ReadyPlanet.com


ขอถามข้อกฎหมายสักนิดค่ะ


คือลูกจ้างโดนนายจ้างกล่าวหาว่าทำงานไม่โปร่งใส แล้วตั้งกรรมการสอบสวน (แต่เป็นพนง.ด้วยกันเอง) จนมาวันหนึ่งบอกเพียงว่าคุณผิด เขียนใบลาออกเองหรือให้เชิญออก ถ้าไม่เขียนใบลาออกเอง จะไม่ได้เงินเดือนสุดท้ายเลยต้องเซ็นต์

เมื่อออกงานมาคิดฟ้องร้องหาความยุติธรรมด้วยข้อกล่าวหาเกินจริง พอมีหลักฐานติดตัวออกมาได้บ้าง แต่ไม่ได้เยอะนัก จึงไม่ค่อยมั่นใจ เพราะในชั้นศาลนายจ้างอาจสร้างหลักฐานเท็จได้(นายจ้างระดับประเทศ)

จึงอยากสอบถามว่า

หนึ่ง.มีสิทธิเรียกร้องความเป็นธรรมและชนะได้มากน้อยเพียงใด เพราะเอกสารสำคัญอย่างระเบียบบริษัท ข้อบังคับทั้งหมดเอาออกมาไม่ได้ (เค้าบอกแล้วให้ออกวันนั้นเลย)

สอง. ถ้าในการนัดสืบพยาน ไม่มีใครกล้ามาเป็นพยานให้เราหล่ะค่ะ เพราะเพื่อนพวกนั้นเค้ายังต้องทำงานกับบริษัทอยู่นี่ ใครจะกล้ามา อาจทำให้เราแพ้ไม่เป็นท่าหรือไม่ค่ะ

สาม. ควรโอนทรัพย์สินของเราให้บุคคลอื่นก่อนขึ้นศาลดีไม๊ค่ะ ในกรณีที่เราอาจแพ้แล้วโดนฟ้องกลับอ่ะค่ะ

กราบขอบพระคุณล่วงหน้าสำหรับคำแนะนำค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ แวววันดี :: วันที่ลงประกาศ 2012-10-16 10:23:33


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3301212)

ต้องพิจาณาว่า คุณได้เขียนใบลาออกแล้วหรือไม่ หากเขียนใบลาออกแล้ว นายจ้างให้เพิ่มเติมในใบลาออกอะไรอีกหรือไม่ หากเขียนใบลาออกแล้ว ฟ้องร้องก็ต้องพิสูจน์ว่าทำไมถึงเซนต์ใบลาออก แต่หากมีเหตุผลว่า นายจ้างข่มขู่ว่า หากไม่เขียนใบลาออกแล้วจะไม่จ่ายเงินเดือนให้และเคยมีตัวอย่างมาแล้ว ก็เป็นการพิสูจน์ได้ส่วนหนึ่งว่าคุณโดนบังคับให้เขียนใบลาออก ซึ่งมีทางต่อสู้ ที่นายจ้างให้เขียนใบลาออกเพราะนายจ้างไม่ต้องการจ่ายค่าชดเชย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

1. ต้องเอาความจริงมาพูดครับ โอกาสแพ้ ชนะ ก็ขึ้นกับหลักฐาน แต่พวกระเบียบ หรือข้อกำหนดที่อยู่กับนายจ้าง ไม่ต้องมีก็ได้เพียงระบุลงในบัญชีระบุพยาน และให้ศาลออกหมายเรียกให้นายจ้างนำมา ซึ่่งเป็นหน้าที่ของนายจ้างต้องนำมาแสดงครับ 

2. คุณอ้างตัวเองเป็นพยานได้ ซึ่งหน้าที่ซักพยานเป็นหน้าที่ของท่านผู้พิพากษาของศาล ที่จะซักถามให้หากคุณไม่มีทนายไปศาล เพราะปัจจุบันอยู่ดีๆ คงไม่มีใครเขียนใบลาออกเองหากไม่มีเหตุ

3. หากคุณมั่นใจในความจริงที่มาศาลและไม่ได้ทำอะไรผิด การฟ้องแพ่งหรือเรียกค่าเสียหาย ศาลก็คงไม่รับพิจารณาให้ครับ

4. ศาลแรงงานปัจจุบัน นัดครั้งแรกก็จะเป็นการไกล่เกลี่ย ศึ่งไม่บอกว่าใครถูกใครผิด แต่อยู่ที่ความพึงพอใจของคู่ความที่จะยอมรับการเยียวยามากน้อยเพียงไร ดังนั้นก็คงต้องิดเรื่องนี้ไว้ด้วย

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2012-10-17 08:37:43



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.