ReadyPlanet.com


เรียนท่านที่ปรึกษา


คำว่า อาณาเขตของบริษัท หมายความรวมถึงที่ไดบ้างคะ รบกวนด้วยค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ bk :: วันที่ลงประกาศ 2011-02-23 09:19:17


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3238083)

1. ภายใต้รั้วรอบขอบชิดของ สถานประกอบการ โรงงาน อาคารสำนักงาน

2. สถานที่ที่บริษัท ได้เช่าไว้ในการดำเนินกิจการทุกประเภท ไม่ว่าชั่วคราวหรือถาวร เช่น สถานที่เช่าจัดงานปีใหม่

3. ยานพาหนะที่นายจ้างเป้นเจ้าของ หรือถือสิทธิครอบครองอยู่ เช่นรถรับส่ง รถประจำตำแหน่ง

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-02-23 14:10:01


ความคิดเห็นที่ 2 (3238087)

มีการเลี้ยงขอบคุณลูกค้าบริษัทที่ร้านอาหารโดยหัวหน้างานเป็นผู้ต้อนรับ ระหว่างงานเลี้ยงได้มีพนักงานซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของหัวหน้างานได้เข้ามาชกต่อยหัวหน้างานเพราะได้ทะเลาะกันเรื่องงานในโรงงงาน เช่นนี้บริษัทสามารถลงโทษทางวินัยได้หรือไม่เพราะไม่ได้เกิดในบริษัท และเข้าข่ายเป็นขอบเขตของบริษัทหรือไม่คะ ท่านเห็นว่าเป็นความผิดร้ายแรงหรือไม่เพราะทำให้บริษัทได้รับความเสียหายเป็นอย่างมากค่ะ  ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรคะ  ขอบคุณมากค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น bk วันที่ตอบ 2011-02-23 14:20:08


ความคิดเห็นที่ 3 (3238112)

1. ต้องพิจารณาว่า เรื่องที่ทำร้ายร่างกายกันนั้น เป็นเรื่องส่วนตัว หรือเป็นเรื่องอันเกี่ยวเนื่องจากการทำงาน หากเป้นเรื่องที่หัวหน้างานเข้มงวด ว่ากล่าวตักเตือน และพนักงานไม่พอใจ แล้วมาทำร้ายร่างกาย ณ ที่เลี้ยงอาหาร ถือว่า เป้นความผิดร้ายแรง แต่หากเป้นเรื่องส่วนตัว เช่น ยืมเงินกันหัวหน้าไม่ให้ หรือทวงเงิน ไม่จ่าย ลูกน้องไม่พอใจก็เลยชกเข้าให้ เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการทำงาน การลงโทษทางวินัยคงเป็นไปได้ลำบาก

2. การทำร้ายร่างการผู้บังคับบัญชานั้น หากเกิดที่ร้านอาหาร ไม่ถือว่าเป็นสถานที่ของนายจ้าง ยกเว้นนายจ้างได้เช่าห้องไว้เลี่ยงรับรองลูกค้าเป็นการเฉพาะ ผู้อื่นไม่สามารถเข้ามาร่วมในงานนั้นได้ เช่นนั้นนับว่าเป็นสถานที่ของนายจ้าง

3. หากการกระทำนั้น เป้นการกระทำต่อหน้าลูกค้า ซึ่งทำให้นายจ้างได้รับความเสียหากต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ นายจ้างก็สามารถลงโทษได้ แต่หากทำร้ายร่างการกันก่อนที่ลูกค้าจะมา ก็อาจไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง การลงโทษทางวินัยคงลำบาก

4. ปัจจุบันศาลท่านพิจารณาว่าการกระทำนั้น เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายหรือไม่ แต่หากขาดเจตนาก็ไม่จงใจก็ถือว่าไม่ใช่เรื่องร้ายแรง

5. มีคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ลูกจ้าง ไปทำร้ายร่างการยผู้บังคับบัญชาที่บ้าน ห่างจากบริษัท นายจ้าง 50 กม. สาเหตุมาจากไม่พอใจหัวหน้างานที่เข้มงวด ยังสามารถลงโทษโดยการเลิกจ้างได้ ศาลอนุญาตเหตุเกิดขึ้นในจังหวัดภาคเหนือ และมีบริษัทน้ำอัดลม ลูกจ้างติดรถทะเลาะวิวาทกันแต่ไม่มีใครเห็น ศาลถือว่าไม่มีเจตนาทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เลิกจ้างไม่ได้

6. กรณีของคุณหลังจากสอบสวนแล้ว พบว่าการไปทำร้ายร่างการหัวหน้างานนั้น เกิดอันเนื่องมาจากการทำงาน ก็สามารถลงโทษได้ถึงขั้นเลิกจ้าง แต่หากไม่ใช่เหตุอันเนื่องมาจากการทำงานแล้ว วินัยคงตามไปไม่ถึง

