ReadyPlanet.com


บริษัทเปลี่ยนผู้ถือหุ้นและเปลี่ยนกรรมการผู้มีอำนาจ แต่เราไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง


บริษัทที่ผมทำงานเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างเกาหลีกับไทย  เดิมที่เกาหลีถือหุ้น 50% และ ไทยถือหุ้น 50% ร่วมกันบริหารและจัดการบริษัท   แต่เมื่อต้นปีที่ผ่านมาเกาหลีได้ซื้อหุ้นจำนวน 50% ของไทยที่มีอยู่ และปัจจุบันเกาหลีเป็นผู้ถือหุ้น 100% เต็ม และเป็นผู้มีอำนาจเต็มในการบริหารและจัดการบริษัทแต่เพียงผู้เดียว

บริษัทได้ประกาศให้พนักงานทราบว่าเกาหลีได้ถือครองหุ้น 100% แล้ว และเป็นผู้บริหารจัดการบริษัทแต่เพียงผู้เดียว ถัดจากนั้นอีกไม่กี่วันได้แจ้งว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อสภาพการจ้าง และข้อตกลงใดๆ เพราะพนักงานอยู่ที่เดิม สภาพการทำงานเดิม หัวหน้างานคนเดียว ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆกับพนักงานโดยตรง และบริษัทฯไม่มีนโยบายเลิกจ้างแต่อย่างใด แต่บริษัทก็ไม่ได้แจ้งให้พนักงานที่ไม่ยินยอมกับการเปลี่ยนแปลง  ว่าจะดำเนินการอย่างไร
หลังจากนั้นบริษัทได้เปลี่ยนกรรมการบริษัทฯ ซึ่งเดิมเป็นผู้บริหารของหุ้นเกาหลี 6 คน และ หุ้นไทย 6 คน  โดยเปลี่ยนเป็นผู้บริหารของเกาหลีทั้งหมดทั้ง 12 คน
ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาการเปลี่ยนชื่อบริษัทว่าจะใช้ชื่อเดิม หรือจะเปลี่ยนเป็นชื่อใหม่ ยังไม่ได้ข้อสรุป
ประเด็นที่ขอเรียนถามมีดังนี้ครับ
1.     กรณีนี้เข้าข้อกฎหมายการเปลี่ยนตัวนายจ้างตาม ปพพ. 577 หรือไม่ ครับ?
2.     ถ้าผมไม่ประสงค์จะไปเป็นพนักงานของนายจ้างใหม่ที่บริหารโดยเกาหลี 100% ได้หรือไม่ ครับ ?
3.     ผมต้องดำเนินการอย่างไร ที่เป็นการแสดงเจตนาอันชัดแจ้งในเรื่องนี้ เพื่อให้มีผลการคัดค้านในการไม่ยอมรับหรือไม่ตกลงที่จะเป็นลูกจ้างของนายจ้างใหม่ และที่ผมควรจะได้รับเงินค่าเลิกจ้าง ครับ ?
4.     ระยะเวลาในการดำเนินการ (ไม่ตกลงที่จะทำงานกับนายจ้างใหม่และฟ้องร้อง ) จะช้าไปหรือไม่ และผลน่าจะเป็นอย่างไรครับ ?
5.     การถูกเลิกจ้างในกรณีนี้ได้รับเงินประเภทใดบ้างครับ?
6.     สาระสำคัญใดที่จะชี้ชัดว่าเป็นการเปลี่ยนตัวนายจ้างครับ ระหว่าง
(1) การเปลี่ยนแปลงจำนวนหุ้นในการถือครอง หรือ
(2)  การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทฯ หรือ
(3) การเปลี่ยนชื่อบริษัทฯ
       7. กรณีเปลี่ยนตัวนายจ้าง (ปพพ.577)  ผมต้องทำอย่างไร ให้บริษัทฯเลิกจ้าง หรือผมจะต้องลาออกเอง ครับ
ขอขอบคุณล่วงหน้าสำหรับคำตอบครับ


ผู้ตั้งกระทู้ ผู้รอความหวังว่าจะได้เงินค่าเลิกจ้าง :: วันที่ลงประกาศ 2012-05-16 17:03:18


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3286764)

ไม่มีท่านใดที่พอจะให้คำแนะนำเลยหรือครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้รอความหวังว่าจะได้เงินค่าเลิกจ้าง วันที่ตอบ 2012-05-17 14:48:01


ความคิดเห็นที่ 2 (3287121)

