ReadyPlanet.com


สอบถามข้อสงสัย


สอบถามปัญหาดังต่อไปนี้ครับ

1.อยากทราบว่าบริษัทฯ หักเงินประกันการทำงานของพนักงานทุกคน แต่เมื่อพนักงานออกไม่คืนเงินดังกล่าวให้กับพนักงาน หากเราไม่ช่ายผู้เสียหายจะดำเนินการกล่าวโทษได้หรือไม่ และมีอายุความอย่างไร

2.บริษัทฯ ไม่มีสลิปการจ่ายค่าจ้างพนักงาน และหากพนักงานมาสายบริษัทฯ จะมีวิธีการคิดการมาสายดังนี้

    2.1 หากสาย 10 นาที จะคูณด้วย 2 เท่ากับสาย 20 นาที 

    2.2 หากสาย 20 นาที จะคูณด้วย 3 เท่ากับสาย 60 นาที 

    2.3 หากสาย 30 นาที จะคูณด้วย 3 เท่ากับสาย 90 นาที  ทวีคูณอย่างนี้ไปเรื่อยๆ  

และบังคับให้พนักงานทำงาน จ.-ศ ตั้งแต่ 8.30- 18.30 น. ส่วนวันเสาร์ทำ 8.30 - 15.30 น. อยากทราบเรื่องอายุความในส่วนของการฟ้องเรียก OT ย้อนหลัง และสามารถกล่าวโทษแทนคนอื่น เพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานเข้ามาดำเนินการได้หรือไม่



ผู้ตั้งกระทู้ คริคริ :: วันที่ลงประกาศ 2012-12-17 17:20:35


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3304659)

1. การหักเงินประกันนายจ้างต้องทำตามกฎหมาย มาตรา 10 พรบ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541ซึ่งต้องคืนหลักประกันดังกล่าวภายใน 7 วันนับแต่ลูกจ้างลาออกหรือพ้นสภาพ หากนายจ้างไม่คืนสามารถไปร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ ซึ่งหากนายจ้างไม่คืนให้ นายจ้างต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนปรับไม่เกิน 2 แสนบาท ไม่มีอายุความ

2. การมาทำงานสาย นายจ้างเพียงทำได้ คือ 1 ไม่จ่ายค่าจ้างตามเวลาที่ทำงานสาย หรือ 2 ลงโทษทางวินัยตามระเบียบ หรือ ไม่จ่ายค่าจ้างและลงโทษทางวินัย หากทำตามที่ถามมาไม่ถูกต้องตามกฎหมายสามารถฟ้องศาลหรือไปร้องที่แรงงานได้

3. ต้องดูระเบียบว่ามีเวลาทำงานปกติเท่าไร ทำงานเกินเวลทำงานปกติเป็น โอที แต่ทำงานเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดคือ 48 ชม ต่อสัปดาห์ถือว่ามีความผิด แต่ไม่ใช่การทำงานล่วงเวลา ไปร้องแรงงานได้ แต่ต้องเป็นผู้เสียหายเท่านั้น จึงมีสิทธิร้องเรียน 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2012-12-18 10:14:12



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.