ReadyPlanet.com


บริษัทขายกิจการ มีการโอนย้ายพนักงาน แต่ไม่นับอายุงานต่อเนีองจากบริษัทเดิม


บริษัท A ขายกิจการให้บริษัท B มีการโอนย้ายพนักงานจากบริษัทA ไปบริษัท B

แต่ทางบริษัท B ให้พนักงานที่โอนย้ายมาเซ็นต์สัญญาใหม่ โดยให้เริ่มงานมีผลตั้งแต่ 1 มกราคม 2554

บริษัท B ไม่นับอายุงานในการทำงานต่อตั้งแต่วันแรกที่พนักงานเริ่มเข้าทำงานกับบริษัท A

บริษัท B นับอายุงานใหม่ตั้งแต่วันที่เซ็นต์สัญญากับบริษัท B ในวันที่ 1 มกราคม 2554

ในกรณีนี้

1. พนักงานไม่ยอมเซ็นต์สัญญาใหม่กับบริษัท B ได้หรือไม่

2. พนักงานที่ไม่ยอมเซ็นต์สัญญาใหม่กับทางบริษัท B ถือว่าฝ่าฝืนระเบียบบริษัทหรือไม่

ทางบริษัทสามารถปลดพนักงานออกได้หรือไม่

3. พนักงานจะเรียกร้องค่าชดเชยจากทางบริษัท B ได้หรือไม่ โดยถือเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมได้หรือไม่

4. ในกรณีที่พนักงานไม่เซ็นต์สัญญาใหม่กับทางบริษัท B และบริษัท B ไม่ได้ดำเนินการใดๆต่อๅ

ยังถือว่าสัญญาเดิมที่ทำกับทางบริษัท A มีผลกับพนักงานหรือไม่ ในกรณีพนักงานถูกเลิกจ้าง หรือ เกษียณต้องบริษัทต้องจ่ายค่าชดเชยโดยนับอายุงานตั้งแต่วันแรกที่พนักงานเริ่มเข้าทำงานกับบริษัท A ใช่หรือไม่

5.ถ้าทางบริษัท B จ่ายค่าชดเชยโดยนับอายุงานใหม่ เริ่มตั้งแต่1 มกราคม 2554 พนักงานฟ้องร้องได้หรือไม่

การเซ็นต์สัญญาใหม่ มีผลทำให้สวัสดิการบางอย่างของพนักงานลดลง เช่น Provident Fund, ลาพักร้อน

พักร้อน

พนักงานที่อยู่บริษัท A มา 10 กว่าปี มีสิทธิวันลาพักรัอนได้สูงสุด 25 วัน แต่ถ้าพนักงานเซ็นต์สัญญาใหม่กับบริษัท B วันลาพักร้อนต้องเริ่มใหม่

1- 4 ปี มีสิทธิ ลาพักร้อนได้ 10 วัน

Provident Fund

วงลดา

 

Provident Fun จากบริษัท A พนักงานอายุงาน 10 กว่าปี ทางบริษัทA สมทบให้ 150%

บริษัท B สมทบให้ 5% ของรายได้

6. ในกรณีนี้พนักงานสามารถเรียกร้อง ไม่ยินยอมได้หรือไม่

ขอบคุณล่วงหน้ามากค่ะสำหรับคำตอบ

ขอแสดงความนับถือ



ผู้ตั้งกระทู้ วงลดา :: วันที่ลงประกาศ 2011-06-13 10:51:13


[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (3248025)

การโอนย้ายนายจ้างหรือการเปลี่ยนตัวนายจ้างนั้น ตามพรบ คุ้มครองแรงงานมาตรา 13 วางหลักกฎหมายไว้ว่า ................สิทธิต่างๆที่มีอยู่กับนายจ้างเดิมเช่นใด ให้ลูกจ้างมีสิทธินั้นต่อไปและให้นายจ้างใหม่รับทั้งสิทธิและหน้าที่อันเกี่ยวกับลูกจ้างนั้นทุกประการ"  ซึ่งกฎหมายมุ่งหมายถึงตัวผลประโยชน์ของลูกจ้างเป้นหลัก 

แต่อย่างไรก็ตามหากลูกจ้างไม่ยินยอมพร้อมใจไปอยู่กับนายจ้างใหม่ด้วยเหตุผลความจำเป้นใดก็ตาม ลูกจ้างก็มีสิทธิปฏิเสธไม่โอนไปทำงานกับนายจ้างใหม่ได้  ตามประมวลกฎหมายแพ่งพณิชย์ มาตรา 577 วรรค หนึ่ง ที่กล่าวว่า นายจ้างจะโอนสิทธิของตนไปให้กับบุคคลก้ได้เมื่อลูกจ้างให้ ความยินยอมพร้อมใจ..................." กรณีนี้ต้องถือว่ายังเป็นลูกจ้างของนายจ้างเก่าอยู่ หากนายจ้างเก่า ไม่ยอมให้ทำงานต่อไป ไม่จ่ายค่าจ้าง ก็ถือว่านายจ้างเดิมเลิกจ้าง และลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย ตามมาตรา 118  

ดังนั้น

1. ได้ครับ ไม่ยอมเว็นต็สัญญาใหม่ นายจ้างเก่าก็ยังต้องรับภาระอยู่

2. ไม่ได้ฝ่าฝืนครับ เพราะไม่ขัดกับกฎหมายใดๆ หากนายจ้างจะเลิกจ้าง  ก็ต้องจ่ายค่าชดชเย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า อาจจะมีค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมด้วย

3. พนักงานต้องเรียกร้องจากบริษัท นายจ้างเดิมครับ

4. ถูกต้องครับ

5. ร้องเรียนและฟ้องร้องได้ครับ ที่แรงงานหรือศาลแรงงาน

6. พักร้อนและ provident fund เช่นเดียวกัน ร้องเรียนได้ครับ

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ที่ปรึกษา วันที่ตอบ 2011-06-13 15:05:41



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



Copyright © 2010 All Rights Reserved.