ReadyPlanet.com


แจ้งโทษพนักงาน


เรียนปรึกษา :1.  พนักงานขับรถโฟคลิฟท์หนึ่งใน 3 คนได้ขับรถไปชนขอบประตูห้องปฏิบัติงานในแผนก แต่ไม่มีใครรับผิดชอบ หน.งานจึงได้ออกใบเตือนให้ทั้ง 3 คน ซึ่่งทั้ง 3 คนก็ยินยอมทั้งหมด 

2. ต่ออีกวัน พนักงาน1 ใน 3 คนได้ขับรถโฟคลิฟท์โดยประมาท อ้างว่ามองไม่เห็นคนเดินทางข้างๆ จึงได้ขับรถไปชนเพื่อนพนักงานที่เดินมา ได้รับบาดเจ็บอีก 2 คน 

ถามว่า : การกระทำผิดทั้ง 2 แบบนี้ถือว่า เป็นการทำผิดซั้ำการกระทำเดิมหรือเปล่าคะ 

รบกวนช่วยอธิบายด้วย



ผู้ตั้งกระทู้ น้องใหม่ (siri-dot-12009-at-hotmaul-dot-com) :: วันที่ลงประกาศ 2012-12-11 09:37:13


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3304396)

1. การตักเตือนพนักงานถือว่าเป็นโทษทางวินัย ต้องลงโทษให้ถูกตัวคน หากไม่สามารถหาผู้ที่ทำความผิดที่แท้จริงได้ การลงโทษแบบเหวี่ยงแหไปก็ไม่สามารถนำมาใช้ได้ ก่อนลงโทษต้องดำเนินการสอบสวนให้ถึงที่สุดและลงโทษพนักงานที่ทำความผิดจริงออกมาให้ได้

2. การที่พนักงานขับรถชนเพื่อนร่วมงานได้รับบาดเจ็บจำนวน 2 คน ต้องมีการสอบสวนดู การขับรถจะอ้างว่าไม่เห็นคนเดินเท้าคงอ้างลำบาก ดังนั้นก็สามารถลงโทษพนักงานผู้นั้นได้ หากการบาดเจ็บของพนักงานเป็นการบาดเจ็บมาก ก็สามารถลงโทษทางวินัยได้โดยไม่ต้องอ้างในเรื่องผิดซ้ำคำเตือน เป็นการประมาทเลินเล่อทำให้เพื่อนร่วมงานบาดเจ็บและทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ก็สามารถลงโทษเลิกจ้างได้ตาม พรบ คุ้มครงแรงงาน พ.ศ.2541  มาตรา 119 (3) และ (4) 

3. เหนุที่ไม่ต้องอ้าง เพราะหากอ้างไป เกิดเพื่อนร่วมงานมารับสมอ้างว่าตัวเองขับชนขอบประตูห้อง ก็จะกลายว่าไม่ทำผิดซ้ำคำเตือนครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2012-12-11 12:58:32


ความคิดเห็นที่ 2 (3306135)

 เรียน  ปรึกษา เรื่องพนักงานคนเดิม

1. พนักงานคนเดิม ทำผิดขับรถโฟคลิฟท์โดยประมาท อ้างเบรคไม่ติดไปเฉียวชนรถของบริษัทอีกคัน ซึ่งเป็นรถปิดอัพ ได้รับความเสียหาย มีรอยแตก ดังนั้นควรพิจารณาโทษ เป็นอย่างไรคะ 

2. หาก นำรถปิกอัพไปตีราคาแจ้งซ่อม ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจะให้พนักงานคนนี้รับผิดชอบ จะพอสมเหตุสมผลไหมคะ 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น น้องใหม่ วันที่ตอบ 2013-01-14 13:44:55


ความคิดเห็นที่ 3 (3306183)

1. ควรมีการสอบสวนเรื่องนี้ให้ชัดเจน ที่อ้างว่าเป็นความบกพร่องของเครื่องมือ (รถforklift) นั้น ให้ช่างตรวจสอบส่งไปตรวจข้างนอกก็ได้ หรือให้บริษัทรถมาตรวจดูอีกครั้ง  หากไม่มีข้อบกพร่องข้ออ้างก็ตกไป เหลือแต่เพียงประมาท แต่ก็สามารถโต้แย้งได้ว่าหากเบรคไม่ติดแล้วเขาหยุดรถอย่างไร ซึ่งข้ออ้างนี้ไม่น่าจะฟังขึ้น เหลือแต่เพียงประมาทอย่างเดียว

2. ดูว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น รถปิ๊กอัพ ได้รับความเสียหายมากน้อยเพียงไร หากเสียหายมากก็สามารถลงโทษได้ โดยอ้าง พรบ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (3) สามารถเลิกจ้างได้โดบไม่จ่ายค่าชดเชย หรือคุณอาจบอกว่ารุนแรงเกินไป ก็ลงโทษพักงาน 7 วันตามระเบียบถ้ามี ก็สามารถทำได้ครั้บ 

3. ก็สามารถให้พนักงานรับผิดชอบค่าเสียหายได้ หากสอบสวนแล้วเห็นว่าเกิดจากความประมาทของลูกจ้าง 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2013-01-15 13:11:20


ความคิดเห็นที่ 4 (4070046)
I believe you have observed some very interesting details , thankyou for the post. Bulgari orologio replica http://www.bzero.cn/it/
ผู้แสดงความคิดเห็น Bulgari orologio replica (qghhminxk-at-gmail-dot-com)วันที่ตอบ 2016-09-11 22:29:43



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.