถานะการณ์เช่นนี้ โดยอาจต้องใช้จ่ายเงินมากขึ้นที่จะต้อง

1. เอางานออกไปจ้างบริษัทภายนอกทำ

2. จัดหาคนงานหรือ subcontract มาเพิ่มเพื่อให้สามารถทำงานออกได้ทัน ซึ่งหากเพิ่มคนขึ้นมา สหภาพคงต้องสั่งให้เฉี่อยงาน หากพิสูจน์ได้ว่า สหภาพหรือพนักงานทำการเฉื่อยงาน ก็สามารถลงโทษสถานหนักได้

คงต้องคุยกับฝ่ายนายจ้างเองว่า จะเอาอย่างไรต่อไป การเจรจาอยู่ที่ฝ่ายนายจ้างต้องหาให้ได้ว่า ข้อเรียกร้องใดเป็นข้อเรียกร้องที่เป็นความต้องการจริงๆของลูกจ้าง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินโบนัส หรือการขึ้นเงินเดือนประจำปี ส่วนอื่นๆ เป็นพวกน้ำจิ้ม ได้ก็ดี ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ก็พิจารณาความเป็นไปได้ที่จะจ่าย ได้หรือไม่ มิฉะนั้นคงไม่จบง่ายๆ

หากนายจ้างมาที่ปรึกษาลองปรึกษาเรื่องนี้ดูว่าทางออกที่ดีที่สุดจะเป็นอย่างไร และลองคุยกับที่ปรึกษาของลูกจ้าง นอกรอบดูที่จะให้จบลงโดยความพึงพอใจทั้งสองฝ่าย

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2009-09-29 08:25:14


ความคิดเห็นที่ 4 (3057527)

          ขอบพระคุณที่ปรึกษาอย่างสูงครับ....ต้องหาวิธีพิสูจน์? ท่านใดมีวิธีการพิสูจน์ ในเรื่องการทำงานหน่วง ขอความกรุณาเล่าเป็น วิทยาทาน จักขอบคูณเป็นอย่างสูงเลยครับ

                                                                            มังคุดคัด

ผู้แสดงความคิดเห็น มังคุดคัด วันที่ตอบ 2009-09-29 15:55:49


ความคิดเห็นที่ 5 (3057788)

เรียนคุณที่ปรึกษา จะแก้ปัญหาโดยการเพิ่มเวลาทำงานจาก 2 กะ เป็น 3 กะได้หรือไม่เพราะอยู่ในระหว่างการเจรจา วิธีที่แนะนำมาก็น่าสนใจแต่ด้วยลักษณะงานแล้วการเพิ่มเวลาทำงานจะดีกว่าค่ะ  จะประกาศการเข้าทำงานเป็นกะได้เลยหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาหากมีงานมากก็จะปรับเปลี่ยนให้ทำงานเป็นกะอยู่แล้ว อาจจะรับชั่วคราวเข้ามาอีกนิดหน่อยค่ะ ขอขอบคุณที่ให้คำแนะนำดี ๆ ขอบพระคุณมากค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น นิ่ม วันที่ตอบ 2009-09-30 09:19:11


ความคิดเห็นที่ 6 (3057912)

หากจะเพิ่มกะจาก 2 กะ เป็น  3 กะ ถ้ามีระเบียบรองรับอยู่แล้วก็สามารถดำเนินการได้เลย เช่น ระเบียบมีทั้ง 2 กะและ 3 กะ เช่น กะ 08.00 - 17.00 และ 20.00 - 05.00 และมีอีก 1 ระบบ คือ 07.00 - 15.00, 15.00 - 23.00 และ 23.00 - 07.00 เช่นนี้ สามารถเปลี่ยนได้เลย ไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนสภาพการจ้าง

แต่หากไม่มีระเบียบรองรับ คงไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ คงต้องเจรจากับสหภาพ  และขณะที่กำลังเจรจา  ก็สามารถพูดจากับสหภาพได้ ถึงแม้ไม่มีข้อเรียกร้องก็ตาม

แต่ก่อนเคยทำแต่ปัจจุบันอาจทำไม่ได้ เพราะสหภาพคงไม่ยอม หากยอมก็เป็นเรื่องที่ดี

การเปลี่ยนกะการทำงานไม่แน่ว่าจะช่วยอะไรได้มาก เนื่องจากรายได้พนักงานลดลง เพราะไม่มี O/T

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2009-09-30 13:19:33



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.