เป็นหน้าที่ของนายจ้างต้องปกป้องผู้บังคับบัญชา การทำร้ายร่างการผู้บังคับบัญชาถือว่าเป็นเรื่องที่ยอมไม่ได้

อีกอย่างคงต้องดูระเบียบข้อบังคับในการทำงานด้วย

ไม่ทราบพอจะเข้าใจบ้างหรือไม่ครับ

  

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-02-23 16:43:10


ความคิดเห็นที่ 4 (3238115)

1. เรื่องที่ทำร้ายร่างกายนั้นเกิดจากการทำงาน พนักงานทำงานผิดพลาดทำให้เกิดความเสียหายต่อผลิตภัณฑ์ หัวหน้างานจึงตักเตือนทำให้พนักงานไม่พอใจ และได้พูดว่า ไว้ค่อยเจอกันข้างนอก

2. สถานที่กินเลี้ยงบริษัทไม่ได้เช่า แต่ได้โทรจองโต๊ะไว้ พอถึงเวลาก็ทานเลี้ยงกัน ระหว่างนั้นพนักงานได้มาทานอาหารได้เห็นหัวหน้างานก็เลยเดินมาหาที่โต๊ะและเข้าทำร้ายร่างกาย  ลูกค้าช่วยห้ามปรามไว้เรื่องจึงได้ยุติลง หัวหน้างานไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจร่างกายหมอออกใบรับรองแพทย์ว่าได้รับบาดเจ็บบริเวณใบหน้าฟกช้ำ และหัวหน้างานได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีทำร้ายร่างกาย

3. ระเบียบเขียนไว้เพียงว่า หากพนักงานทะเลาะวิวาทและทำร้ายร่างกายจะต้องถูกลงโทษทางวินัยและหากร้ายแรงอาจถูกเลิกจ้างโดยไม่จ่ายเงินชดเชยตามดุลยพินิจของบริษัท

4. จากที่เล่ามาท่านคิดว่าสามารถเลิกจ้างได้เลยหรือไม่ อยากทำเรื่องนี้ให้เป็นตัวอย่างและรอบคอบที่สุด เพราะสหภาพเข้ามามีบทบาทเข้าด้วยค่ะ เขาบอกว่าหัวหน้างานพูดจาดูถูกเหยียดหยามพนักงาน

ขอบคุณท่านเป็นอย่างมากที่ให้คำแนะนำ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น bk วันที่ตอบ 2011-02-23 17:17:23


ความคิดเห็นที่ 5 (3238159)

เท่าที่อ่านมา สามารถเลิกจ้างได้ โดยไม่จ่ายค่าชดเชย ครับ

สหภาพพยายามเบี่ยนเบนประเด็นเป็นเรื่องส่วนตัว แต่หากการสอบสวนออกมาแล้ว สาเหตุมาจากเรื่องงาน และลูกค้าเห็นย่อมทำให้เกิดความเสียหาย และเป็นปฏิบปักษ์กับการปกครอง สามารถเลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชย ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-02-24 07:32:48


ความคิดเห็นที่ 6 (3238161)

หนูคิดว่าหากเลิกจ้างเขาต้องไปฟ้องศาลแน่นอน หนูต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างและเอกสารที่ต้องยื่นต่อศาลต้องเขียนประเด็นใดให้ชัดเจนมากที่สุดคะ ขอบคุณค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น bk วันที่ตอบ 2011-02-24 08:10:21


ความคิดเห็นที่ 7 (3238190)

1. ต้องเตรียมรายงานการสอบสวนพยานทั้งหมดในที่เกิดเหตุ ทั้งฝั่งคุณและฝั่งลูกค้า ผู้เสียหายและผู้ก่อเรื่อง

2. ระเบียบข้อบังคับในการทำงาน

3. บันทึกการแจ้งความประจำวัน ที่สถานีตำรวจ และหากมีการรับสารภาพและมีการเปรียบเทียบปรับกับลูกจ้าง ก็ต้องคัดมาด้วย

4. หนังสือเลิกจ้าง ที่เขียนรายละเอียดของการเลิกจ้างทุกประเด็น ซึ่งประเด็นการเลิกจ้างที่ต้องใส่เข้าไปคือ เ

     4.1 เป็นการจงใจทำร้ายร่างการผู้บังคับบัญชา

     4.2 สาเหตุมาจากเรื่องของงาน เนี่องจากผู้บังคับบัญชาได้เคยตักเตือนเร่องการกระทำผิดพลาด และก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น พนักงานไม่พอใจ และเคยท้าทายผู้บังคัับบัญชา ไปชกต่อยนอกโรงาน

     4.3 เป็นการกระทำต่อหน้าลูกค้าและต่อหน้าสาธารณชน ซึ่งทำโดยอุกอาจ ไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย และทำให้นายจ้างได้รับการเสื่อมเสียชื่อเสียง

     4.4 การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดอาญา ต่อผู้บังคับบัญชาและบริษัท

