ReadyPlanet.com


การโอนย้ายพนักงานสาขาไปบริษัทในเครือ


บริษัทฯ แจ้งว่าเนื่องจากสาขามีผลประกอบการขาดทุน บฯ จึงมีความจำเป็นที่จะมีแผนปรับปรุงและปิดสาขา ได้ให้ข้อเสนอแก่พนักงานสาขา 3 ข้อดังนี้

1. โอนย้ายจากบริษัทฯ เดิม (บริษัทแม่)  ไปยังบริษัทในเครือ (ที่บฯ แม่ถือหุ้น 100%) โดยได้รับทุกอย่างเหมือนเดิม เช่น ทำงานสถานที่เดิม เงินเดือน สวัสดิการทุกอย่างเหมือนเดิม

2. โอนย้ายจากสาขาเข้า  สนญ.  สวัสดิการเหมือนเิดิม, แต่ต้องผ่านการสัมภาษณ์งานจากต้นสังกัดใหม่, ไม่รับค่าเช่าบ้าน สำหรับค่าน้ำมันค่ามือถือขึ้นอยู่กับตำแหน่งและหัวหน้างานใหม่ ว่าสมควรได้รับหรือไม่

3. ยินยอมลาออก โดยได้รับเงินช่วยเหลือจากบฯ ในอัตราเดียวกับกฎหมายแรงงาน

หากเลือกข้อ 1

- อายุงานสามารถนับต่อเนื่องได้หรือไม่ หากกรณีโอนย้ายไปแล้ว บฯ ปิดตัวลงเนื่องจากขาดทุน จะได้รับเงินชดเชยตามอายุงานอย่างไร

- ในสัญญาจ้างงานของบฯ ในเครือ ระบุว่า "โดยนับอายุการทำงานต่อจากวันแรกที่พนักงานลาออกจากบฯแม่" => หมายความว่าอย่างไร

กรณีเช่นนี้  เราขอให้บฯ เลิกจ้างและขอรับเงินชดเชยตาม ม.118 ได้หรือไม่



ผู้ตั้งกระทู้ หมาน้อยจนตรอก :: วันที่ลงประกาศ 2013-05-02 15:56:15


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3310056)

1. หากโอนย้ายจากบริษัทหนึ่งไปอีกบริษัทหนึ่งโดยได้รับความยินยอมจากทั้งสองบริษัท และตัวพนักงานด้วย ต้องนับอายุงานต่อเนื่อง หากไม่นับก็ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมาย ตามอายุงาน ตามมาตรา 118 พรบ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ไม่ว่านายจ้างใหม่จะปิดกิจการไปด้วยหรือไม่ก็ต้องนับอายุงานต่อเนื่อง

2. หากตีความก็เข้าใจว่าเป็นการนับอายุงานเริ่มตั้งแต่ลาออกจากบริษัทแม่ เพราะการนับอายุงานต่อเนื่องจากบริษัท แม่น่าจะเขียนว่า นับอายุงานตั้งแต่เริ่มต้นที่ทำงานกับบริษัทแม่มากกว่าครับ ลองไปถาม HR ของบริษัทดูอีกครั้งหนึ่งแล้วให้เจียนวันเข้าทำงานลงไปด้วย จะปลอดภัยกว่าครับ

3. หากคุณไม่ยอมโอนย้ายไป บริษัทแม่ก็ยังต้องจ่ายเงินเดือนให้คุณ หากไม่จ่ายเงินเดือน ไม่มีงานให้ทำ ไม่ให้ทำงานก็ถือว่าเลิกจ้าง สามารถฟ้องเรียกค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้าไป อาจได้รับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมด้วย

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2013-05-02 20:11:38


ความคิดเห็นที่ 2 (3310152)

 ขอเรียนถามเพิ่มเติมอีกครั้งครับ

กรณีเช่นนี้ พนักงานมีสิทธิ์ปฏิเสธ ไม่เลือกทางเลือก ทั้ง 3 ที่บริษัทฯ เสนอมา แต่เลือกเป็น 

