ReadyPlanet.com


บริษัทถูกควบรวมกิจการ หากพนักงานไม่เซ็นต์ชื่อโอนย้าย มีผลอย่างไรบ้าง


มีข้อข้องใจขอปรึกษา แต่ขอเกริ่นรายละเอียดก่อนเข้าสู่คำถาม ดังนี้

บริษัท (ก) มีนาย A เป็นเจ้าของบริษัท ได้ประสบภาวะทางเศรษฐกิจ ทำให้ก่อนหน้านี้ มีบริษัท (ข) เข้ามาร่วมถือหุ้นด้วย 49%  ซึ่งมีคณะกรรมการ 5 คน คือ A , B, C, D, E

- กรรมการลงชื่อผูกพัน คือ A, B, C

- บุคคลทำนิติกรรมหรือเอกสารที่ยื่นกับกระทรวงต่างๆ คือ A

 

แต่ปัจจุบัน นายA ได้ขายหุ้นที่เหลือทั้งหมดให้แก่บริษัท (ข) และจะเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท(ข)

ทำให้รายชื่อกรรมการมีการเปลี่ยนแปง คือ B, D, E, F ,G, H, I (สีฟ้า คือ กรรมการเดิม)

- กรรมการลงชื่อผูกพัน คือ B, F, H

- บุคคลทำนิติกรรม หรือ เอกสารที่ยื่นกับกระทรวงต่างๆ คือ F

**ปัจจุบัน นาย A ไม่ได้มีชื่อเป็นกรรมการ แต่กลายมาเป็นลูกจ้างแทน

และจะมีการโอนย้ายพนักงานจากบริษัท(ก) ไป บริษัท(ข) แต่ไม่ได้ย้ายสถานที่ทำงาน  (มีการย้ายพนักงานทั้งหมดจากบริษัท(ข)เข้ามาแทน) และไม่มีการลดเงินเดือนของพนักงาน แต่ยังไม่ทราบเรื่องสวัสดิการว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงหรือไม่ 

ซึ่งบริษัท(ก)จะไม่ทำธุรกรรมใดๆแล้ว จึงจะให้พนักงานทั้งหมดเซ็นต์โอนย้ายไปยังบริษัท(ข)

ขอถามว่า

1. หากพนักงานของบริษัท(ก) ไม่เซ็นต์โอนย้ายไปยังบริษัท(ข) ได้หรือไม่

2. หากไม่เซ็นต์โอนย้ายจะมีผลอย่างไรบ้างกับพนักงาน มีผลทางกฏหมายหรือไม่ และบริษัทสามารถบังคับได้หรือไม่

3. หากไม่เซ็นต์โอนย้าย ยังคงนั่งทำงานต่อ หรือ ควรหยุดงานชั่วคราว เพราะทางบริษัทจะให้เซ็นต์โอนย้ายก่อนประมาณ 1 อาทิตย์ที่จะมีการเปลี่ยนชื่อบริษัท

4. ตามกฏหมายแรงงานไม่ทราบว่า พนักงานมีโอกาสได้รับเงินชดเชยหรือไม่

รบกวนตอบข้อสงสัยด้วยค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ แอน :: วันที่ลงประกาศ 2010-09-13 14:50:01


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3211761)

การเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง(โอนย้ายไปทำงานกับนายจ้างใหม่ นิติบุคคลใหม่ และมีการจดทะเบียบเปลี่ยนแปลงนิติบุคคลใหม่) นายจ้างใหม่ต้องรับไปซึ่งสิทธิและหน้าที่ที่ลูกจ้างมีต่อนายจ้างเก่า ทุกประการ

มาตรา 13 พรบ คุ้มครองแรงงาน 2541 และ

ปพพ มาตรา 577 วรรคหนึ่ง " นายจ้างจะโอนสิทธิให้แก่บุคคลภายนอกก็ได้ เมื่อลูกจ้างยินยอมพร้อมใจด้วย......"

ดังนั้น หากลูกจ้างไม่ยินยอมพร้อมใจ นายจ้างก็ไม่สามารถโดนลูกจ้างไปทำงานกับผู้อื่น หรือ นิติบุคคลอื่นได้ นายจ้างบังคับไม่ได้ หากมีการจดทะเบียบยกเลิกนิติบุคคล เก่า ก็เป็นการเลิกจ้างโดยนิติบุคคลเก่า ก็เป็นหน้าที่ของนิติบุคคลนั้นต้องจ่ายค่าชดเชย ตามกฎหมาย