     4.5 อ้างเหตุของการปกครองบังคับบัญชา ที่นายจ้างไม่สามารถปกครองบังคับบัญชาพนักงานได้ หากยังปล่อยให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำร้ายร่างการหัวหน้างานเพราะหัวหน้างานเข้มงวด 

5. ต้องใส่ไว้ให้หมดในหนังสือเลิกจ้าง เพราะจะมาอ้างสาเหตุอื่นภายหลังไม่ได้ 

ลองดูครับ ยาวหน่อย                                                                        

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-02-24 11:51:17


ความคิดเห็นที่ 8 (3238231)

ขอบพระคุณท่านที่ปรึกษาเป็นอย่างสูงค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น bk วันที่ตอบ 2011-02-24 18:54:44


ความคิดเห็นที่ 9 (3246496)

 เมื่อไม่กี่วันนี้เกิดเหตุทะเลาะวิวาทระหว่างพนักงานในบริษัทด้วยกันถึงขั้นตบตีแต่ในระหว่างนั้นเจ้านายไม่อยุ๋ เหตุเกิดดังนี้

เนื่องจากมีปากเสียงกันก่อนหน้านี้หนึ่งวันแล้ว แต่ก้ได้จบลง แต่ในวันถัดมาดิฉัน ได้ไปทำงานช่วงบ่ายและไม่ได้เข้าไปสุงสิงด้วยเลย

คุยเฉพาะเรื่องงานเท่านั้น จนสามเหตุที่เริ่มทำให้เกิดปากเสียงเนื่องจาก เค้าได้พุดบอกดิฉันว่า ดิฉันต้องทำใบแจ้งหนี้ซึ่งดิฉันได้บอกและรับปากไปไปแล้ว ว่าจะเจัดการและรู้แล้ว ผ่านไปในเวลาไม่เกิน ชม ได้มีการเดินไปดูดิฉันอีกว่า เพราะดิฉันเดินไปข้างบน และพอเดินลงมาพร้อมกันดิฉันไม่ได้พูดคุยด้วยเลย ก้ได้พูดอีก จนทำให้ดิฉันว่าไปว่ารู้เรื่องแล้วไม่ต้องมาพูดซ้ำ และทำให้เกิดปากเสียงจากจุดนั้นมา 

และดิแันเริ่มจะควบคุมอารมณ์ไม่ได้ บอกให้เค้าหยุดด้วยการใช้นิ้วชี้ไปที่หน้าผาก บอกว่าให้หยุดก่อนที่จะเกิดอะไรไปมากกว่านี้ และก้ได้เดินทอยหลังมา แต่เค้าได้เดินเข้ามาและท้าทายบอกให้ตบทำให้เกิดบันดาลโทสะ ตบหน้าไปและได้ต่อสู้กัน 

 

ต่อจากนั้นเค้าได้ไปแจ้งความซึ่งดิฉันเองก็มีบาดแผลและพยานได้ถ่ายรูปไว้แล้ว ไม่นานเจ้านายได้โทมาที่ทำงานบอกให้ดิฉันกลับบ้าน

และถามดิฉันว่าทำทำไม ดิฉันบอกว่าหมดความอดทนแล้วมาพูดยั่วโทสะ และดิฉันได้บอกไปว่าไม่เป็นไรดิฉันตั้งใจเขียนใบลาออกแจ้งอยุ่แล้วเพื่อที่จะออกเดือนหน้าสิ้นเดือนมิถุนา และเจ้านายได้พูดย้ำว่าให้เขียนแล้ววางไว้บนโต๊ะเลยวันนี้ ดิฉันถามกลับไปว่าให้มีผลเมื่อไหร่บอกว่าให้มีผลสิ้นเดือนนี้ และวันนี้ทางเจ้านายได้โทรคุยกับพี่ร่วมงานอีกคน บอกว่าดิฉันยืนยันว่าจะออกสิ้นเดือนนี้ ซึ่งตรงนี้ ถ้าเค้าจะเอามาอ้างและไล่ดิฉันออกแต่เพียงผู้เดียวไม่ได้ ดิฉันไม่ได้ไปตบหน้าเค้าโดยที่เค้าไม่ได้ทำอะไร แต่เค้าตัดสินใจให้ดิฉันออกแต่ให้พนักงานคนนั้นทำงานอยู่ ซึ่งทั้งสองฝ่ายผิดแต่ตัดสินดิฉันคนเดียวแบบนี้ ดิฉันมีสิทธิ์ไม่ยอมได้ใช่ไหม และดูแนวโน้มแล้วว่าจะไม่ยอมจ่ายเพราะบอกว่าดิฉันต้องการออกเองซึ่งความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ สามารถทำอะไรได้บ้างคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น ปลา วันที่ตอบ 2011-05-28 20:41:13


ความคิดเห็นที่ 10 (4405009)

 สามารถค้นหา ฎีกาแรงงาน ใหม่ๆได้ที่นี่

ผู้แสดงความคิดเห็น ฎีกาแรงงาน วันที่ตอบ 2020-10-19 12:47:45



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.