ReadyPlanet.com


ช่วยหน่อยคะ


 พอดีเพิ่งมาทำงานรับตำแหน่ง งานHr ของบริษัทนี้คะ ซึ่งเป็นในรูปแบบของงานผลิต มีหลายๆอย่างที่ สับสนกับระเบียบการทำงานเดิมอย่างมากเลยคะ ปัญหามีตังนี้(ขอแจงเป็นข้อๆไปนะคะ)

1.เรื่องเวลาการทำงาน            วันจันทร์ ถึง วันพฤหัส 8.30-19.00น  วันศุกร์ 8.30-19.30  ช่วงเช้า หลังเวลาเข้างาน จะมีเวลาพักเบรค 10.00-10.10น. ช่วงบ่าย เวลาพักทานข้าว 12.30-13.30น. เวลา 15.00-15.10น  ตามกฏหมาย แล้ว ให้ทำงาน 8ชั่วโมงต่อวัน แต่ ที่นี่9.5ชม.ต่อวันจันทร์-พฤหัส ส่วนวันศุกร์ 10ชม.ต่อวัน แต่นับแล้วไม่เกิน48ชม.ต่อสัปดาห์ (ทำงานจันทร์-ศุกร์)แบบนี้ผิดหรือเปล่าคะ(เพราะมองว่าน่าจะไม่ถูกต้องนอกจากที่เกินแปดจะเป็นโอทีไปไม่รู้ว่าคิดถูกมั้ยคะ)

2.เรื่องการทำนวนการหักเวลามาสาย และขาดงาน  ที่นี่จะมีเจ้าหน้าที่บัญชีเป็นผู้คิดเงินเดือนคะ ไม่ได้ใช่ HR การหักจะเป็นแบบนี้คะ เช่น เงินเดือน15000หารด้วยจำนวนวันทำงานคือ30วัน แล้วหารด้วย8ชั่วโมง(ซึ่งจริงๆเราทำงาน9.5ชม.ต่อวันและ10ชม.ต่อวันเมื่อ นำ 15000หาร30หาร8แล้วจะได้62.5 บาท/ชั่วโมง ทางบัญชีก็จะนำ 62.5 คูณกับชั่วโมงการทำงานจริง คือ 62.5คูณ9.5 หรือ 10 คิดแบบนี้ถูกต้องมั้ยคะ แล้วผิดกฏหมายหรือเปล่าคะ



ผู้ตั้งกระทู้ HR (nutyawa1-at-gmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2014-05-29 11:01:59


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3647464)

 ตามมาตรา 23 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ในเรื่องของวันและเวลาทำงานปกติ ให้ใน 1 วันทำงาน ค้องไม่เกิน 8 ชั่วโมง หากจะทำเกิน 8 ชั่วโมงก็สามรารถทำไดเ แต่ต้องเป็นการตกลงกันของนายจ้างและลูกจ้าง นายจ้างประกาศออกมาฝ่ายเดียวไม่ได้ ดังนั้น

1. ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะวันหนึ่งเกินกว่า 8 ชั่วโมง และหลังจากหักเวลาพักออกแล้วก็ยังเกินอยู่ ดังนั้นจึงไม่อาจประกาศเป็นวันและเวลาทำงานปกติได้ แต่หากทำได้คือจ่ายเงินส่ำหรับเวลาที่เกินเป็นการทำงานล่วงเวลาให้

2. ตามมาตรา 68 การคำนวนเงินค่าจ้างต่อชั่วโมง ต้องใช้จำนวนชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อวันมาหารครับ เพื่อการคำนวนต่าล่วงเวลา ดังนั้นหากต้องการเวลาทำงานปกติ 9.5 ชั่วโมง ก็ต้องเอา 9.5 หารครับ ไม่ใช่เอา 8 หาร

ต้องเลือกเอาทางใดทางหนึ่งไม่ใช่เอาเปรียบลูกจ้างทั้งขึ้นทั้งล่องครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2014-05-29 16:11:28



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.