ReadyPlanet.com


เกษียณอายุกับค่าชดเชย


จะถามว่าในข้อบังคับบริษัทเราไม่ได้กำหนดเรื่องการเลิกจ้างเนื่องจากการเกษียณอายุ

ที่นี้บริษํทฯ ต้องการเลิกจ้างพนักงานที่อายุ 60 ปีขึ้นไป เนื่องจากกรณีเกษียณอายุ โดยบริษัทฯ จะจ่ายค่าชดเชยให้ตามกฏหมายแรงงาน (พนักงานทำงานมากกว่า 10 ปี บริษัทฯจะจ่ายค่าชดเชย 10 เดือน) แต่เราต้องการทราบต่อว่า

1. บริษัท ควรต้องแจ้งพนักงานล่่วงหน้าหรือไม่ และถ้าต้องแจ้งต้องแจ้งก่อนกี่เดือน (บริษัทฯ จ่ายค่าจ้างไม่ว่าจะเป็นพนักงานรายวันหรือรายเดือน 2 ครั้ง /เดือน, ทุุกวันที่ 15 กับ 31ของเดือน)

2. บริษัทฯ ต้องจ่ายค่าชดเชยเพิ่มอีก 1 เดือน เป็นค่าบอกกล่าวล่วงหน้าด้วยไหม หรือ บริษัทฯ ต้องจ่ายค่าอะไรเพิ่มเติมนอกเหนือจากค่าชดเชย 10 เดือนที่กล่าวมาแล้ว

 

ขอบคุณค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ สุนันท์ (leelayana-at-hotmail-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2014-01-10 14:12:27


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3315377)

1.  หากต้องการเลิกจ้างก็ควรต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า 1 งวดการจ่ายค่าจ้าง หากจ่ายทุกวันที่ 15 และ 30 ของเดือน ก็ต้องบอกกล่าวก่อนวันที่ 15 ให้มีผลวันที่ 30 และก่อนวันที่ 30 ให้มีผลวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

2. หากบอกกล่าวล่วงหน้าตามข้อ 1 ก็ไม่ต้องจ่ายค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าอีก

3. หากคุณไม่มีระเบียบรองรับในการเกษียณอายุ และต้องการให้พนักงานออกจากงานโดยยังมีความรู้สึกที่ดีต่อกันอยู่ ควรจะเชิญพนักงานมาคุย อธิบายให้ฟังถึงความจำเป็นและอาจมีข้อเสนอเพิ่มเงินให้อีก 1-2 เดือน เพื่อจูงใจ และให้พนักงานเขียนใบลาออกไปเองจะดีที่สุด ซึ่งนายจ้างก็จะปลอดภัยต่อการฟ้องร้องในที่สุด รักษาน้ำใจกันไว้ดีกว่าครับ เพราะคนที่เหลืออยู่จะได้มีความรู้สึกที่ดีกับนายจ้าง 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2014-01-10 16:47:01


ความคิดเห็นที่ 2 (3315384)

สอบถามต่อค่ะ

 สรุปแล้ว ถ้าเราจ่ายค่าชดเชย 10 เดือน + 1 เดือน อันนี้เราจะผิดกฏหมายไหมคะ ถ้าพนักงานฟ้องร้อง

เพราะเราต้องการเชิญพนักงานท่านนี้ออก โดยจะให้เหตุผลว่าไม่มีประสิทธิภาพในการทำงานและเกษียณอายุด้วย

ดิฉันกลัวว่าพนักงานจะดื้อแพ่งไม่ยอมออกอ่ะค่ะ

ผู้แสดงความคิดเห็น สุนันท์ วันที่ตอบ 2014-01-11 08:57:19


ความคิดเห็นที่ 3 (3315389)

คืองี้ครับ การจ่ายเงินชดเชยนั้น ไม่ผิดกฎหมาย คุณจะจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าอีก 1 เดือน ก็สามารถทำได้ไม่ผิดกฎหมาย แต่การเลิกจ้างนั้นหากลูกจ้างเห็นว่า การเลิกจ้างเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เพราะไม่มีเหตุแห่งการเลิกจ้าง การเลิกจ้างที่เลือกปฏิบัติ ฯลฯ ลูกจ้างก็สามารถไปฟ้องศาลแรงงาน เพื่อขอค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมได้ ตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีในศาลแรงงาน พ.ศ. 2522

ผมจึงเสนอวิธีที่ท่านจะได้ไม่ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการฟ้องร้องที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต คือการให้พนักงานเขียนใบลาออกโดยสมัครใจ ไม่ได้เป็นการบีบบังคับ

ตามที่ถามมาโอกาสที่พนักงานจะไปฟ้องมีโอกาสสูง ยกเว้นท่านได้มีข้อพิสูจน์อย่างชัดแจ้งว่าพนักงานท่านนั้น มีผลการปฎิบัติงานที่ไม่ดีมาเป็นเวลานานติดต่อกัน ไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน ป่วยบ่อน อู้งาน อะไรทำนองนั้น การห้ามไม่ให้พนักงานไม่ฟ้อง ท่านต้องมีข้อเสนอที่ดี และการเจรจาที่เหมาะสม ให้พนักงานเข้าใจและยอมรับครับ 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2014-01-11 13:28:24



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.