ReadyPlanet.com


การคำนวณค่าล่วงเวลา


 ปรึกษาเรื่องการคำนวณค่าล่วงเวลาค่ะ

- ที่บริษัทจ่ายค่าล่วงเวลาโดยนำเฉพาะฐานเงินเดือน มาคำนวณเท่านั้น

แต่พนักงานจะได้ค่าอื่นๆ อีก เช่น ค่าตำแหน่ง ค่าน้ำมัน ค่าวิชา ค่าวุฒิบัติ(พวกใบ Certificate ต่างๆ)  ซึ่งบริษัทจ่ายให้เป็นประจำแน่นอนทุกเดือน หรือเหมาจ่ายโดยไม่ต้องมีบิล ใบเสร็จมาเบิก 

 

- ในสัญญาจ้าง บริษัทจะระบุเฉพาะอัตราเงินเดือนเท่านั้น  ไม่ระบุค่าอื่นๆ ที่บริษัทตกลงกับพนักงาน แต่ทุกเดือนก็จะจ่ายเข้าบัญชีเงินเดือนเป็นประจำตามที่ตกลงด้วยวาจาไว้ 

 

1. การจ่ายค่าล่วงเวลา ถือว่าผิดหรือไม่คะ  เพราะเงินได้อื่นๆ ที่บริษัทจ่ายให้กับพนักงานนั้นเป็นลักษณะจ่ายเพื่อเป็นค่าตอบแทนการทำงาน ซึ่งเป็นค่าจ้าง ดังนั้น ต้องนำมาคำนวณค่าล่วงเวลาด้วยใช่ไหมคะ?

 

2. การที่บริษัทไม่ระบุค่าจ้างอื่นๆ ในสัญญาจ้าง ถือว่าผิดหรือไม่  หากต้องการทำให้ถูก สามารถอ้างกฎหมายข้อไหนเพื่อไปยืนยันกับนายจ้างให้ปฏิบัติให้ถูกต้องบ้างคะ

 

ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

 



ผู้ตั้งกระทู้ passorn :: วันที่ลงประกาศ 2014-09-05 14:21:51


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3701339)

กฎหมายในเรื่องค่าจ้างที่เอามาคำนวนค่าล่วงเวลานั้น ค่าจ้างหมายถึง เงินที่นายจ้างจ่ายเพื่อตอบแทนลูกจ้างในเวลาทำงานปกติ แต่ไม่ใช่เงินสวัสดิการ หากเงินที่จ่ายให้นั้น ระบุว่าเป็นสวัสดิการช่วยเหลือค่าน้ำมัน ช่วยเหลือค่าเช่าบ้าน อะไรทำนองนี้ ก็ไม่ใช่ค่าจ้างที่นำมาคำนวนค่าล่วงเวลา หากเงินที่คุณถามมานั้น หากจ่ายเป็นการประจำ ไม่มีใบเสร็จมาเบิก เช่นค่าตำแหน่ง ค่าน้ำมัน ค่าวิชา ค่าวุฒิบัติ เช่นนี้ ถือว่าเป็นค่าจ้าง เพราะไม่ได้เป็นสวัสดิการช่วยเหลือพนักงาน ต้องนำมาคำนวนเงินค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด เงินชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า  

แม้ระบุไว้ในสัญญาจ้างว่าเงินเดือนเท่าไร แต่กฎหมายบอกว่าเป็นค่าจ้างที่ต้องเอามาคำนวน อะไรเป็นค่าจ้างก็ต้องเอามาคำนวนครับ แต่ปัจจุบันที่ทำกันมาก็น้อยรายที่เอามาคิด แต่ประมาณ 95% ใช้เฉพาะฐานเงินเดือนเท่านั้น ซึ่งหากไม่มีใครไปฟ้องก็จ่ายแบบนั้นเรื่อยไปก็ได้ หากถามว่าผืดไหมก็ต้องตอบว่าผิดครับ

ในสัญญาจ้างระบุเพียงแต่ฐานเงินเดือนก็ไม่ผิด แต่หากนายจ้างออกระเบียบมา ทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร และไม่เป็นหากแต่จ่ายแบบค่าจ้างก็คือค่าจ้างครับ

ส่วนกฎหมายก็ตามมาตรา 5 และอะไรคือค่าจ้างตามคำพิพากษาศาลฎีกา ที่คุณสามารถหาได้จากคำพิพากษาศาลฎีกา ซึ่งต้องนำมาคำนวนค่าล่วงเวลาด้วย หรือหากคุณยังไม่อยากกวนน้ำให้ขุ่นก็อยู่เฉยๆ ทำตามปกติ ยกเว้นหากพนักงานมาถามแล้ต้องการทำให้ถูกต้องก็ดำเนินการแก้ไข อายุความเรียกร้องก็ 2 ปีย้อนหลังไป  

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2014-09-07 10:30:02



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.