ReadyPlanet.com


อยากทราบที่มาของมาตรา 14/1 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานค่ะ


 ทำไมถึงเพิ่มมาตรานี้เข้ามา และเอามาจากไหน เราลอกมาจากประเทศใด มีประเทศไหนมีกฎหมายแบบนี้บ้างคะ

และเคยมีกรณีศาลแรงงานปรับลดข้อสัญญาจ้างแรงงานอันไม่เป็นธรรมลงโดยอาศัยมาตรา 14/1 นี้บ้างมั้ยคะ

ขอความรู้หน่อยค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ พิชญ์ :: วันที่ลงประกาศ 2012-12-17 21:51:52


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3304845)

 การตรากฎหมายทุกฉบับ   เป็นอำนาจของรัฐสภา   คือ สภาผู้แทนราษฎร  และวุฒิสมาชิก   ซึ่งกว่าจะผ่านไปได้ทีละมาตรา   ย่อมมีการยื่นแปรญัติเพื่อแก้ไขถ้อยคำอย่างระมัดระวัง  ซึ่งต้องใช้เวลาไม่น้อย กว่าจะผ่านไปได้....    การลอกจากประเทศหรือหรือไม่   ก็อาจมีทางเป็นไปได้  ซึ่งก็ไม่ได้เสียหายอะไร   ถ้าสภาฯมองเห็นว่าเกิดประโยชน์ต่อประชาชน.....พิเคราะห์ดู มาตรา 14/1  ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรมากมาย  ถ้า...นายจ้างใช้คุณธรรมนำทางในการเขียนระเบียบข้อบังคับต่างๆ  และยอมรับความจริงว่า  ทุกคนย่อมมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน   ไม่ว่าเป็นนายจ้างหรือลูกจ้าง  แต่ต้องยอมรับความจริงว่าระบบเจ้านายและลูกน้อง  ยังคงมีอยู่ในสังคมไทย สถานภาพของลูกจ้าง  ก็ดูด้อยค่าอยู่แล้วในสายตาของคนทั่วไป  ถ้าไม่กฎหมายตีกรอบป้องกันไว้  ลูกจ้างจะหันหน้าไปพึ่งใคร   ก็คงถูกบีบจนหน้าเขียวแน่นอน    แต่ในเป็นความจริง  แม้จะมีกฎหมายให้สิทธิลูกจ้างขอปรับลดระเบียบข้อบังคับได้   แต่ในทางปฏิบัติลูกจ้างส่วนใหญ่ก็ไม่กล้าต่อกรกับนายจ้างอยู่ดี    เพราะกลัวตกงาน.....เรื่องปรับลดสัญญาอาจมี  แต่ยังค้นหาไม่พบครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น มโนธรรม วันที่ตอบ 2012-12-21 12:47:22


ความคิดเห็นที่ 2 (3304862)

 ระเบียบข้อบังคับเป็นนายจ้างกำหนดขึ้นมา บางครั้งก็เป็นการเอาเปรียบลูกจ้างจนเกินไป แม้มีระเบียบข้อบังคับแล้วก็ยังไม่ปฏิบัติตาม ก็มีการฟ้องร้องกันขึ้นให้นายจ้างปฏิบัติตามระเบียบหรือให้ถือว่าระเบียบนั้นไม่เป็นธรรม เช่นระเบียบเกี่ยวกับการส่งพนักงานไปศึกษาดูงานที่ต่างประเทศครึ่งเดือน แต่ต้องมาทำงานใช้ 3 ปีเช่นนี้ถือว่าไม่เป็นธรรมกับลูกจ้าง และระเบียบหรือสัญญาห้ามลูกจ้างออกจากงานไปแล้วไปทไงานกับลูกค้าหรือคู่แข่ง 3 ปี ศาลก็อาจกำหนดใหม่ได้ว่าควรจะเป็นเท่าไร เมื่อมีคำพิพากษาออกมาแล้ว และมีการร้องเรียนจากลูกจ้าง จึ่งมีมาตรา 14/1 ออกมาในพ.ศ.2551 เพื่อให้สิทธิศาลที่จะมีคำพิพากษาแก้ไขให้เป็นธรรมได้

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2012-12-21 20:09:07



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.