ReadyPlanet.com


เกี่ยวกับสัญญาจ้าง


 รบกวนสอบถามเกียวกับสัญญาจ้างครับ

       ผม ได้ทำงานเป็น outsource ของ บริษัท A ซึ่งได้มีโอกาส ได้เข้าไปทำงาน เป็น outsource ของลูกค้า (บริษัท B) หลังจากทำงานมาได้ 1 ปี (พนักงาน contact) 6 เดือน (พนักงานประจำ) ก็ได้หมดสัญญาที่ต้องเข้าไปทำงานที่ บริษัท B( หมดสัญญามาประมาณ 2 เดือนแล้วครับ ) ซึ่ง ปัจจุบัน ได้แต่ นั่ง รองาน อยู่ที่ ออฟฟิต บริษัท A

       และในช่วงนี้เองทาง บริษัท B ได้ทำการติดต่อทาง ผม ให้เค้าไปทำงาน ซึ่งจะต้องเข้าไปเป็นพนักงานของ บริษัท B

       ทีนี้ จะมี สัญญา ซึ่ง ระบุไว้ว่า ห้ามพนักงาน ทำงานให้กับลูกค้าหลังจากลออกจาก บริษัท A เป้นระยะเวลา 1 ปี 

    รบกวนถามนะครับ

     - กรณีนี้ ยัง ถือว่า บริษัท B ยังคงเป็นลูกค้าอยู่ไหม ครับ

     - การบังคับใน สัญญา แบบนั้น สามารถเอาผิดกับ ลูกจ้างได้ไหมครับ ถ้า เอาผิดได้ ถือว่า สัญญาเป็นธรรมหรือไม่

    ขอบคุณครับ



ผู้ตั้งกระทู้ Cydia :: วันที่ลงประกาศ 2012-10-11 17:04:54


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3303735)

 - กรณีนี้ ยัง ถือว่า บริษัท B ยังคงเป็นลูกค้าอยู่ไหม ครับ

 

ตอบ....ยังเป็นลูกค้า  ตามข้อเท็จจริง ครับ

 
     - การบังคับใน สัญญา แบบนั้น สามารถเอาผิดกับ ลูกจ้างได้ไหมครับ ถ้า เอาผิดได้ ถือว่า สัญญาเป็นธรรมหรือไม่
 
 
ตอบ.....ถ้าคุณถูกฟ้อง   ก็สามารถยกเรื่องข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม  ขึ้นต่อสู้ัได้  ก็อยู่ที่ดุลยพินิจของศาลครับ....พระราชบัญญัติ ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540.....
 
 
มาตรา 4 ข้อตกลงในสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ประกอบธุรกิจ การค้า หรือวิชาชีพ หรือในสัญญาสำเร็จรูป หรือในสัญญาขายฝากที่ทำให้ผู้ประกอบ ธุรกิจการค้า หรือวิชาชีพ หรือผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝากได้เปรียบ คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควร เป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และให้มีผลบังคับได้ เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น
 ในกรณีที่มีข้อสงสัย ให้ตีความสำเร็จรูปไปในทางที่เป็นคุณแก่ฝ่าย ซึ่งมิได้เป็นผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูปนั้น
 ข้อตกลงที่มีลักษณะหรือมีผลให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งปฏิบัติหรือรับภาระ เกินกว่าที่วิญญูชนจะพึงคาดหมายได้ตามปกติ เป็นข้อตกลงที่อาจถือได้ว่าทำให้ได้ เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น
 (1) ข้อตกลงยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดที่เกิดจากการผิดสัญญา
 (2) ข้อตกลงให้ต้องรับผิดหรือรับภาระมากกว่าที่กฎหมายกำหนด
 (3) ข้อตกลงให ้สัญญาสิ้นสุดลงโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือให้ สิทธิบอกเลิกสัญญาได้โดยอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ผิดสัญญาในข้อสาระสำคัญ
 (4) ข้อตกลงให้สิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อหนึ่งข้อใด หรือปฏิบัติ ตามสัญญาในระยะเวลาที่ล่าช้าได้โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
 (5) ข้อตกลงให้สิทธิคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเรียกร้องหรือกำหนดให้อีก ฝ่ายหนึ่งต้องรับภาระเพิ่มขึ้นมากกว่าภาระที่เป็นอยู่ในเวลาทำสัญญา
 (6) ข้อตกลงในสัญญาขายฝากที่ผู้ซื้อฝากกำหนดราคาสินไถ่สูงกว่า ราคาขายบวกอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละสิบห้าต่อปี
 (7) ข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อที่กำหนดราคาค่าเช่าซื้อ หรือกำหนด ให้ผู้เช่าซื้อต้องรับภาระสูงเกินกว่าที่ควร
 (8) ข้อตกลงในสัญญาบัตรเครดิตที่กำหนดให้ผู้บริโภคต้องชำระ ดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าใช้จ่ายหรือประโยชน์อื่นใดสูงเกินกว่าที่ควรในกรณีที่ผิดนัด หรือที่เกี่ยวเนื่องกับการผิดนัดชำระหนี้
 (9) ข้อตกลงที่กำหนดวิธีคิดดอกเบี้ยทบต้นที่ทำให้ผู้บริโภคต้องรับ ภาระสูงเกินกว่าที่ควร
 ในการพิจารณาข้อตกลงที่ทำให้ได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งตาม วรรคสาม จะเป็นก ารได้เปรียบเกินสมควรหรือไม่ ให้นำ มาตรา 10 มาใช้ โดยอนุโลม
 
มาตรา 10 ในการวินิจฉัยว่าข้อสัญญาจะมีผลบังคับเพียงใดจึงจะ เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี ให้พิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ทั้งปวง รวมทั้ง
 (1) ความสุจริต อำนาจต่อรอง ฐานะทางเศรษฐกิจ ความรู้ ความเข้าใจ ความสันทัดจัดเจน ความคาดหมาย แนวทางที่เคยปฏิบัติ ทางเลือก อย่างอื่น และทางได้เสียทุกอย่างของคู่สัญญาตามสภาพที่เป็นจริง
 (2) ปกติประเพณีของสัญญาชนิดนั้น
 (3) เวลาและสถานที่ในการทำสัญญาหรือในการปฏิบัติตามสัญญา
 (4) การรับภาระที่หนักกว่ามากของคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบ กับคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
 
 
ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม (sny-at-thaimail-dot-com)วันที่ตอบ 2012-11-28 14:39:13



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.