หากไม่ยินยอมไปก็ต้องนั่งทำงานที่เดิมไป หากนายจ้างมีเจตนาไม่จ่ายค่าจ้างให้ หรือ ตัดน้ำตัดไฟ ไม่ให้สถานที่ทำงาน แสดงว่านายจ้างมีเจตนาที่จะเลิกจ้าง ก็สามารถฟ้องร้องเรียกค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า หรืออาจได้รับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมด้วย 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2010-09-14 11:53:23


ความคิดเห็นที่ 2 (3211861)

ขอบคุณมากค่ะที่ให้ความกระจ่าง

ผู้แสดงความคิดเห็น แอน วันที่ตอบ 2010-09-15 00:52:24


ความคิดเห็นที่ 3 (3211941)

ขอถามต่อยอดนะครับ แล้วถ้าเราโอนย้าย แต่ไม่ได้รับค่าชดเชยก่อนจะมาบริษัทใหม่แล้วบริษัทใหม่เขาจับเซนสัญญา(ออกไปทำงานแบบที่เราทำอยู่จะถูกปรับสองแสน)พร้อมทดลองงานอีกสามเดือน ตอนนี้เดือนที่ห้า 

  คำถาม   ปกติการโอนย้ายบริษัทต้องจ้างออกก่อนโอนย้ายหรือเปล่าครับ

                ถ้าผมต้องการออกไปทำงานในลักษณะงานที่คล้ายกันต้องทำอย่างไรตอนนี้รู้สึกเบื่อ

ผู้แสดงความคิดเห็น เอก (ake790-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2010-09-15 14:52:40


ความคิดเห็นที่ 4 (3212036)

ไม่จำเป็นครับ หากเป็นเรื่องยินยอมพร้อมใจกันทั้งสองฝ่าย และผู้รับโอนต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ที่ของลูกจ้างของผู้โอนทั้งสิ้น เช่น นับอายุงานต่อเนื่อง ค่าตอบแทนเท่าเดิม สวัสดิการไม่เปลี่ยนแปลง และเมื่อคุณได้ลงนามรับการโอนย้าย ไปแล้วก็ถือว่าได้ยอมรับการโอนย้ายไปแล้ว

ในกรณีที่นายจ้างใหม่ให้คุณลงนามที่จะต้องไม่ไปทำงานในลักษณะเดียวกัน จะต้องถูกปรับนั้น หากลงนามไปแล้วก็คงต้องเป็นไปตามนั้น หากคุณฝ่าฝืน นายจ้างก็สามารถใช้เอกสารนั้นฟ้องร้องเรียกเงินจากคุณได้ แต่สัญญานั้นเป็นธรรมหรือไม่อีกเรื่องหนึ่ง สัญญาแบบนี้ศาลฏีกา เคยตัดสินว่า หากไม่ยอมให้ลูกจ้างไปทำงานแบบเดียวกันนั้น ควรต้องมีการระบุเวลาตามความเหมาะสม ซึ่งไม่น่าจะเกิน 3 ปี เพราะเมื่อลูกจ้างออกจากงานไปแล้วจะทำอะไรเลี้ยงชีพ ซึ่งก็ไม่เป็นธรรมกับลูกจ้างเหมือนกัน

ตามที่เรียนไว้ หากนายจ้างใหม่ ยอมรับในสิทธิและหน้าที่ของลูกจ้างเก่าไปด้วย ก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยครับ และลูกจ้างต้องยอมรับด้วย

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2010-09-16 08:24:44


ความคิดเห็นที่ 5 (3232944)

 

ขอถามต่อ นะค่ะ

ขอถามว่า

1. หากพนักงานของบริษัท(ก) เซ็นต์โอนย้ายไปยังบริษัท(ข) แล้ว นายจ้าบริษัท (ข) ลดเงินเดือน 25 % และลดตำแหน่ง อย่างนี้สามารถฟ้องร้องได้หรือไม่

2. การฟ้องร้องนั้นพนักงานได้เซ้นต์การโอนย้ายไปแล้วและลดเงินเดือนลงไป 8 เดือน และระยะเวลาผ่านไปแล้ว 8 เดือนสามารถฟ้องร้องย้อนหลังและเรียกค่าชดเชยที่ลดไปได้หรือไม่

รบกวนตอบข้อสงสัยด้วยค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น แอน วันที่ตอบ 2011-01-10 23:00:38


ความคิดเห็นที่ 6 (3296799)

บริษัท  (ก) ให้บริษัท (ข)  เข้ามาเช่าพื้นที่โดยคิดค่าเช่าและถือหุ้นในบริษัท  (ข) ด้วย 20%  จะโอนย้ายพนักงานจากบริษัท (ก)  ให้ไปอยู่กับ บริษัท ข. พนักงานที่โอนย้ายจาก บริษัท (ก) จะได้รับค่าชดเชยหรือไม่ แล้วถ้าโอนย้ายจริงๆ จะได้รับสวัสดิการเหมือนกับบริษัท (ก) หรือไม่

