ReadyPlanet.com


ปรึกษาเรื่องพนักงาน


 

มีปัญหาอยากสอบถามเรื่องพนักงานขับรถ ที่อยู่กับบริษัทมาประมาณสิบปี แต่ว่าพฤติกรรม ขาดความรับผิดชอบ นิสัยค่อนข้างเกเร และทำงานพิเศษเพิ่มโดยขับรถมอเตอร์ไซด์รับจ้าง  หลังสุดขอลากิจ แต่ไปขับวินมอเตอร์ไซด์ บริษัทได้พบเห็น และเรียกมาตักเตือน พนักงานกับกล่าวว่า เขาลาแล้วเป็นสิทธิ์ของเขาที่จะทำอะไรก็ได้ แล้วก็พูดแบบไม่พอใจ บอกว่าขอลาออก แล้วก็หายไป ขาดงานเกิน 3  วัน  แล้วก็บอกกับพนักงานคนอื่นว่าบริษัทต้องจ่ายค่าชดเชยให้เขา เนื่องจากเขาอยู่นาน หากมาให้แค่ 2-3 หมื่น จะไม่มีทางรับ แล้วก็หากยไปอีกเป็นสัปดาห์ บอกจะไปแจ้งทางกรมแรงงาน สุดท้ายก็ขอ กลับมาทำงานใหม่ แต่เจ้านายไม่รับ แล้วก็ถามกลับไปว่า เขาบอกลาออกแล้วไม่ใช่หรือ เขาบอกว่าเขาพูดเพราะโมโห คือทางเราไม่ต้องการรับเขากลับเข้ามาทำงานแล้ว  แล้วเขาก็กลับมาบอกคนอื่นว่า เขามีทนายช่วยทำเรื่องให้เขาฟ้องบริษํทแล้ว  ก็คืออยากถามว่า เขาทำผิดโดยลากิจ แต่ว่าไปทำกิจอันเป็นผลเสียหายกับบริษัท และพฤติกรรมข่มขู่ ไม่สามารถเรียกทำงานได้ตามหน้าที่ นอกจากเจ้านายคนเดียวและเจ้านายไม่ต้องการรับเขากลับเข้าทำงานอีก แต่คิดว่าการจากกันด้วยดี ดีกว่าโดยจะมอบเงินสินน้ำใจเป็นเงินสองหมื่นบาท เจ้านายคิดเอาไว้แต่ยังไม่ได้บอกเขา เพราะจะรอคุย ตอนที่เขาจะกลับมาคุยโดยบอกว่าอยากได้ใบผ่านงาน เจ้านายบอกว่าจะออกให้ เขาก็ต้องเขียนใบลาออกให้เป็นที่เรียบร้อย เขาก็ไม่ยอมจะเอาใบผ่านงานอย่างเดียว คุยไม่รู้เรื่อง ไม่รับฟัง บอกบริษัทให้รอฟ้องได้เลย เพราะมีทนายรับเรื่องที่เห็นใจเขาและช่วยดำเนินให้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย บ้านของพนักงานคนนี้อยู่ใกล้บริษัทค่ะ

อยากทราบว่าควรทำอย่างไรกับพนักงานคนนี้ดีค่ะ แนะนำหน่อยค่ะ

 

 



ผู้ตั้งกระทู้ ผู้ทุกข์ใจแทนเจ้านาย :: วันที่ลงประกาศ 2013-03-02 18:03:28


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3307954)

 ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ไปเป็นสัปดาห์. น่าจะสบายนายจ้าง. ให้ดูระืเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน. กรณีเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย. ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุลอันสมควร.  ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นสัปดาห์ ไปขับขี่วินมอไซด มีหลักฐานชัดเจนก็รวบรวมมา ออกเป็นหนังสือเลิกจ้างเลย. รายละเอียดในหนังสือเลิกจ้าง. ประกอบเหตุแห่งการเลิกจ้างที่ชัดเจนรอบคอบหน่อย

ผู้แสดงความคิดเห็น ออ วันที่ตอบ 2013-03-02 18:18:34


ความคิดเห็นที่ 2 (3307986)

การที่พนักงานขอลาออกด้วยวาจา กับผู้บังคับบัญชาแล้วไม่มาทำงานอีกเลย เป็นการแสดงเจตนารมย์ไม่ประสงค์ทำงานกับนายจ้างโดยการขอลาออกและเจตนารมย์นั้นถึงนายจ้างแล้ว ก็ต้องถือว่ามีผลเป็นการลาออก หากมีพยานรู้เห็นการบอกลาออกแล้วยิ่งชอบที่จะรับฟังได้ ถือว่าเป็นการลาออกและมีผลแล้ว จะมาบอกว่าไม่ได้ลาออกคงไม่ได้ 

การที่ลูกจ้างไปฟ้องศาลแรงงาน ก็เตรียมพยานหลักฐานไว้ครับ ว่าพนักงานมาพูดเมื่อไร และอย่างไร วันที่เท่าไร เวลาอะไร แล้วไปคุยที่ศาล รอหมายศาลดีกว่าครับ ทำใจให้สบาย หากนายจ้างจะให้สัดสองสามหมื่นก็น่าจะเตรียมไว้ในขั้นตองของการไกล่เกลี่ย หากลูกจ้างตกลงยอมรับก็จ่ายกันไปก็จะจบลงเป็นการทำสัญญาตามยอม ฟ้องอีกกไม่ได้ การแจ้งเลิกจ้างนั้นมีผลก็ต่อเมื่อการเจตนาการเลิกจ้างถึงลูกจ้าง แต่เมื่อลูกจ้างลาออกนิติสัมพันธ์ย่อมสิ้นสุดลง 

ผมว่าสู้ด้วยเรื่องลาออกปลอดภัยที่สุดครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2013-03-03 19:55:00



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.