 1. ไม่ครับ

2. ไม่สามารถทำได้เพราะไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง ไม่ได้มีการจดทะเบียนยกเลิกนิติบุคคล เป็นนิติบุคคลเดิม เพียงเปลี่ยนตัวผ้ถือหุ้นเท่านั้น ทำได้เพียงลาออกโดยไม่ได้อะไรเลย

3. อย่างที่เรียนคุณคงไม่มีสิทธิคัดค้่านใดๆ เพราะอยู่นอกหน้าที่ความรับผิดชอบของคุณ การลาออกก็จะไม่ได้อะไรเลย

4. คุณไปฟ้อง ศาลก็จะยกฟ้องเพราะนายจ้างไม่ได้ฝ่าฝฝืนกฎหมายครับ

5. หากถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดก็จะได้รับเงินชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายเท่านั้น แต่หากคณทำอะไรที่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในการทำงานในสถานร้ายแรง  ก็จะไม่ได้อะไรเลย

6. การเปลี้ยนแปลงตัวนายจ้าง สำหรับบริษัทจำกัด คือ การจดทะเบียนยกเลิกบริษัทเดิมและไปควบกับบริษัทใหม่  ต้องจดทะเบียนยกเลิกบริษัทเท่านั้นครับ

7. หากคุณไม่ต้องการทำงานกับเขาก็คงต้องลาออกเองครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2012-05-20 16:48:58


ความคิดเห็นที่ 3 (3287873)

ผมกลับมีความคิดเห็นที่แตกต่างจากท่านที่ใช้ชื่อว่า "ที่ปรึกษา" ครับ เพราะ

1. เห็นว่าเข้ามาตรา 577 เพราะบริษัทได้เปลี่ยนสัดส่วนผู้ถือหุ้นจากเดิม 50% เป็น 100% สำหรับบริษัทใหม่ และได้มีการเปลี่ยนแปลงตัวกรรมการบริหารใหม่ และได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทใหม่จากบริษัทที่หุ้นไทย 50% และเกาหลี 50% เป็นบริษัทใหม่ที่เกาหลีบริหาร 100% ซึ่งคล้ายคลึงกับฎีกาที่ 8828/2547 คือ "โจทก์ซื้อกิจการร้านอาหารมาจาก ธ. และจดทะเบียนพานิชย์เปลี่ยนแปลงเจ้าของกิจการเป็นชื่อโจทก์ ไม่ใช่เป็นการที่ ธ. เลิกกิจการอันเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกจ้างไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ซึ่งเป็นการเลิกจ้างตามพรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 118 วรรคสอง แต่เป็นกรณีเป็นผลให้โจทก์ผู้รับโอนต้องรับไปทั้งสิทธิและหน้าที่ทุกประการอันเกี่ยวกับลูกจ้างของ ธ. ตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 13 และปพพ.มาตรา 577 วรรคหนึ่ง ลูกจ้างของ ธ. โอนไปเป็นลูกจ้างของ ธ. ทันทีโดยผลของกฎหมาย เว้นแต่ลูกจ้างแสดงความประสงค์อย่างชัดแจ้งว่าไม่ยินยอมโอนไปเป็นลูกจ้างของโจทก์"

2/3. โดยปกติทั่วไปบริษัทจะประกาศแจ้งให้พนักงานแสดงความประสงค์สำหรับผู้ที่จะโอนไปอยู่กับบริษัทใหม่ หรือไม่โอนไปก็ให้แจ้งเพื่อดำเนินการจ่ายเงินค่าชดเชย หรือเงินอื่นใดที่มีสิทธิ์  แต่กรณีบริษัทไม่ประกาศก็ให้ท่านทำหนังสือแสดงเจตนาในการไม่ไปร่วมกับบริษัทใหม่เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

4. เมื่อทราบหรือถึงคราวที่ควรทราบก็ให้แจ้งเจตนาของความไม่ประสงค์ที่จะโอนไป  และหากบริษัทไม่ดำเนินการใดๆก็ค่อยยื่นฟ้องศาลแรงงานต่อไป

5. ก็เหมือนการเลิกจ้างทั่วไป คือ เงินค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า(ถ้าไม่มีการแจ้งการบอกกล่าวล่วงหน้า) วันหยุดพักผ่อนประจำปีของปี หรือสะสม เงินประกัน(ถ้ามี)

6. สาระสำคัญก็คือการเปลี่ยนแปลงตัวนายจ้าง

7. ใช้ได้ทั้ง 2 กรณี ทางที่ดีควรพูดคุยกับนายจ้างให้เข้าใจ และจากกันด้วยดีจะดีกว่าครับ  แต่ถ้าไม่ได้ค่อยฟ้องร้อง

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ผู้ใช้แรงงาน วันที่ตอบ 2012-05-28 19:36:03



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.