ให้บริษัทเลิกจ้าง และขอรับเงินชดเชยตามกม. ม118 ไ้ด้หรือไม่ครับ

ขอบคุณอีกครั้งครับผม

ผู้แสดงความคิดเห็น หมาน้อยจนตรอก วันที่ตอบ 2013-05-05 19:37:01


ความคิดเห็นที่ 3 (3310158)

ผมอ่านอีกครั้งหนึ่ง การย้ายสาขาหนึ่งไปอีกสาขาหนึ่ง ของบริษัทเดียวกัน ถือว่าเป็นสิทธิของนายจ้างที่สามารถโอนย้ายได้ไม่ผิดกฎหมาย หากไม่ไปคุณก็จะถูกถือว่าละทิ้งหน้าที่ แต่การย้ายนายจ้างจาก A ไป B ซึ่งเป็นคนละนิติบุคคล แม้จะเป็นเจ้าของคนเดียวกัน นายจ้างไม่สามารถทำได้หากไม่ได้รับความยินยอมจากคุณ

ทางเลือกของคุณมีสิทธิเสนอให้นายจ้างครับ แต่นายจ้างจะเอาด้วยหรือไม่ก็อีกเรื่องหนึ่ง หากนายจ้างไม่เอา คุณอยู่ที่เดิม นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างให้ ลองคุยดูครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2013-05-06 09:51:33


ความคิดเห็นที่ 4 (3917346)

กรณีดังกล่าว จะต้องมีเอกสารบันทึกข้อตกลง หรือใบโอนย้าย และจะต้องเขียนรายละเอียดอะไรบ้างค่ะ กรณีโอนย้ายไปบริษัทในเครือ

ซึ่งได้รับสวัสดิการทุกอย่างเหมือนเดิม

 

ผู้แสดงความคิดเห็น คิดไม่ออก วันที่ตอบ 2015-12-22 13:32:48


ความคิดเห็นที่ 5 (4252451)

 มีปัญหาคะว่า เดิมที แรกเริ่มทำงานบริษัท ก. ทำไปได้  8 เดือน HR แจ้งให้ย้ายไป ทำบริษัท ข.ในเครือ ก็ยอมไป แต่ก่อนไปถาม HR ว่าอายุงานนับต่อหรือไม่คำตอบคือนับต่อเนื่อง เลย พอย้ายไปสักพัก HR เอาใบลาออกจากบริษัท ก

.ให้เซ็น ก็ยอมเซน แต่ถาม HR ว่ามีผลอะไรกับอายุงานหรือไม่ คำตอบเหมือนเดิม ตั้งแค่นั้นมา โบนัส พักร้อน ป่วยกิจ ได้ตามอานุงานปกติคือนับรวมกับ บริษัท ก. คิดแยกออกมา บริษัท ก.ทำ8 เดือน บริษัท ข

.ต.ค 58 ถึงปัจจุบัน   ราวๆ2ปีกว่า จนปัจจุบัน บริษัท ข.ส่อแววจะปิดตัว และจ้างออก เพราะขาดทุน จึงถามHR ว่าอายุงานยังรับรวมเหมือนเดิมหรือไม่ คำตอบคือ ไม่ แจ้งว่า บริษัทที่จ้างออกคือ บริษัท ก. ไม่ใช่บริษัท ข.เปนแบบนี้เราเลยคิดว่าเสียเปรียบเพราะ กฏหมายจ้างออก อายุงาน 3ปี -6ปี ได้ชดเชย 180 วัน พอคิดแบบนี้ อายุงานเราหายไป 8 เดือน เหลือแค่2ปี ได้ชดเชยแค่ 90 วัน ตามกฏหมาย เสียเปรียบมาก เลยอยากถามผู้รู้ว่าจริงๆแล้วเค้าต้องนับอายุงานแบบไหน กันแน่ มีกำหนดเลิกจ้างอย่างไม่เปนทางการราวๆเดือน สิงหาคม 2561 นี้  รบกวนผู้รู้ช่วยตอบด้วยนะคะ ขอบพระคุณอย่างสูงคะ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น kow วันที่ตอบ 2018-05-13 21:42:52



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.