ReadyPlanet.com


การสละสิทธิการเรียกร้องค่าชดเชย


ช่วยวิเคราะห์เหตุการณ์นี้ให้หน่อยค่ะ

นายสำเริงเป็นนายจ้างของนายสำราญทั้งสองได้ตกลงกันเกี่ยวกับในเรื่องเวลาของการทำงานซึ่งให้แปรผันได้ตามความมากน้อยของปริมาณงาน การทำงานไม่มีค่าล่วงเวลานอกจากนี้นายสำเริงยังให้นายสำราญทำหนังสือสละสิทธิการเรียกร้องค่าชดเชยจากนายจ้างเมื่อลาออกด้วย



ผู้ตั้งกระทู้ yoi :: วันที่ลงประกาศ 2013-09-07 22:48:29


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3313307)

กฎหมายต่างประเทศยอมรับ ในเรื่องของ Flexi-time ที่ทำงานวันละกี่ชั่วโมงก็ได้แต่ต้องไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด หลังจากนั้นก็เป็นล่วงเวลา แต่กฎหมายไทย มีข้อกำหนดให้ ต้องมีวัน และเวลาทำงานปกติในแต่ละวัน ซึ่งในสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง หากนายจ้างไม่ได้กำหนดไว้ นายจ้างก็ฝ่าฝืนกฎหมาย และกฎหมายยังกำหนดไว้อีกว่า ทำงานวันละไม่เกิน 8 ชั่วโมง แต่อนุโลม ทำงานเกินได้ แต่ต้องตกลงกันและใน 1 สัปดาห์ต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง ดังนั้นการที่นายจ้างให้ทำงานเกินกว่าเวลาที่กฎหมายกำหนด นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลา

อนึ่งแม้นายจ้างให้ลูกจ้างลงนามสละสิทธิ์ไม่เรียกร้องค่าชดเชย เมื่อลาออก นายจ้างสามารถทำได้ เพราะกฎหมายไม่ได้บังคับให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยเมื่องลูกจ้างลาออก แต่การให้ลงนามสละสิทธิ์เรียกร้องค่าชดเชย เมื่อนายจ้างเลิกจ้างถือว่าเปฌนสัญญาที่ขัดต่อกฎหมาย อันเป็นกฎหมายเนื่องด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงไม่มีผลใช้บังคับได้ 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2013-09-09 18:52:09



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.