ReadyPlanet.com


ลาออก แต่ไม่ได้เงินเดือน/เครียดมากค่ะ


มีเรื่องอยากรบกวนสอบถามค่ะ

1. คือว่าได้ยื่นจดหมายลาออกตั้งแต่วันที่ 15 ก.ย. และได้มีเซ็นต์การอนุมัติแล้วค่ะ แต่ในวันที่ 30 ก.ย.(วันที่เงินเดือนออก) กลับไม่ได้รับเงินค่ะ..เมื่อโทรไปถามทางสำนักงานใหญ่พี่เค้าบอกว่าต้องรอตรวจสอบอะไรต่างๆก่อน..ให้รออย่างน้อย 2 อาทิตย์ ไม่ทราบว่า บ. มีสิทธิ์ทำอย่างนี้ด้วยเหรอคะ?? 

2. ทาง บ. ได้มีสัญญาทดลองงาน 110 วันค่ะ แต่หนูทำงานไม่ถึง เนื่องจากว่าบริษัทได้ว่าจ้งให้ไปทำงานที่เชียงใหม่ แต่ทางเชียงใหม่ไม่มีงานให้ทำทางบริษัทจึงให้เดินทางไปภูเก็ตแต่หนูไม่สะดวกที่จะไปปฏิบัติที่นั่น บริษัทจึงให้เขียนใบลาออก (ประมาณว่าไม่ไปก็ลาออก) ไม่ทราบว่าในกรณีอย่างนี้บริษัทจะอ้างได้มั๊ยคะว่าไปผ่านการทดลองงาน

ตอนนี้ตัวหนูเครียดมากเลยค่ะ(เพิ่งจบมาด้วย)เลยไม่รู้ว่าจะทำยังไงดี และคุณแม่ก็คิดว่าถ้าวันจัทร์ไม่ได้รับเงินเดือน จะไปฟ้องกรมแรงงานค่ะ..จะพอมีกฎหมายรับรองมั๊ยคะ

รบกวนผู้รู้..และพี่ๆ ช่วยตอบด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ เด็กจบใหม่..มีปัญหา :: วันที่ลงประกาศ 2008-10-10 20:29:51


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (2921169)

1. ยื่นใบลาออกไปแล้ว แต่ว่ายังไม่ครบ 30 วัน อย่างนี้ลำบากครับ แม้จะเป็นช่วงของการทดลองงาน

2. บริษัทมีสิทธิ์หักเงินได้ของคุณ ก็ต่อเมื่อมีเหตุผลอันสมควร ซึ่งก็คือบริษัทต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าทางบริษัทเสียหายจากการลาออกของคุณ และต้องแจ้งให้คุณยอมรับ รวมถึงให้เซ็นชื่อกำกับไว้ด้วย

3. บริษัทให้เปลี่ยนพื้นที่ในการทำงานข้ามจังหวัด ต้องดูที่ข้อตกลงตอนเซ็นสัญญาเข้าทำงานว่ามีการบอกไว้ว่าบริษัทจะทำได้หรือไม่ ถ้าไม่มีอยู่ในเงื่อนไข ก็หมายถึงบริษัทผิดข้อตกลง การลาออกของคุณก็สามารถทำได้ และบริษัทต้องจ่ายเงินเดือนที่เหลือให้

4. หากจะไม่เป็นไปตามข้อสามขอแนะนำให้ไปเคลียร์กับบริษัทโดยการคุยกันก่อน ถ้าไม่ได้จริงๆค่อยไปฟ้องกรมแรงงานครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น Espresso_29@HR (espresso_29-at-hotmail-dot-com)วันที่ตอบ 2008-10-10 20:40:01


ความคิดเห็นที่ 2 (2921506)

เมื่อถึงกำหนดเวลาจ่ายค่าจ้าง นายจ้างต้องจ่าย เว้นแต่ลูกจ้างยอมให้หักค่าจ้าง กรณีของหนู นายจ้างต้องจ่าย ไม่จ่ายเป็นการฝ่าฝืนกฏหมายมีความผิด  ทดลองงาน ๑๑๐ วัน หนูลาออกนายจ้างอนูมัติ ไม่ใช่ไม่ผ่านทดลองงาน หนูไม่ประสงค์จะทำงานกับนายจ้างอีกต่อไป นายจ้างอนุมัติแล้ว จะมาคิดค่าเสียหายอะไรกันอีก เรื่องนี้หนูไม่ต้องเครียด ไปหาเจ้าหน้าที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในเขตพื้นที่ที่บริษัทตั้งอยู่ เจ้าหน้าที่เขาจะดำเนินการให้ ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ   นายจ้างจะหักค่าจ้างลูกจ้างได้ต้องเป็นตามมาตรา ๗๖ เท่านั้น เหตุอื่นหักไม่ได้ถ้าลูกจ้างไม่ยินยอม และการยินยอมต้องทำเป็หนังสือไว้เป็นการเฉพาะด้วย

ผู้แสดงความคิดเห็น แอ วันที่ตอบ 2008-10-11 19:14:50



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.