 

ผู้แสดงความคิดเห็น นี วันที่ตอบ 2012-08-25 16:25:41


ความคิดเห็นที่ 7 (3847226)

 บริษัท (ก) และบริษัท (ข) ทำการร่วมทุน และก่อตั้งบริษัท (ค) ขึ้นมา ต่อมาบริษัท (ข) ทำการซื้อกิจการของบริษัท (ค) ทั้งหมดโดยการซื้อหุ้นทั้งหมดที่บริษัท (ก)ถือครอง และทำการเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท (ง) แต่ยังคงใช้เลขที่นิติบุคคลเลขที่เดิม สถานที่บฏิบัติงงานก็ยังคงเดิม

1. บริษัท (ง) ถือว่าเป็นบริษัทใหม่หรือไม่ ในทางกฏหมาย

2. กรณีถ้าพนักงานไม่ยอมไปทำงานบริษัท (ง) พนักงานมีสิทธ์ ได้รับเงินชดเชยหรือไม่ (ยอมตกงาน)

ผู้แสดงความคิดเห็น ป. วันที่ตอบ 2015-07-26 11:51:44


ความคิดเห็นที่ 8 (4193602)

สอบถามครับ กรณีบริษัทของผมตอนนี้กำลังจะมีการซื้อขายกิจการจา ซึ่งมีการซื้อขาด100%ไม่มีหุ้นร่วมแล้วทางบริษัทเก่าที่ผมทำงานอยู่จะทำการโอนย้ายพนักงานและอายุงานและสวัสดิการต่างให้ทางบริษัทใหม่ รับผิดชอบ โดยให้พนักงานเขียนใบลาออกจากบริษัทเดิมแล้วกรอกใบสมัครของบริษัทใหม่ผมอยากทราบว่าพนักงานจะได้ค่าเงินชดเชย จากบริษีทเดิมหรือไม่ครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น แสงสุดท้าย วันที่ตอบ 2017-06-15 17:14:10


ความคิดเห็นที่ 9 (4306479)

 ขอสอบถามครับเนื่องจากโรงแรมผมได้ทำการจ้างบริษัทฯใหม่เข้ามาบริหารโรงแรม โดยการเปลืี่ยนชื่อนิติบุคคล จากเดิมเป็นชื่ออื่น และเปลี่ยนแปลงผู้บริหารเป็นบริษัทฯต่างชาติโดยการย้ายโอนพนักงานเก่าไปทั้งหมดอายุงานเหมือนเดิม เงินเดือนเท่าเดิม มีการเซ็นสํญญาโอนย้ายใหม่ แต่มีพนักงานบางท่านไม่ยินยอมที่จะไปต่อกับผู้บริหารใหม่ เราสามารถปฎิเสธได้หรือไม่ แล้วทางนิติบุคคลเดิมต้องจ่ายชดเชยให้หรือไม่ครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ฺSam วันที่ตอบ 2019-05-01 09:06:12


ความคิดเห็นที่ 10 (4317657)

 🏁ขออนุญาติสอบถามครับ กรณีสัญญาจ้างแรงงาน เป็นกรณีการควบรวมกิจการ

-ซึ่งบริษัท(ก)ขายเครื่องมือช่างเลิกจ้างพนักงาน มีผลวันที่1 ส.ค. พ.ศ.2562 แต่ทางบริษัท(ก)ได้แจ้งพนักงานวันที่ 4 ก.ค. พ.ศ.2562 ในที่ประชุม แต่มิได้ทำเป็นหนังสือลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด บริษัท(ก)สามารถโอนย้ายพนักงานไปบริษัท(ข)ขายสี ได้หรือไม่หากพนักงานไม่ยินยอม -กรณีหากทางบริษัท(ก)นายจ้าง แค่บอกกล่าวในที่ประชุม แต่มิได้ทำเป็นหนังสือลายลักษณ์อักษรแค่แจ้งพนักงานว่า จะยกเลิกขายผลิตภัณฑ์หรือเลิกกิจการมีผล วันที่1 ม.ค. พ.ศ.2563
-กรณี หากพนักงานไม่ยินยอมโอนย้ายไป บริษัท(ข) พนักงานจะได้รับเงินชดเชยจากบริษัท(ก)นายจ้างหรือไม่ หากข้อเท็จจริงพิสูจน์ได้ว่าพนักงานอายุงานกว่า 4ปี รวมด้วยระยะเวลาทดลองงานเข้าด้วยกัน
ผู้แสดงความคิดเห็น นาวิน วันที่ตอบ 2019-07-10 01:18:42



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.